วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ภาพจากงานอบรม The Fundamental of Hypnosis and NLP รุ่นที่ 9

ภาพจากงานอบรม The Fundamental of Hypnosis and NLP รุ่นที่ 9
วันเสาร์ที่ 24 และอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2554ณ. The Counseling and Hypnotherapy Center (CHC) สุขมวิท64

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

How To Hypnosis Chicken? (สะกดจิตไก่ให้หลับ?)

พอดีมีเพื่อนคนนึงถามถึงเรื่องการสะกดจิตไก่ให้หลับ ความจริงต้องออกตัวก่อนว่าไม่เคยทำเหมือนกัน คงได้แต่เคยอ่านหนังสือหรือดูวีดิโอมา ดังนั้นถ้าจะให้มาบอกว่าผมทำเป็นก็คงหน้าเกลียดพิลึก แต่เอาเป็นว่าเท่าที่ศึกษามามันสองวิธีด้วยกันครับ

แต่ก่อนที่เราจะไปดูกันว่าสองวิธีการที่ว่านั้นเขาทำกันอย่างไร ตรงนี้ก็ขอบอกไว้ก่อนว่าเรื่องของการสะกดจิตไก่นั้นมันไม่เกี่ยวอะไรเลยกับ Hypnosis หรือเทคนิคการสะกดจิต เพราะจริงๆ แล้วมันเพียงแค่ทริคของชาวไร่ฝรั่งซนๆ ที่รู้ธรรมชาติของไก่ว่าอย่างไรมันจึงจะเข้าสู่ภาวะ Tonic Immobility หรือการแกล้งทำเป็นตาย ว่าแล้วก็เติมอารมณ์ขันอีกนิดหน่อยเลยดูเหมือนว่าเป็นการกล่อมหรือการสะกดจิตไก่ให้หลับได้จริงๆ

เขาทำอย่างไร

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มิลตันโมเดล (The Milton Model)

ชื่อ “มิลตัน” ของมิลตันโมเดลมาจาก ดร.มิลตัน เอช อีริคสัน (Dr. Milton H. Ericson) บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะท่านหนึ่งของวงการจิตบำบัด ดร.มิลตันเป็นทั้งจิตแพทย์ เป็นทั้งนักจิตวิยา อีกทั้งเป็นนักสะกดจิตบำบัด (Hypnotic) อีกด้วย นอกจากนี้วิธีการสะกดจิตบำบัดของ ดร.มิลตันนั้นยังถือกันว่าเป็นแบบฉบับมาตรฐานของเทคนิคสะกดจิตบำบัดสมัยใหม่ (เรียกว่า Ericsonier Hypnosis) ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากนักสะกดจิตบำบัดทั่วโลกว่าเป็นวิธีการสะกดจิตบำบัดที่ยอดเยี่ยมที่สุดวิธีการหนึ่ง

หลังจากที่แบรดเลอร์และกรินเดอร์ (สองผู้ก่อตั้งศาสตร์เอ็นแอลพี) ได้ติดตามศึกษางานบำบัดของดร.มิลตันเป็นเวลานาน นอกการแบรดเลอร์และกรินเดอร์จะได้เรียนรู้เทคนิคสะกดจิตที่ยอดเยี่ยมของดร.มิลตันแล้วทั้งสองยังต้องประหลาดใจเมื่อพบว่าบ่อยครั้งที่ผู้มารับการบำบัดมีอาการดีขึ้นเพียงแค่ได้พูดคุยกับดร.มิลตันเป็นเวลาสั้นๆ เท่านั้น

ความจริงและเวลา

มนุษย์เรานั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่ตั้งอยู่บนตำแหน่งเวลาปัจจุบันเท่านั้น ระบบประสาทของเราสามารถรับรู้ได้เพียงเหตุการณ์ที่กำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน เรื่องราวในอนาคตเราไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น เราทำได้อย่างมากก็แค่ใช้การ “คาดเดา” ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ยิ่งอนาคตอยู่ใกลออกไปมากเท่าไหร่ความแม่นยำในการคาดเดาของเราก็ยิ่งลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ ส่วนเรื่องราวในอดีตนั้นระบบประสาทของเราก็รับรู้ซ้ำไม่ได้เช่นกัน ที่ระบบประสาทของทำได้ก็มีเพียงการดึงเอาข้อมูลความทรงที่ถูกบันทึกเอาไว้แล้วกลับมาใช้ใหม่เท่านั้น ซึ่งมันก็ไม่ได้ชัดเจนเหมือนกับตอนที่เรากำลังประสบกับเหตุการณ์โดยตรงและในความเป็นจริงมันก็มีโอกาสที่มันจะคลาดเคลื่อนได้เหมือนกัน ยิ่งย้อนกลับไปมากเท่าไหร่โอกาสที่ข้อมูลตัวนี้จะคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย

ทำไม NLP จึงไม่ได้ผล

เคยมีคนถามผมว่า “อาจารย์ครับ ทำไม NLP จึงไม่ได้ผล” คำถามง่ายๆ แบบนี้ทำเอาสมองของของผมช๊อตไปครู่หนึ่งก่อนที่ผมจะถามเขากลับไปว่า “ทำอะไรล่ะที่ว่ามันไม่ได้ผล” คำตอบที่ผมได้รับกลับมามันทำให้ผมประหลาดใจกว่าคำถามแรกอยู่หลายช่วงตัวเพราะคนเริ่มต้นคำถามเขาตอบกลับมาว่า “ผมก็ไม่ไม่ทราบครับ พอดีไปได้ยินอาจารย์อีกท่านหนึ่งเขาบอกว่า NLP มันไม่ได้ผล”

                เจอเอาอีแบบนี้มันเหมือนกับมีคนถามผมว่าทำไมรถยนตร์คันนั่นจึงวิ่งไม่ได้ ความจริงแล้วมีเหตุผลได้เป็นล้านข้อเลยกระมังที่จะทำให้รถยนตร์มันวิ่งไม่ได้ ตั้งแต่หัวเทียนบอด ไดสตาร์ทพัง เพลาขาด ยางแบน น้ำมันหมด หรือแม้แต่ไม่มีคนไปขับมันน่ะซิ

เรื่องของ NLP ก็เหมือนกัน

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

โลกนี้ไม่มีความล้มเหลว

ในโลกนี้ไม่มีความล้มเหลว มีแต่ผลที่รับรับเท่านั้น หลักการข้อนี้ของเอ็นแอลพีนั้นง่ายและตรงไปตรงมามาก สำหรับเอ็นแอลพีแล้วความรู้สึกล้มเหลวใดๆ ก็ตามไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง เพราะมันเป็นเพียงความรู้สึกหรือสภาพอารมณ์ที่ถูกระบบประสาทสร้างขึ้นมาเท่านั้น และก็ดังที่กล่าวไปแล้วว่าแผนที่นั้นย่อมไม่ใช่พื้นที่จริง ดังนั้นสำหรับเหตุการณ์เดียวกันนี้หากเป็นบุคคลอื่นที่มีกลไกการตีความหมายแตกต่างออกไปเขาก็อาจจะไม่ได้ตีความหมายว่าเป็นการล้มเหลวก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลับดับขั้นตอนการเรียนรู้ (Step of Learning)

มนุษย์ใช้เวลาทั้งชีวิตในการในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ การเรียนรู้บางอย่างก็อยู่ในระดับจิตสำนึกในขณะที่การเรียนรู้บางอย่างก็ลงลึกลงไปในระดับจิตใต้สำนึก ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและปัจจัยทั้งที่เป็นส่วนของตัวของผู้เรียนรู้เองและเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ที่เกิดนั้นว่ามันเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในระดับไหน

สำหรับ NLP เราแบ่งแยกการขั้นตอนเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็นสามช่วงด้วยกัน คือ
  1. Unlearning หรือภาวะที่ยังไม่เรียนรู้ต่อสิ่งนั้นๆ เช่นถ้าคุณไม่เคยเดินเหยียบหนามมาก่อนคุณก็จะไม่มีวันรู้ว่าการเดินเหยียบหนามนั้นมันเจ็บขนาดไหน
  2. Learning หรือภาวะช่วงขณะที่กำลังเรียนรู้ซึ่งก็ทำให้เกิดการเรียนรู้ เช่นเดินเหยียบหนามไปแล้วจึงรู้ว่ามันเจ็บ ซึ่งจะนำมาสู่ความรู้ที่ว่าเมื่อเดินเท้าเปล่าเราควรระวัง หรือเราไม่ควรเดินถอดรองเท้า หรือเมื่อถูกหนามตำเท้าเราควรเอาหนามออก หรืออะไรอื่นๆ อีกสุดแท้แต่รายละเอียดของเหตุการณ์นั้นๆ
  3. Relearning หรือการเรียนรู้ซ้ำ เช่นในวันหนึ่งเราเดินเท้าเปล่าแล้วหนามก็ตำเท้าอีก กระบวนการนี้ทำให้เกิดการย้ำข้อมูลลงไปในระบบประสาทของเราว่า เราไม่ควรจะเดินเท้าเปล่าเป็นอันขาด ยิ่งเกิดการเรียนรู้ซ้ำมากขึ้นเท่าไหร่ปริมาณข้อมูลเรื่องนั้นๆ ก็ยิ่งเข้มข้นและฝังตัวลงลึกลงไปในจิตใต้สำนึก

