วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

How To Hypnosis Chicken? (สะกดจิตไก่ให้หลับ?)

พอดีมีเพื่อนคนนึงถามถึงเรื่องการสะกดจิตไก่ให้หลับ ความจริงต้องออกตัวก่อนว่าไม่เคยทำเหมือนกัน คงได้แต่เคยอ่านหนังสือหรือดูวีดิโอมา ดังนั้นถ้าจะให้มาบอกว่าผมทำเป็นก็คงหน้าเกลียดพิลึก แต่เอาเป็นว่าเท่าที่ศึกษามามันสองวิธีด้วยกันครับ

แต่ก่อนที่เราจะไปดูกันว่าสองวิธีการที่ว่านั้นเขาทำกันอย่างไร ตรงนี้ก็ขอบอกไว้ก่อนว่าเรื่องของการสะกดจิตไก่นั้นมันไม่เกี่ยวอะไรเลยกับ Hypnosis หรือเทคนิคการสะกดจิต เพราะจริงๆ แล้วมันเพียงแค่ทริคของชาวไร่ฝรั่งซนๆ ที่รู้ธรรมชาติของไก่ว่าอย่างไรมันจึงจะเข้าสู่ภาวะ Tonic Immobility หรือการแกล้งทำเป็นตาย ว่าแล้วก็เติมอารมณ์ขันอีกนิดหน่อยเลยดูเหมือนว่าเป็นการกล่อมหรือการสะกดจิตไก่ให้หลับได้จริงๆ

เขาทำอย่างไร

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มิลตันโมเดล (The Milton Model)

ชื่อ “มิลตัน” ของมิลตันโมเดลมาจาก ดร.มิลตัน เอช อีริคสัน (Dr. Milton H. Ericson) บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะท่านหนึ่งของวงการจิตบำบัด ดร.มิลตันเป็นทั้งจิตแพทย์ เป็นทั้งนักจิตวิยา อีกทั้งเป็นนักสะกดจิตบำบัด (Hypnotic) อีกด้วย นอกจากนี้วิธีการสะกดจิตบำบัดของ ดร.มิลตันนั้นยังถือกันว่าเป็นแบบฉบับมาตรฐานของเทคนิคสะกดจิตบำบัดสมัยใหม่ (เรียกว่า Ericsonier Hypnosis) ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากนักสะกดจิตบำบัดทั่วโลกว่าเป็นวิธีการสะกดจิตบำบัดที่ยอดเยี่ยมที่สุดวิธีการหนึ่ง

หลังจากที่แบรดเลอร์และกรินเดอร์ (สองผู้ก่อตั้งศาสตร์เอ็นแอลพี) ได้ติดตามศึกษางานบำบัดของดร.มิลตันเป็นเวลานาน นอกการแบรดเลอร์และกรินเดอร์จะได้เรียนรู้เทคนิคสะกดจิตที่ยอดเยี่ยมของดร.มิลตันแล้วทั้งสองยังต้องประหลาดใจเมื่อพบว่าบ่อยครั้งที่ผู้มารับการบำบัดมีอาการดีขึ้นเพียงแค่ได้พูดคุยกับดร.มิลตันเป็นเวลาสั้นๆ เท่านั้น

ความจริงและเวลา

มนุษย์เรานั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่ตั้งอยู่บนตำแหน่งเวลาปัจจุบันเท่านั้น ระบบประสาทของเราสามารถรับรู้ได้เพียงเหตุการณ์ที่กำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน เรื่องราวในอนาคตเราไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น เราทำได้อย่างมากก็แค่ใช้การ “คาดเดา” ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ยิ่งอนาคตอยู่ใกลออกไปมากเท่าไหร่ความแม่นยำในการคาดเดาของเราก็ยิ่งลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ ส่วนเรื่องราวในอดีตนั้นระบบประสาทของเราก็รับรู้ซ้ำไม่ได้เช่นกัน ที่ระบบประสาทของทำได้ก็มีเพียงการดึงเอาข้อมูลความทรงที่ถูกบันทึกเอาไว้แล้วกลับมาใช้ใหม่เท่านั้น ซึ่งมันก็ไม่ได้ชัดเจนเหมือนกับตอนที่เรากำลังประสบกับเหตุการณ์โดยตรงและในความเป็นจริงมันก็มีโอกาสที่มันจะคลาดเคลื่อนได้เหมือนกัน ยิ่งย้อนกลับไปมากเท่าไหร่โอกาสที่ข้อมูลตัวนี้จะคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย

ทำไม NLP จึงไม่ได้ผล

เคยมีคนถามผมว่า “อาจารย์ครับ ทำไม NLP จึงไม่ได้ผล” คำถามง่ายๆ แบบนี้ทำเอาสมองของของผมช๊อตไปครู่หนึ่งก่อนที่ผมจะถามเขากลับไปว่า “ทำอะไรล่ะที่ว่ามันไม่ได้ผล” คำตอบที่ผมได้รับกลับมามันทำให้ผมประหลาดใจกว่าคำถามแรกอยู่หลายช่วงตัวเพราะคนเริ่มต้นคำถามเขาตอบกลับมาว่า “ผมก็ไม่ไม่ทราบครับ พอดีไปได้ยินอาจารย์อีกท่านหนึ่งเขาบอกว่า NLP มันไม่ได้ผล”

                เจอเอาอีแบบนี้มันเหมือนกับมีคนถามผมว่าทำไมรถยนตร์คันนั่นจึงวิ่งไม่ได้ ความจริงแล้วมีเหตุผลได้เป็นล้านข้อเลยกระมังที่จะทำให้รถยนตร์มันวิ่งไม่ได้ ตั้งแต่หัวเทียนบอด ไดสตาร์ทพัง เพลาขาด ยางแบน น้ำมันหมด หรือแม้แต่ไม่มีคนไปขับมันน่ะซิ

เรื่องของ NLP ก็เหมือนกัน