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การสะกดจิตลบความทรงจำ

ในฐานะของนักสะกดจิต มีคำถามที่มักจะได้รับอยู่เป็นประจำว่า เราสามารถใช้การสะกดจิตทำให้ความทรงจำที่มีต่อบางสิ่งหรือบางช่วงเวลาหายไปได้หรือไม่ เพื่อไปให้ถึงคำตอบของคำถามนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า “ความทรงจำ” กันก่อน

 มื่อเราประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ ระบบประสาทสัมผัสของร่างกายเราจะได้รับข้อมูลจำนวนหนึ่ง ข้อมูลเหล่านี้ถูกนำไปประมวลผลทำให้เกิดสภาวะอารมณ์หรือความรู้สึกนึกคิดซึ่งจะนำไปสู่การแสดงออกในรูปของพฤติกรรมต่างๆ ในที่สุด ในการนี้ระบบประสาทของเราจะทำการบันทึกข้อมูลเหล่านี้เก็บเอาไว้ด้วยเพื่อใช้เปรียบในการประมวลผลข้อมูลในรอบต่อๆ ไป ข้อมูลที่ถูกบันทึกเอาไว้พวกนี้เรียกว่า “ความทรงจำ” โดยความทรงจำจะถูกบันทึกเอาไว้ที่เซลประสาทส่วนบันทึกความทรงจำในสมองของเรา (มีรายงานทางวิทยาศาสตร์ในเชิงสถิตว่า มีความเป็นไปได้ว่ามนุษย์จะเก็บความทรงจำเอาไว้ในเซลของอวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย)

Dream Analysis

ความฝันเป็นปรากฏการพื้นฐานของระบบประสาทที่พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป แน่นอนว่ารวมถึงมนุษย์ด้วย เหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมคนเราถึงต้องฝันนั้นว่ากันตามจริงแล้วยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดใดๆ ทั้งสิ้น ศาสตร์แต่ละแขนงแต่ละสถาบันต่างก็ให้เหตุผลและและการตีความหมายที่แตกต่างกันออกไป

สำหรับจิตวิทยาตามแนวจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) แล้วได้ให้คำอธิบายว่าความฝันเป็นกลไกหนึ่งที่สมองและระบบประสาทได้ใช้เป็นช่องทางในการเปิดเผยความต้องการความปรารถนาส่วนลึกของจิตใจออกมา หรือใช้เป็นตัวสะท้อนสภาวะจิตใจสภาวะอารมณ์ในห้วงเวลาขณะนั้นออกมาอย่างเป็นรูปธรรม

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Swish Pattern

คำว่า Swish แปลว่าการทำให้เสียงดังเฟี้ยว เช่นเวลาเราเอาไม้เรียวหวดอย่างเร็ว เสียงของใม้ที่ได้จากการแหวกอากาศดังเฟี้ยวแบบนั้นแหละครับที่เรียกว่า Swish ส่วนคำว่า Pattern นั้นแปลว่าแบบแผน ซึ่งใน NLP จะหมายถึงพฤติกรรมที่กระทำซ้ำๆซากๆ เป็นปรกติวิสัยของแต่ละบุคคล

วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

6 Step Reframe

อธิบายอย่างรวบรัดและตรงไปตรงมา เทคนิค 6 Step Reframe ใน NLP ก็คือเทคนิคการสะกดจิตตัวเอง (Self Hypnosis) แบบหนึ่งโดยเป็นแม่แบบ (Model) ที่ได้รับการถอดแบบมาจาก ดร.มิลตัน เอช. อีริคสัน ปรมาจารย์นักสะกดจิตบำบัดสมัยใหม่ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลกคนหนึ่ง

เทคนิค 6 Step Reframe เป็นเทคนิคที่นัก NLP ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้เป็นพฤติกรรมใหม่ที่ส่งเสริมให้บุคลิกภาพหรือการดำเนินชีวิตพัฒนาไปสู่จุดที่ดีกว่า

ทางเลือก (Choice)

มีหลักการพื้นฐานของ NLP ข้อหนึ่งกล่าวว่า “สำหรับทุกๆ ปัญหา การมีทางเลือกสำหรับใช้เป็นทางออกของปัญหานั้น ยิ่งมีมากก็ยิ่งดี” เรื่องนี้ถ้านึกถึงตอนที่เราออกไปซื้อของข้างนอกเราก็จะสามารถเข้าใจเรื่องนี้ได้ง่ายครับ

เช่นผมอยากได้รองเท้าออกกลังกายสักหนึ่งคู่ สมมุติว่าปัญหาของผมคือผมต้องการรองเท้าออกกำลังกายสำหรับไปรำมวยจีนที่สวนลุมซักหนึ่งคู่ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผมไปที่ร้านขายรองเท้าแล้วพบว่าในร้านมีแต่รองเท้าแตะกับรองเท้าส้นสูง และถ้าเราลองบีบเงื่อนไขอีกว่าผมจำเป็นที่จะต้องเลือก ผลก็คงเป็นว่าผมอาจจะได้คีบรองเท้าแตะไปรำมวยจีนแน่ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เข้าท่าเลยด้วยประการทั้งปวง ดังนั้นมันจะดีกว่านี้อีกถ้ามันมีตัวเลือกอย่างอื่นอีกมากกว่าแค่รองเท้าแตะกับรองเท้าส้นสูง ยิ่งมีตัวเลือกให้เลือกมากเท่าไหร่ชีวิตของผมก็ยิ่งง่ายขึ้น เพราะความจริงแล้วคำตอบที่น่าเข้าท่าที่สุดสำหรับปัญหาของผมก็คือรองเท้ากีฬาพื้นบางดีๆ ซักคู่

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดของความโชคดี

ถ้าคุณอยากโชคดี อยากให้ทุกๆ วันเป็นวันที่โชคดี วันที่มีความสุข ผมมีเทคนิค NLP ง่ายๆ มาให้ทดลองฝึกเป็นคนที่โชคดีกันดู แบบฝึกหัดนี้ทำไม่ยาก ขอเวลาเพียงวันละไม่ถึง 2 นาที (ลวกมาม่ายังไม่ทันจะอร่อยดี) แถมยังเป็น 2 นาทีที่เราไม่ค่อยจะได้ใช้ประโยชน์อะไรเป็นจริงเป็นจังอีกด้วย

เอาล่ะ เรามาเริ่มกันเลย ที่ผมอยากให้คุณทำก็คือ


1.  เมื่อตื่นนอนขึ้นมา จงบอกกับตัวเองทันที (หรือจะเดินไปบอกกับตัวเองในห้องน้ำโดยมองที่กระจกแล้วพูดกับตัวเอง) ว่า “ฉันเป็นคนที่โชคดีที่สุด! วันนี้เป็นวันที่โชดดีของฉัน! ไม่ว่าฉันจะทำอะไร ทุกอย่างมันโชคดี มันราบรื่น มันสำเร็จดังที่ฉันต้องการ เพราะว่าฉันเป็นคนที่โชคดีที่สุด!” จะพูดในใจหรือจะพูดออกเสียงมาดังก็ตามสะดวกครับ ขอให้อินกับสิ่งที่พูดก็พอ จากนั้นก็ใช้ชีวิตของคุณไปตามปรกติครับ

7 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จแบบ NLP (NLP Seven Steps to Success)

หลังจากใช้เวลาศึกษากลุ่มบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอยู่เป็นนานสองนาน นัก NLP ค้นพบว่าบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเหล่านั้นมีอะไรหลายๆ อย่างที่เหมือนกัน ซึ่งเมื่อตัดประเด็นปลีกย่อยออกไปแล้วก็จะได้ Model หรือแม่แบบแห่งความสำเร็จออกมาชุดหนึ่ง (ทุกคนสามารถเอาไปใช้ทำตามได้ทันที) ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอนด้วยกัน

1.  เป้าหมาย! สิ่งที่เรียกว่าเป้าหมายนี้แทบจะเรียกว่าเป็นทั้งหมดของการประสบความสำเร็จก็ได้ครับ ลูกธนูนั้นไม่มีวันพุ่งเข้ากลางเป้าได้เลยถ้าคนยิงไม่รู้ว่าเป้าหมายของเขาอยู่ที่ไหน รถแข่งก็ไม่มีวันถึงเส้นชัยถ้าคนขับไม่รู้ไม่รู้เส้นชัยอยู่ไหน ชีวิตของคนเราก็เหมือนกันเราไม่สามารถประสบความสำเร็จใดๆ ได้เลยถ้าเราไม่รู้ว่าความสำเร็จของเราคืออะไร เช่นถ้าการประสบความสำเร็จของเราคือนักทำ Cup Cake ที่เก่งที่สุดในโลก การทำ Cup Cake ให้อร่อยที่สุดในโลกนั้นแหละคือเป้าหมายของเราครับ

The Switch

Switch หมายถึงการสลับสับเปลี่ยน สำรับ NLP แล้วเป็นเทคนิคแบบหนึ่งที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนสภาพอารมณ์ ความรู้สึก ตลอดจนทัศนะคติที่มีอยู่ในใจของบุคคล โดยจะค่อยๆ สร้างการเรียนรู้หรือประสบการณ์ใหม่เข้าไปแทนที่ประสบการณ์หรือสิ่งที่เรียนรู้เดิม

ทำอย่างไร

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Phobia ... ความกลัวที่ไร้เหตุผล

ความกลัวเป็นการตอบสนองทางระบบประสาทขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งของมนุษย์ สัญชาติญาณการเอาตัวรอดผลักดันให้ระบบประสาทสร้างสภาวะอารมณ์กลัวขึ้นเพื่อให้กระตุ้นให้มนุษย์หลีกห่างจากอันตรายหรือสิ่งที่อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่นเมื่อ 4 ล้านกว่าปีก่อนครั้งมนุษย์ยังคงดำรงอยู่ในป่าไม่ต่างไปจากลิง มนุษย์ย่อมถูกจระเข้คาบไปกินนักต่อนักแล้ว ดังนั้นเพื่อไม่ให้มนุษยชาติถูกจระเข้คาบไปกินจนหมด ระบบประสาทของมนุษย์จึงต้องสร้างสภาพอารมณ์กลัวขึ้นทุกครั้งที่มนุษย์มองเห็นจระเข้หรือระแคะระคายว่าอาจจะมีจระเข้อยู่บริเวณนี้

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แมลงวัน

เวลานั่งทานข้าวเคยเจอแมลงวันมาตอมให้รำคาญใจเล่นหรือเปล่าครับ แล้วตอนนั้นรู้สึกอย่างไรทั้งกับเหตุการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ (คือกำลังทานข้าว) และเจ้าแมลงวันเจ้าปัญาตัวนั้น

แล้วเจ้าแมลงวันล่ะ มันจะคิดอย่างไร

นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ ของ Multiple Perceptual Positions ใน NLP ซึ่งว่าด้วยทุกสิ่งทุกอย่างย่อมตีความหมายต่อการสื่อสารด้วยทัศนคติและความรู้สึกที่แตกต่างกันเพราะอยู่ในตำแหน่งหรือมุมที่แตกต่างกัน จากเหตุการณ์เดียวกันคือบนโต๊ะอาหาร ในขณะที่มนุษย์คิดว่า “แมลงวันสกปรก น่ารำคาญ ไปให้พ้นซะทีซิโว้ยจะกินข้าว” แมลงวันกลับคิดว่า “ปลาทอดตัวนั้นน่ากินจัง ฉันหิว ขอกินหน่อย จะมาปัดฉันทำไมนะไอ้คนพวกนี้ ฉันกินนิดเดียวกินไม่หมดหรอกพวกมนุษย์นี่จะงกไปทำไม”

...แล้วปลาทอดที่กำลังจะโดนกินล่ะ ถ้ามันยังคิดได้มันคิดว่าอะไร

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ผมเพิ่งกลับมาจากลัดดาแลนด์ (ตอนที่ 1)

ในฐานะของนัก NLP ผมค้นพบว่าครอบครัวของตัวละครในเรื่องลัดดาแลนด์นี้ล้มเหลวที่สุดก็คือเรื่องของการ “สื่อสาร” ความยากลำบากนานาประการที่ครอบครัวนี้เผชิญความจริงมันไม่ได้เกิดจากผีๆสางๆในหมู่บ้านหรอกครับ แต่มันเกิดจากการสื่อสารที่ผิดพลาดของคนในบ้านนั้นต่างหาก (ผีเป็นแรงเสริมที่ทำให้ทุกอย่างมันพังเร็วขึ้นเท่านั้น)

วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

Happiness

              ทฤษฏีเก่าว่า เพื่อเป้าหมายอันเป็นความสุข ณ.บั้นปลายแล้ว จงทำงานหนักทำอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ เพื่อที่งานจะได้ประสบความสำเร็จ เมื่องานประสบความสำเร็จก็เท่ากับว่าชีวิตของท่านประสบความสำเร็จ (เพราะค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน) และเมื่อชีวิตของท่านประสบความสำเร็จท่านก็จะมีความสุขในชีวิต

เพิ่มมูลค่าของชีวิต

ผลจากการวิจัยเชิญสถิติ นัก NLP ค้นพบว่า ในกลุ่มคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตนั้น มันจะเป็นคนที่มีทัศนะคติดูถูกดูแคลนตัวเองทั้งสิ้น หรืออย่างน้อยๆ ก็เป็นประเภทที่ไม่รู้จักหรือมองไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง ในเมื่อมีทัศนคติต่อตัวเองเป็นแบบนี้แล้วจึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมชีวิตจึงผ่านไปวันแล้ววันเล่าโดยที่ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย เมื่อ 3 ปีที่แล้วเคยเป็นคนประเภทใช้เงินเดือนชนเดือน อยู่ในห้องเช่าเล็กๆ ห้องน้ำก็รั่วๆ ทุกวันนี้ก็ยังคงใช้เงินเดือนชนเดือน อยู่ในห้องเช่าเล็กๆ ห้องน้ำก็รั่วๆ และอีก 3 ปีข้างหน้าก็คงไม่พ้นที่จะเป็นอย่างนั้นต่อไป

การเล่นตลกของระบบประสาท

Meta Model ใน NLP สอนให้รู้ว่าทุกๆ ความคิดที่ท้อถอยสิ้นหวังจะแสดงออกมาด้วยคำพูดที่ท้อถอยสิ้นหวัง และถ้อยคำที่แสดงออกด้วยความท้อถอยสิ้นหวังเหล่านี้มันล้วนแล้วแต่ถูกบิดเบือนไปจากเหตุการณ์จริงที่มันกำลังเกิดขึ้นทั้งสิ้น

ไม่ถูกเติมแต่จนเกินจริง ก็ถูกตัดทอนเสียจนผิดเพี้ยน หรือไม่ก็บิดเบือนเสียจนห่างจากใกลจากความจริงเป็นกิโลไปเลย

เป้าหมาย (The Target)

ถ้าเปรียบความสำเร็จของชีวิตมนุษย์เป็นรถแข่งที่วิ่งเข้าเส้นชัยแล้วล่ะก็ ไม่ว่าชีวิตของเราจะมาแรงวิ่งดีเป็นรถแข่งเครื่องยนต์ 1000 แรงม้า วิ่งทะยานไปข้างหน้าแซงแล้วแซงอีก มันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยครับตราบเท่าเรายังไม่รู้ว่า “เส้นชัยของเราอยู่ที่ไหน”

                ก็ได้แต่วิ่งกันไปเรื่อยๆ จนน้ำมันหมดถังเหี่ยวแห้งตายไปเอง โดยที่ไม่เข้าใจว่าเพราะอะไรจึงล้มเหลว

                กฏของการประสบความความสำเร็จสไตล์ NLP ที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งนั้น ง่ายๆ และตรงไปตรงมาก นั่นก็คือ “คุณจะสามารถสำเร็จในสิ่งใดๆ ก็ได้ถ้าคุณรู้ว่าความสำเร็จของคุณคืออะไร” ดังนั้นก่อนจะประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างสวยสดงดงาม คุณต้องก่อนว่าความสำเร็จคืออะไร ก่อนที่สุดยอดรถแข่งจะพุ่งเข้าเส้นชัยด้วยพลัง 1000 แรงม้า มันจะต้องทราบก่อนว่าเส้นชัยอยู่ที่ไหน

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

การโจมตีโดยไม่ทันตั้งตัว

                ใช้เวลาไม่นานนัก คิดว่าไม่น่าจะเกิน 3 นาที ผมก็ตัดสินใจซื้อหนังสือรวมผลงานเรื่องสั้นของ Fujiko F Fujio (ผู้เขียนโดราเอม่อน) มายกกล่อง หมดไปหลายเงินอยู่ นั่นคือเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นที่เกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติที่เพิ่งผ่านมานี้

ดูเหมือนกับว่าจะเป็นเรื่องธรรมดาๆ เรื่องหนึ่ง

เรื่องนี้ที่น่าตลกก็คือความจริงแล้วผมก่อนจะมางานที่งานนี้ผมไม่เคยคิดถึงหนังสือชุดนี้เลยแม้แต่นิดเดียว ในระหว่างที่เดินเที่ยวเลือกซื้อหนังสือในงานก็ไม่เคยคิดถึงแม้แต่น้อยนิด ทั้งๆ ที่ยังมีหนังสืออีกเป็นจำนวนมากที่ตั้งใจเอาไว้เป็นดิบดีว่าจะต้องซื้อแน่ๆ แต่พอถึงหน้าร้านจริงๆ เนื่องจากราคาที่สูงบวกกับงบประมาณที่มีจำจัดจำเขี่ย หนังสือหลายต่อหลายเล่มกลับถูกตัดสินใจให้บอกผ่านไปก่อนโดยตั้งใจว่าจะกลับมาซื้อใหม่ในโอกาสต่อๆ ไป อย่างน้อยก็เมื่อกระเป๋ามีความพร้อมกว่านี้

แต่กลับหนังสือรวมเรื่องสั้นหนึ่งกล่องใหญ่ซึ่งราคาก็ไม่ใช่ว่าจะน้อยๆ แถมเป็นหนังสือที่ไม่เคยมีแผนจะซื้ออยู่ในหัวมาก่อนกลับควักเงินซื้อกลับบ้านได้อย่างรวดเร็วหน้าตาเฉย

จึงมีคำถามง่ายๆ เกิดขึ้นในหัวว่า “ทำไม”

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

เทคนิคหมุน (Spin)

การ Spining เป็นการประยุกต์ใช้เทคนิคสะกดจิตในการบัดปัดความอึดอัดไม่สบายใจหรือความประหม่าแบบแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
โดยในระหว่างที่เกิดความรู้สึกอึดอัด ไม่สบายใจ วิตกกังวล เครีย ดหรือประหม่าให้จินตนาการถึงภาพกังหันลมอันใหญ่ที่กำลังหมุนอยู่แล้วสังเกตุว่ากังหันลมนั้นหมุนไปทางซ้ายหรือขวาแล้วกังหันนั้นหมุนเร็วขนาดไหนความเร็วของกังหันก็คือตัวสะท้อนถึงปริมาณของปัญหา ยิ่งกังหันหมุนเร็วก็แสดงว่าปัญหานั้นมีความรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วยไม่ว่ากังหันจะหมุนไปทางใด จะหมุนแรงขนาดไหนก็ตาม ที่เราต้องทำก็คือใช้จิตนาการหยุดการหมุนของกังหันนั้นเสียแล้วบังคับให้มันหมุนสวนกลับไปอีกทิศทางหนึ่งให้ได้ เพียงเท่านี้ความรู้สึกที่ไม่ดีทั้งหลายก็จะหายไปในทันทีอย่างน่าประหลาดใจครับ



แม่แบบความเชื่อสู่ความสำเร็จทั้งเจ็ด

นักเอ็นแอลพีได้ทำการศึกษาจากประวัติบุคคลต่างๆ แล้วพบว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตจะมีแนวความเชื่อที่แตกต่างออกไปจากผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงมีแนวโน้มที่จะมีความเชื่อในหลายๆ เรื่องที่เหมือนกัน จากการวิจัยนี้นักเอ็นแอลพีก็เลยทำการเปรียบเทียบเชิงสถิติแล้วสรุปออกมาเป็นสูตรสำเร็จว่าถ้าหากต้องการจะให้ชีวิตประสบกับความสำเร็จแล้วล่ะก็ จะมีความเชื่ออยู่เจ็ดข้อที่จำเป็นจะต้องปลูกฝังลงไปในจิตใต้สำนึก เรียกว่า "แม่แบบความเชื่อสู่ความสำเร็จทั้งเจ็ด"

Sub-Modality



Modality เป็นกลไกประสาทสัมผัสหลักของมนุษย์ อันประกอบไปด้วย ตา(V) หู(A) จมูก(O) ลิ้น(G) และกายสัมผัส (K) โดย Modality ทั้งห้านี้ จะถูกแบ่งออกออกเป็นสองชุดด้วยกัน คือระบบประสาทสัมผัสที่รับข้อมูลจากภายนอกเข้ามาสู่ร่างกาย (External = Ve Ae Oe Ge Ke)
และระบบประสาทสัมผัสที่ทำงานอยู่ภายในร่างกายของเรา (Internal = Vi Ai Oi Gi Ki) หรืออีกในหนึ่งก็คือการจินตนาการหรือความนึกคิดถึงสิ่งต่างๆนั่นเอง

Modality

ทุกความคิดความรู้สึกที่เกิดขึ้นในสมองและระบบประสาทของมนุษย์ เกิดมาจากการทำงานผสมผสานกันของข้อมูลจากสองส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือข้อมูลจากระบบประสาทสัมผัสทั้งห้าอันประกอบไปด้วย ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกายสัมผัส อีกส่วนหนึ่งก็คือบรรดาข้อมูลเก่าที่เราเคยเรียนรู้แล้วเก็บสะสมเอาไว้ในระบบความจำของเรา ซึ่งก็มีทั้งในส่วนที่เป็นจิตสำนึก และจิตใต้สำนึก

Reframing

การที่ชีวิตของใครแต่ละคนจะดำเนินไปในทิศทางทางใดนั้น มันขึ้นอยู่กับว่าใครแต่ละคนมีบุคลิกภาพอย่างไร คนบางคนนั้นเป็นพวกกระตือรือร้น บางคนเป็นประเภทผัดวันประกันพรุ่ง บางคนขยันขันแข็งสู้ชีวิต ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ แต่อีกหลายคนกลับเป็นประเภทที่หนักไม่เอาเบาไม่สู้ ไม่มีความมั่นใจ ไม่มีความความกล้าหาญในการตัดสินใจหรือเผชิญต่อสิ่งต่างๆ ที่รออยู่เบื้อหน้า การที่มีบุคลิกที่แตกต่างกันนี่เองทำให้แต่ละคนดำเนินชีวิตและได้รับผลในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ประเด็นก็คือว่าหากเรามีบุคลิกภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตก็ดีไป แต่ถ้าเกิดเป็นประเภทที่มีบุคลิกภาพที่ขัดขวางต่อความเจริญในการดำเนินชีวิตแล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป เราจะต้องยอมรับในสิ่งที่เราเป็น หรือจะมีวิธีใดบางที่จะทำให้บุคลิกภาพของเราปรับเปลี่ยนไปในทางที่สร้างสรรค์และส่งเสริมต่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิตของเราขึ้นมาบ้าง

นาทีทอง

สำหรับนักสะกดจิตแล้ว เราทราบกันดีว่าหัวใจที่สำคัญที่สุดของการสะกดจิตหรือการสั่งจิตนั้นก็คำว่า "ผ่อนคลาย" มันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะสามารถทำการสะกดจิตหรือบรรจุข้อมูลใดๆเข้าไปในจิตใต้สำนึกของใครซักคน ถ้าเราไม่ได้ทำให้คนๆนั้นเกิดสภาพวะที่ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจเสียก่อน ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นทราบหรือไม่ครับ

จิตใต้สำนึกและภาษากาย (Subconscious Mind and Body Language)

มนุษย์เราแบ่งองค์ประกอบความมีชีวิตออกเป็นสอนส่วนด้วยกันคือ "จิต" (Mind) และ "กาย" (Body) คำว่าจิตก็คือผลการทำงานของสมองของเรา เมื่อสมองได้รับข้อมูลจากภายนอกผ่านทางระบบประสาทสัมผัสทั้งห้าอันได้แก่ หู ตา จมูก ลิ้น และกายสัมผัส เมื่อข้อมูลเหล่านี้เกิดการลำเลียงไปสู่สมองโดยผ่านทางระบบประสาท สมองก็จะทำการประผลแล้วตอบสนองออกมาในรูปของข้อมูลโดยส่งกลับไปทางระบบประสาทเพื่อสั่งการอวัยวะส่นต่างๆ ต่อไป

กระจกเงา (Mirror)

ลองนึกถึงว่าเรากำลังจะออกไปซื้อของข้างนอก แล้วพอดีว่ามีร้านอยู่สองร้าน เดินทางจากบ้านเราไปก็ใกลพอๆกัน สองร้านนี้ขายของเหมือนๆกัน ราคาเท่ากัน การตกแต่ง การให้บริการก็พอกัน แต่จะต่างกันตรงที่ว่าร้านหนึ่งเป็นร้านของเพื่อนสนิทของเราส่วนอีกร้านหนึ่งเป็นร้านของใครก็ไม่รู้ คิดว่าในความเป็นจริงแล้ว ร้านใหนมีโอกาสที่จะได้เงินของเราไปมากกว่ากันครับ

แสร้งเพื่อสร้าง

ในหนังสือของ อาจารย์ เดล คาเนกี้ ปรมาจารย์นักพูดชาวอเมริกันกล่าวว่า ถ้าหากท่านต้องการเป็นคนกล้าหาญ ท่านต้องแสร้งทำตัวเป็นคนกล้าหาญ เมื่อท่านแสร้งทำบ่อยๆ เข้า ในที่สุดท่านก็จะกลายเป็นคนกล้าหาญไปจริงๆ หลักการแสร้งจนกลายเป็นจริงแบบนี้ยังคงใช้ได้ผลดีเรื่องมา

ใช้ Meta Model หยุดอารมณ์แบบง่ายๆ

NLP เป็นศาสตร์ที่ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับกับสภาวะทางอารมณ์ ความเชื่อ หรือความรู้สึกนึกคิดของผู้คน ทัศนะทางธุรกิจของ NLP นั้นให้น้ำหนักไปที่สภาวะทางอารมณ์ของบุคลากรเป็นอย่างมาก NLP เสนอว่าสภาวะทางอารมณ์หรือความคิดที่เป็น "ลบ" ทุกชนิดล้วนแล้วแต่ส่งผลให้การทำธุรกิจของเรานั้นประสบความล้มเหลวได้ทั้งสิ้น เช่นความคิดที่ว่า "ฉันทำไม่ได้หรอก" ทั้งๆที่ยังไม่ได้ลงมือทำอะไรเลย หรือ "ธุรกิจนี้ต้องเจ๊งแน่ๆ" ทั้งๆที่มันยังไม่เจ๊ง (พูดจริงๆแล้วมันยังไม่ได้ลงมือทำด้วยซ้ำ แล้วมันเจ๊งได้ยังไง)

NLP ตั้งคำถามว่าคนที่กำลังจมอยู่ความคิดเช่นนี้จะสามารถประสบความสำเร็จในธุรกิจได้หรือเปล่าครับ

คำอุปมา อุปไมย (Metaphor)

คำอุปมา อุปมัย หรือ Metaphor จัดว่าเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์มากใน NLP โดยคำคำอุปมา อุปมัย หรือ Metaphor นี้จะช่วยให้ความคิดที่ไร้รูปร่างดูเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้กลายเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ง่ายขึ้น เรื่องนี้จะว่าเป็นความโชคดีของคนไทยก็ได้ครับที่วัฒนธรรมการใช้ภาษาของเรามีการใช้คำอุปมา อุปมัยกันเป็นเรื่องปรกติสามัญอยู่แล้ว ทำให้การทำความเข้าใจในและการใช้ Metaphor ใน NLP ของคนไทยง่ายกว่าคนที่อื่นเยอะ

จุดเริ่มต้นของ NLP

จุดเริ่มต้นของ NLP เริ่มขึ้นในขณะที่ ริชารด์ แบนด์เลอร์ กำลังฟังเทปบันทึกการบำบัดของนักจิตวิทยาประเภท Gestalt ที่ชื่อ ฟริตซ์ เพิรล์ (Fritz Perl) เพื่อที่จะทำเป็น project ส่งให้ ดร.โรเบิรต์ สปิตเซอร์ (Robert Spitzer) ซึ่งในขณะที่กำลังฟังการบำบัดของ ฟริตซ์ อยู่นั้น ริชาร์ด แบนด์เลอร์ รู้สึกว่าคำพูดบางคำและประโยคบางประโยคของ ฟริตซ์ มีอิทธิพลต่อความคิดของตนมากส่งผลให้เขาเกิดความรู้สึกคล้อยตามและมีอารมณ์ร่วม ด้วยความฉงนสังสัย ริชารด์ แบนด์เลอร์ จึงได้นำประเด็นนี้ไปปรึกษากับ จอห์น กรินเดอร์ ผู้เป็นอาจารย์ของเขา ซึ่งทั้งสองก็ได้ร่วมกันศึกษาเทปของ ฟริตซ์ เพิรล์เพื่อหาคำตอบ และยังได้ทำการสังเกตการทำงานนักจิตวิทยาอีกคนที่ชื่อว่า เวอจีเนีย ซเทียร์ (Virgina Satir) เป็นการเพิ่มเติม จนกระทั่งพวกเขาทั้งสองสามารถคิดค้นหลักการ Meta Model ที่เป็นหลักการว่าด้วยเรื่องของการเสาะหาข้อมูลที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของผู้พูดขึ้นมาได้

NLP โปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส

NLP (Neruo Linguistic Programming) หรือ โปรแกรมภาษาประสาทสัมผัส เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษารูปแบบวิธีการที่ระบบประสาทจะตอบสนองต่อข้อมูลต่างๆ ผ่านทางช่องทางการรับรู้ทั้ง 5 ทั้งในระดับจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก และนำเอาองค์ความรู้ที่ได้นี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งแง่ของการบำบัดและพัฒนาศักยภาพบุคคล โดย NLP จะประกอบไปด้วยองค์ความรู้หลายแขนงด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบประสาทวิทยา จิตวิทยา ภาษาศาสตร์ และเทคนิคการสะกดจิตบำบัด

ชื่อของ NLP (Neruo Linguistic Programming) ได้มาจาก Alfred Habdank, Skarbek Korzybsk เจ้าของคำพูดยอดนิยมในวงการ NLP ที่ว่า "พระเจ้าอาจจะอภัยความผิดบาปให้คุณ แต่ระบบประสาทของคุณจะไม่มีวันยกโทษให้"

Neuro : ประสบการณ์ทั้งหมดของเรา ทั้งในส่วนของจิตสำนึกและจิตใต้สำนึกซึ่งได้รับมาจากระบบประสาทสัมผัสและระบบประสาทส่วนกลาง
Linguistic : กระบวนการความคิดและคำพูด การสื่อสาร ผ่านทางภาษาพูดและภาษากาย
Programming : ระบบการทำงานของสมองและประสาท รับรู้จากประสบการณ์และการติดต่อสื่อสารอย่างเป็นโปรแกรม (เป็นรูปแบบที่เป็นระบบระเบียบแน่นอน)



วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

การสะกดจิตตัวเองแบบ Affirmation

เนื่องจากการสะกดจิตตัวเองมักจะพบปัญหาหลับก่อนที่จะได้บรรจุข้อมูลเสมอ ดังนั้นหากเป็นการสะกดจิตตัวเองจึงควรใช้เทคนิคที่เรียกว่า Affirmationการ Affirmation เป็นการพูดคำสั่งสะกดจิตกับตัวเองเป็นถ้อยคำสั้นๆ อย่างไม่เป็นพิธีรีตองมากนัก โดยจะพูดคำสั่งสะกดจิตที่สั้นกระชับได้ใจความในช่วงเวลาที่ตัวเองกำลังในภาวะที่ผ่อนคลายเช่นขณะเพิ่งตื่นนอน ก่อนนอนหลับ ขณะนั่งสมาธิ หรือขณะที่ฟังเพลงเบาๆ ด้วยความรู้สึกผ่อนคลาย

คุณประโยชน์ของการสะกดจิตบำบัด (Hypnotherapy)

1. พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้
2. สร้างความร่ำรวย
3. เลิกเหล้า
4. เลิกสูบบุหรี่
5. เลิกเสพยาเสพติด

REBT : ความคิดที่ไร้เหตุผล(Musturbatory thinking)

REBT เชื่อว่าความคิดที่เข้มงวดในรูปของจะต้อง” “ควรจะเป็นสิ่งที่รบกวนจิตใจคนเรา เพราะเรียกร้องให้บุคคลกระทำในสิ่งที่ ต้อง หรือ ไม่ต้อง ควร หรือ ไม่ควร กับตนเอง ผู้อื่นและต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ชีวิตฉันควรจะสะดวกปราศจากปัญหา เป็นการวาดกรอบให้กับตนเองและผู้อื่น

REBT: ความทุกข์

REBT ชี้ว่ามนุษย์จะทำลายตนเองหรือทำให้ตนเองได้รับความทุกข์ได้ในสองลักษณะ
1.   ความทุกข์เพราะอัตตา(Ego disturbance) หมายถึง ความวิตกกังวลเกี่ยวภาพลักษณ์ของตนเอง. ความทุกข์ชนิดนี้เป็นผลมาจากการยึดถือความต้องการที่เกี่ยวกับตนเอง เช่น ฉันจะต้อง...ได้ดี ฉันต้องไม่ล้มเหลว ตามมาด้วยการประเมินตนเองในแง่ลบ อย่างเช่น: ถ้าฉันล้มเหลว ฉันจะไม่ได้รับการยอมรับ เป็นต้น.นั่นแสดงว่าฉันไม้ดีพอ และอื่น. ความเชื่อเหล่านี้ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับตนเอง ความตึงเครียดทางอารมณ์เป็นผลมาจากการรับรู้ว่าตนเองหรือคุณค่าในตนเองถูกคุกคาม และนำไปสู่ปัญหาอื่น อย่างเช่น การหลีกหนีสถานการณ์ที่จะทำให้เกิดความล้มเหลว 

REBT: ABCDE Paradigm

เพื่อแสดงผลที่มีต่ออารมณ์ที่รบกวนจิตใจและการเปลี่ยนแปลง REBT เสนอแนวความคิด ABCD เพื่อแสดงให้เห็นว่าความคิดเป็นตัวกำหนด สร้างอารมณ์ทางลบ และจัดการกับความคิดได้อย่างไร

REBT

เป็นแนวคิดที่อธิบายถึงระบบการช่วยเหลือที่สอนให้บุคคลรู้ว่า ความเชื่อของบุคคลมีผลต่อความรู้สึก และการกระทำในชีวิตประจำวันของเขาอย่างไร REBT ถูกพัฒนาขึ้นโดย ดร.อัลเบิร์ต เอลลิส ในปี คศ. 1955 ซึ่งเป็นแนวทางการบำบัดอย่างหนึ่งที่พัฒนามาจากทฤษฎีการบำบัดแบบ Cognitive behavior therapy

TA: บทบาทและหน้าที่ของผู้ให้การปรึกษา

1. ส่งเสริมให้ผู้รับการปรึกษาเรียนรู้แนวคิดต่างๆของ TA เช่นบทชีวิต ภาวะของอีโก้ ความรู้สึกทดแทน ความรู้สึกที่แท้จริง
2. นอกจากสร้างสัมพันธภาพที่มีความเท่าเทียมกันตามหลัก I’m OK – You’re OK   
3. ผู้ให้การปรึกษายังมีหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาของผู้รับการปรึกษาโดยการวิเคราะห์โครงสร้างของบุคลิกภาพ

TA: ความรู้สึก (Stamps)

แสตมป์ (Stamp) คือ ความรู้สึกต่างๆ ที่ประทับไว้เป็นประสบการณ์ ในขณะที่เรากำลังให้ความใส่ใจ การเก็บเอาความรู้สึกต่างๆนี้ไว้ เปรียบเสมือนเป็นการสะสมแสตมป์ หรือดวงตราประทับ นักสะสมที่มีความสามารถนั้น นอกจากจะรู้จักสะสมแสตมป์แล้วยังแลกเปลี่ยนอย่างเหมาะสมด้วย หลัก TA (Transactional Analysis) ให้แสตมป์สีต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ของความรู้สึกต่างๆ ได้แก่
-แสตมป์สีทอง หมายถึง ความรู้สึกพึงพอใจในตนเอง ภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในตนเอง
-แสตมป์สีน้ำตาล หรือสีเทา หมายถึง ความรู้สึกหดหู่เห็นว่าตัวเองบกพร่อง
-แสตมป์สีขาว หมายถึง ความรู้สึกว่าตนเองเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้ที่ถูกต้องเสมอ ใครว่ากล่าวติเตียนไม่ได้
-แสตมป์สีแดง หมายถึง ความรู้สึกโกรธ ขุ่นเคืองไม่พอใจ
-แสตมป์สีน้ำเงิน หมายถึง ความรู้สึกเหงา เศร้าสร้อย ปวดร้าวใจ






TA: เกม (Games)

วิธีการที่บุคคลพยายามเอาประโยชน์จากบุคคลอื่นเพื่อให้ได้ความเอาใจใส่ที่ตนพอใจ โดยพยายามดึงให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้ามาร่วมเล่นเกมด้วย ซึ่งอาจเป็นการแสดงออกทางคำพูดหรือการกระทำก็ได้ และในที่สุดเกมจะจบลงด้วยการดุด่าว่ากล่าว ดูถูก เหยียดหยามหรือประณาม อย่างคาดไม่ถึง คนเราจะรู้จักเล่นเกมมาตั้งแต่เด็ก เพื่อหาทางที่จะพยายามกระทำกับพ่อแม่ของตนเพื่อให้ได้รับความเอาใจใส่ เมื่อคนเราเกี่ยวข้องในการเล่นเกมจะต้องแสดงบทบาทซึ่งอาจรู้หรือไม่รู้ตัวก็ตามในบทบาทของ

TA: การใช้ช่วงเวลาของชีวิต (Time Structuring)

TA เชื่อว่า วิธีการต่างๆ ที่เราใช้เวลาของชีวิตให้หมดไปนั้นก็เพื่อแสวงหาความเอาใจใส่(Stroke)  ที่ตนต้องการนั่นเอง วิธีการที่คนเราใช้เวลาของชีวิตให้หมดไปนั้นมีอยู่ 6 วิธี ได้แก่
1.        การหลบหลีกจากผู้คน (withdrawal) บุคคลประเภทนี้ไม่ต้องการติดต่อกับผู้ใด พยายามจะแยกตัวเลี่ยงหนีออกไป ไม่สนใจอะไร ชอบใจลอย ไม่สนใจคนอื่น ๆ บุคคลประเภทนี้จะได้ความเอาใจใส่ (stroke) ก็โดยการสร้างวิมานในอากาศเอาเอง (fantasy) หรือการคิดเองตอบเอง (self - talk)

TA: ทัศนะคติต่อชีวิตของบุคคล / ทัศนะชีวิต(Life Position)

ความรู้สึกหรือจิตใจของบุคคลมีทั้งดีและไม่ดีที่มีต่อตนเอง และผู้อื่น ซึ่งได้รับมาจาก ประสบการณ์รอบตัวในวัยเด็ก  มี 4 แบบ คือ
4.1 ฉันดี – คุณดี (Im OK – You’re OK)
เป็นจุดยืนของผู้ชนะ (Winner) หมายถึง การพูดหรือแสดงออกมาครั้งใด   จะทำให้ผู้อื่นและตนเองมีความสุข เป็นทัศนะแห่งความสร้างสรรค์  บุคคลที่มีทัศนะนี้จะเจริญมาจากการเลี้ยงดูมาและสภาพแวดล้อมที่ได้รับความเอาใจใส่ทางบวก  เมื่อเขาทำผิดพลาดจะไม่รู้สึกเสียกำลังใจ  จะแก้ไขใหม่ให้ดีได้  โดยอยู่บนเหตุผลและตระหนักรู้ว่า  "ฉันผิดไปแล้วก็จริง แต่ก็ไม่เห็นเป็นอะไร ไม่มีอะไรในโลกนี้สายเกินไปที่จะเรียนรู้และแก้ไข"

TA: การติดต่อสื่อสาร (Transactions)

Ego state จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของการแสดง Transaction ออกไป ซึ่งโดยทั่วไปไปแล้ว Transaction ที่เกิดขึ้นมี 3 ลักษณะ คือ
3.1 การติดต่อสื่อสารแบบคล้อยตาม (Complementary Transactions)
เป็นการสื่อสารที่แสดงให้เห็นถึงการคล้อยตามกัน  การโต้ตอบเป็นไปตามความต้องการของทั้งสองฝ่าย

TA: ความเอาใจใส่ (Stroke)

มนุษย์ต้องการการสัมผัสทางร่างกายอย่างมาก และเมื่อเติบโตขึ้นจึงเปลี่ยนมาเป็นความต้องการการสัมผัสทางใจ  ซึ่งเรียกว่าความเอาใจใส่(Stroke) โดยบุคคลจะแสวงหาความเอาใจใส่จากผู้อื่น และให้ความสนใจผู้อื่นทั้งทางกายและทางใจ เช่น การโอบกอด กุมมือ แสดงด้วยสายตาห่วงใย หรือแม้แต่การกระทำความผิดใด ๆ เพื่อให้ได้รับคำตำหนิ นั่นหมายความว่าเขาได้รับความเอาใจใส่เช่นกัน 

TA: Ego State (วิธีปรับตัว)

วิธีการปรับตนให้เข้ากับผู้อื่นด้วยการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจะทำให้ทราบถึงสภาวะของบุคลิกภาพของแต่ละคน ถ้าเราต้องการให้เขาปรับเปลี่ยนสภาวะที่เหมาะสม เพื่อทำให้เขาเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม อาจใช้วิธีการดังต่อไปนี้

TA: Ego State (Child State)

 สภาวะความเป็นเด็ก (Child Ego State: C)
หมายถึง  สภาวะแห่งความเป็นเด็ก  ที่มีความรื่นเริง  สนุกสนาน  อยากรู้อยากเห็น  มีความสงสัยประหลาดใจ  และความหวาดกลัว  พยายามจะแสวงหาที่พึ่ง  ผู้ช่วยเหลือ  ขาดความมั่นใจในตัวเอง  อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย  บุคคลที่มีสภาวะนี้จะเคยใช้พฤติกรรมเหล่านี้เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง  และได้ผลมาแล้วจึงทำเสมอ ๆ  แม้เมื่ออายุมากขึ้น  เช่น เมื่อเด็ก ๆ  ร้องไห้ต้องการของเล่นพ่อแม่ก็จะซื้อให้  เมื่อโตก็จะใช้การร้องไห้เพื่อต่อรองคนใกล้ชิด  สภาวะนี้แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ

TA: Ego State (Adult State)

สภาวะความเป็นผู้ใหญ่ (Adult Ego State: A)
หมายถึง   สภาวะที่ได้จากการ ประมวลข้อมูลจากสภาวะความเป็นพ่อแม่  และความเป็นเด็กในส่วนของความเป็นจริงและถูกต้อง  มีการพัฒนาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโดยไม่ใช้อารมณ์  จะมุ่งพัฒนาและอยู่บนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่มีความเสมอภาคต่อกัน  ตัวอย่างเช่น  การแข่งขันควานของเด็กวัย 11 เดือน  พ่อแม่จะนำสิ่งของที่เด็กชอบไปไว้ที่จุดหมายปลายทาง  เด็กจะคลานโดยเร็วเพื่อหยิบของที่เขาชอบ  สภาวะความเป็นผู้ใหญ่นี้จะได้จากการสังเกต เรียนรู้ และจดจำข้อมูลรอบข้างนั่นเอง  บุคคลที่มีสภาวะความเป็นผู้ใหญ่จะตัดสินใจจากข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับ  มุ่งสู่ความเป็นจริงและถูกต้อง  จึงทำให้เกิดความศรัทธาและเชื่อถือ

TA: Ego State (Parent State)

1.1 สภาวะความเป็นพ่อแม่ (Parent State: P)
หมายถึง  การแสดงออกของบุคคลที่มีลักษณะคล้ายพ่อแม่  หรือคนใกล้ชิดที่เคยแสดงกับเขามาก่อน เช่น  พูดคำพูดแบบเดียวกัน  นี่เธอ”  ลูกคะ” หรือทำท่าทาง “ท้าวสะเอว”  มองด้วยสายตาดูถูก”  มองด้วยสายตารักใคร่”   สภาวะนี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่  5  ปีแรก  โดยบุคคลจะเรียนรู้สภาพแวดล้อมจากคนที่ใกล้ชิด  และเก็บรวมรวมไว้โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ  เพราะวัยเด็กยังไม่สามารถแยกหรือสร้างความหมายที่ถูกต้องได้  เช่น  ถ้าคนใกล้ชิด  แสดงความรัก  โอบกอด  พูดจาอ่อนหวาน  เด็กก็จะบันทึกภาพนั้นไว้ด้วยความอบอุ่น  แต่ถ้าพ่อแม่มีพฤติกรรมตรงข้าม  แสดงความโกรธ  หงุดหงิด  เสียงดัง  ดุด่า  เด็กก็จะหวาดกลัว  และมีคำสั่งสอนหลาย ๆ  อย่างติดตามมาด้วยเสียงดัง  เกรี้ยวกราด  และใช้คำว่า  อย่า” เสมอ ๆ เด็กก็จะบันทึกไว้และมีแนวโน้มที่จะยอมรับทัศนคติต่าง ๆ ของพ่อแม่ไว้อย่างเชื่อมั่น และเมื่อเติบโต บุคคลก็จะปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับพ่อแม่ หรือคนใกล้ชิดนั้น  สภาวะความเป็นพ่อแม่ออกเป็น  2  ลักษณะ คือ

Transactional Analysis (TA): ความเชื่อเกี่ยวกับมนุษย์

  •  มนุษย์มีความสามารถเอาชนะนิสัยที่เคยชิน
  • รู้จักเลือกเป้าหมายใหม่ แม้ว่าจะเคยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความต้องการและข้อเรียกร้องของผู้ที่มีความสำคัญในอดีต
  • การตัดสินใจต่าง ๆ สามารถทบทวน ท้าทาย และเปลี่ยนแปลงหากพบว่าไม่มีความเหมาะสม
  • มนุษย์เป็นผู้ที่รู้จักเลือกและไม่ยึดติดกับอดีต

Projective Test: แบบการแสดงออก

1.                 Projective Drawing Test

การทดสอบที่ใช้การวาดภาพแบบฉายภาพจิต(Projective Drawing Tests) มีอยู่หลายชนิด ซึ่งชนิดที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ 
  •  Draw-A-Person Test (D-A-P) 
Draw-A-Person test เป็นเทคนิคที่ใช้ในการวินิจฉัยและมุ่งเน้นที่การศึกษาในเรื่องพลศาสตร์ของบุคลิกภาพบุคลิกลักษณะที่ได้จากการวาดภาพคนเชื่อว่าเป็นสิ่งสะท้อนถึงแนวคิดเกี่ยวกับตน หรือ อัตมโนทัศน์ (self concept) จากสมมุติฐานที่ว่าภาพวาดคนแสดงถึงการสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในจิตไร้สำนึกในลักษณะที่บุคคลนั้นเห็นตนเองเป็นเช่นไร   เช่นขณะที่มีความวิตกกังวลสูง ลายเส้นของภาพจะสั่น ขาดความลื่นไหล ขณะซึมเศร้าลายเส้นของภาพวาดจะบางเบา คนที่ก้าวร้าวอาจจะวาดภาพนิ้วมือมีเล็บคล้ายเล็บสัตว์

Projective Test: แบบใช้ภาษา

1.       Story Completion

การต่อเรื่องให้จบ (Unfinished Scenario Story Completion) เป็นการเล่าเรื่องราวที่ยังไม่จบ แล้วให้ผู้ให้สัมภาษณ์ต่อเรื่องจนจบ คือ ให้เล่าต่อว่าเรื่องจะดำเนินไปอย่างไร และจบอย่างไร นอกจากนี้ ยังถามถึงเหตุผลด้วยว่า ทำไมตัวละครในเรื่องนี้จึงมีพฤติกรรมเช่นนั้น

Projective Test: ชนิดไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน

1.                 Rorschach Test (inkblot)


The Rorschach Inkblots Test เป็นแบบทดสอบแบบหนึ่งของ Projective Tests ซึ่งใช้วัดบุคลิกภาพของบุคคล แบบทดสอบนี้ตั้งอยู่บนเงื่อนไขเบื้องต้นของ Projective Techniques ที่ว่า ยิ่งสิ่งเร้าไม่ชัดเจนมากเท่าใด ยิ่งไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านป้องกันตัวเองมากเท่านั้น

แบบทดสอบประเภทนี้จัดได้ว่าเป็นแบบทดสอบที่มีประสิทธิภาพยิ่ง ในการเผยบุคลิกภาพที่ถูกปิดบังซ่อนเร้นอยู่ภายใต้จิตใต้สำนึกออกมา สมมติฐานของแบบทดสอบนี้คือ วิธีการมองเห็น และการตีความหมายของเนื้อหาของภาพหยดหมึก ซึ่งจะแสดงลักษณะ กระบวนความคิด ความต้องการ ความกังวลใจ และความขัดแย้งภายในใจออกมา


Projective Test: ลักษณะสำคัญ / ข้อดี-ข้อเสีย

1.   เป็นคำตอบจากสิ่งเร้าที่ขาดโครงสร้าง มีสองนัย อาจเป็นอะไรก็ได้ อาจดูได้ว่า ยิ้มหรือโกรธ หลับตาหรือร้องไห้ ห่อผ้าหรือก้อนหิน ผู้ถูกทดสอบจะต้องกำหนดคำตอบออกมาซึ่งจะต้องเผยความในใจอะ ไรสักอย่างของเขาออกมา อาจจะเป็นความต้องการ ความปรารถนา ความหวัง ความขัดแย้ง ฯลฯ ทำให้ประเมินความในใจของผู้ถูกทดสอบได้จากการคำตอบของเขาน ั่นเอง  

Projective Test

วิธีการทำการทดสอบประเภทนี้  ถือว่าเป็นเทคนิคพิเศษมากกว่าประเภทอื่น ๆ   การวิเคราะห์โรค  ต้องการพิจารณาทางด้านคุณภาพของคำตอบ (qualitative  หรือ  content)  เป็นประการแรกมากว่าจะพิจารณาทางด้านสถิติหรือปริมาณ (quantitative)     

จิตบำบัดชนิดปรับโครงสร้างใหม่ (Reconstructive Therapy)

จิตบำบัดชนิดนี้มีความละเอียดลึกซึ้งมากกว่าจิตบำบัดแบบประคับประคอง และ จิตบำบัดแบบการเรียนรู้ใหม่ โดยที่จิตบำบัดชนิดปรับโครงสร้างใหม่มีวัตถุประสงค์อยู่ 2 ประการใหญ่ ๆ คือ

1. พัฒนาการหยั่งรู้ (insight) เข้าไปสู่จิตใต้สำนึก ผู้ป่วยจะได้รับการช่วยเหลือให้เข้าใจข้อขัดแย้งทางอารมณ์และทำให้เขาเข้าใจความขัดแย้งที่อยู่ภายใต้จิตใต้สำนึก ทำให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนอุปนิสัย พฤติกรรม และบุคลิกภาพของเขาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

2. ส่งเสริมให้มีการเติบโตทางบุคลิกภาพ

จิตบำบัดแบบปรับโครงสร้างใหม่นี้มีแนวคิดมาจากแนวคิดที่สำคัญ ๆ 6 ชนิดดังต่อไปนี้

จิตบำบัดแบบการเรียนรู้ใหม่ (Re-Education Therapy)

จิตบำบัดชนิดนี้มีเป้าหมายที่ลึกกว่าจิตบำบัดแบบประคับประคอง (Supportive Therapy) คือมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนแปลงความรู้สึก ความคิด พฤติกรรมของผู้ป่วยให้เขาได้ปรับความคิดของเขาให้ดีและถูกต้องมากยิ่งขึ้น โดยที่วัตถุประสงค์ของการบำบัดประเภทนี้รวมไปถึงให้ผู้ป่วยได้มีการปรับตัวใหม่ ปรับเป้าหมายใหม่ ปรับพฤติกรรมใหม่ พัฒนาตนเองให้ดีขึ้น และ ให้สามารถเข้าใจศักยภาพของตนเองในทางสร้างสรรค์และมีความสุข

จิตบำบัดแบบประคับประคอง (Supportive Psychotherapy)

วัตถุประสงค์หลักของจิตบำบัดชนิดนี้ คือ เพื่อประคับประคองให้สถานภาพของผู้ป่วยยังคงอยู่ในสภาพเดิมไว้ ไม่แย่ลงไปมากกว่าเดิม ซึ่งผู้ป่วยในที่นี้คือ บุคคลที่มีภาวะวิกฤติเกิดขึ้นในชีวิตของเขา ซึ่งภาวะวิกฤตนั้นส่งผลทำให้สถานภาพเดิมของเขาต้องสูญเสียไป เช่น การหย่าร้าง การเสียชีวิตของคนที่รักไปกระทันหัน ตกงาน สอบตก เป็นต้น บุคคลเหล่านี้จะได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรงจนสภาวะทางจิตใจ อารมณ์ และความสัมพันธ์ที่มีกับบุคคลอื่น ๆ ผิดไปจากเดิม

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

จิตบำบัด (Psychotherapy)

จิตบำบัด คือ การบำบัดรักษาอารมณ์และจิตใจหรือบุคลิกภาพที่ผิดปกติ โดยวิธีทางจิตวิทยา เพื่อบรรเทาปัญหาและความผิดปกติของผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยมีวุฒิภาวะที่ดีขึ้น มีความพึงพอใจและพึ่งตนเองได้ ปัจจัยสำคัญในการบำบัดรักษาที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัดรักษากับผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยได้รับประสบการณ์ที่ดีโดยผ่านกระบวนการความสัมพันธ์นี้ ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกว่าเขาสามารถที่จะแลกเปลี่ยนความรู้สึก ความคิด ทัศนคติและประสบการณ์กับผู้ให้การบำบัดได้ และในขณะเดียวกันผู้ให้การบำบัดก็จะต้องให้ความอบอุ่น เข้าใจ ยอมรับ ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ ไม่ตำหนิผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวใด ๆ ต้องเคารพในตัวผู้ป่วย และยอมรับในคุณค่าของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

พื้นฐานการให้คำปรึกษา (ตอนที่ 2)

เคยมีคำกล่าวเอาไว้ว่าความประทับใจครั้งแรกนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ กระบวนการการให้คำปรึกษาก็เช่นกัน ความไว้เนื้อเชื่อใจและความสบายใจที่จะยอมเปิดเผยเรื่องราวของตนเองให้ผู้ให้คำปรึกษาฟังนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เข้ารับการให้คำปรึกษาจะต้องมี ซึ่งทั้งนี้เป็นหน้าที่ของผู้ให้คำปรึกษาว่าจะสร้างความสัมพันธ์กับผู้ที่มารับบริการนับตั้งแต่วินาทีแรกที่เจอหน้ากันอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการเห็นหน้ากันโดยตรง หรือเพียงแค่ได้ยินเสียงทางโทรศัพท์ การแสดงออกของผู้ให้คำปรึกษาในเวลานั้นจะสามารถส่งผลต่อความรู้สึกของผู้เข้ารับการให้คำปรึกษาอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นลักษณะท่าทาง ภาษากาย น้ำเสียง ในระหว่างการให้คำปรึกษานั้นผู้ให้คำปรึกษามีหน้าที่ที่จะต้องสร้างบรรยากาศในการรับฟังที่ดี ให้ผู้เข้ารับการให้คำปรึกษาสามารถถ่ายทอดความรู้สึกออกมาให้ได้มากที่สุด ถ้าพบว่าเขามีปัญหาหลายเรื่อง ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องรับฟังและรวบรวมข้อมูลและสรุปปัญหาเป็นเรื่อง ๆ ไป ซึ่งควรจะให้ผู้เข้ารับการให้คำปรึกษาเป็นผู้เลือกว่าเขาต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องใดก่อน-หลัง

ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้นว่าหัวใจข้อแรกของการให้คำปรึกษาคือการเข้าถึงจิตใจของผู้เข้ารับการให้คำปรึกษา ซึ่งการจะเข้าถึงหัวใจข้อนี้ได้นั้นผู้ให้คำปรึกษาจะต้องมีทักษะสำคัญได้แก่ ทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ เพื่อทำให้ผู้เข้ารับการให้คำปรึกษากล้าที่จะเล่าเรื่องราวของตนเองมากขึ้น สำหรับการรับฟังอย่างตั้งใจนั้นมีส่วนประกอบที่ดีดังต่อไปนี้

พื้นฐานการให้คำปรึกษา (ตอนที่ 1)

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าในสังคมปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงและการเสื่อมของศีลธรรมเริ่มมาเยือนมนุษย์มากขึ้นเช่นนี้ก่อให้เกิดความเครียดต่าง ๆ นานาในจิตใจของคนหลาย ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน การเงิน ความรัก ครอบครัว เพื่อน สังคม ฯลฯ คนบางคนรู้ว่าปัญหาของตนเองคืออะไรและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับปัญหานั้น ๆ แต่ก็มีอีกหลายคนที่ยังไม่สามารถค้นพบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดความทุกข์ที่วนเวียนอยู่ในจิตใจไม่รู้จบจนบางรายกระทบไปถึงสุขภาพกายก็มี ดังนั้นการช่วยเหลือทางด้านจิตใจหรือการให้คำปรึกษานั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสังคมกับสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อมีการสำรวจว่าคนไทยมีความเครียด และอัตราการตายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง