วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาพจากงานอบรม The Fundamental of Hypnosis and NLP รุ่นที่ 1 ปี 2555

ภาพจากงานอบรม The Fundamental of Hypnosis and NLP รุ่นที่ 1 ปี 2555
วันเสาร์ที่ 28 และอาทิตย์ที่ 29 มกราคม 2555 ณ. The Counseling and Hypnotherapy Center (CHC) สุขมวิท64

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

เมื่อรายละเอียดบางอย่างมันหายไป

NLP เปรียบเทียบการรับรู้ของมนุษย์เหมือนกับคนที่พยามมองดูภูเขาผ่านทางแผนที่ของภูเขาลูกนั้นแทนที่จะเงยหน้าขึ้นมามองภูเขาลูกนั้นโดยตรง สาเหตุก็เพราะว่า เมื่อเรารับรู้ต่อเหตุการณ์ใดก็ตามรายละเอียดที่แท้จริงของเหตุการณ์นั้นมันย่อมมีมากเกินกว่าที่ระบบประสาทของเราจะสามารถรับรู้ได้ทั้งหมด ดังนั้นระบบประสาทจึงเลือกที่จะรับรู้เอาเฉพาะส่วนที่มันคิดว่าสำคัญแทน

ซึ่งมาตรฐานการตัดสินใจว่าอะไรคือเรื่องสำคัญที่จำเป็นจะต้องเก็บรายละเอียดเอาไว้หรือรายละเอียดปลีกย่อยตัวไหนไม่สำคัญเราไม่ต้องรับรู้มันของแต่ละบุคลคลย่อมมีความแตกต่างกันตามแต่ประสบการณ์ ความเชื่อ และค่านิยมที่ตัวเองมีอยู่

เรื่องการสนใจรับรู้แต่สิ่งที่สำคัญโดยละเลยสิ่งที่ไม่สำคัญนี้มันกลไกพื้นฐานของมนุษย์เราอย่างแท้จริง ที่พูดแบบนี้ก็เพราะว่าไม่ว่าสิ่งๆ นั้นจะเป็นเรื่องง่ายๆ เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดน้อยขนาดไหนก็ตาม เราก็ยังไม่ว่ายที่จะไม่รับรู้หรือใส่รายละเอียดทั้งหมดของเหตุการณ์นั้นอยู่ดี

วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

Emotional Process in Society (กระบวนการทางอารมณ์ต่อสังคม)

            แนวคิดของ Emotional Process in Society นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าสังคมนั้นก็เหมือนกับครอบครัว กลางคือ มีพลังที่ดึงดูดให้สมาชิกในสังคมผูกพันกัน และ มีพลังที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นตัวของตัวเองของสมาชิก ภายใต้โลกปัจจุบันที่สภาพแวดล้อม เทคโนโลยี และข่าวสารกว้างไกลนั้น ส่งผลให้จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อจำนวนประชากรมนุษย์เพิ่มขึ้น จำนวนทรัพยากรธรรมชาติในทุกด้านจึงลดลง ก่อให้เกิดเป็นความเครียดสั่งสมอยู่ในทุกผู้ทุกคนบนโลกนี้ เมื่อความเครียดถูกสั่งสมอย่างต่อเนื่องโดยที่ไม่มีการระบายออก จึงส่งผลให้ความเป็นตัวของตัวเองของสมาชิกในสังคมนั้นลดน้อยถอยลง เป็นส่วนหนึ่งของการถดถอยทางสังคม ซึ่งการถดถอยทางสังคมนี้แหละ ที่เป็นตัวที่แสดงให้เห็นว่า ความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นตัวที่ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ ซึ่งความล้มเหลวในการแก้ปัญหาก็ล้วนแล้วแต่เป็นตัวที่ทำให้สังคมล้าหลังเช่นกัน


Murray Bowen - Sibling Position (ตำแหน่งการเกิดของพี่น้อง)

            ตำแหน่งการเกิดของพี่น้องนั้นมีส่วนสำคัญในหลักการของ Bowen ได้ศึกษางานวิจัยของ Walter Toman ซึ่ง Toman นั้นได้เน้นไปที่โครงสร้างของตำแหน่งการเกิดของลูกในครอบครัว แต่ Bowen นั้นให้ความสำคัญกับเรื่องของระบบอารมณ์และจิตใจของพี่น้องในครอบครัวนั้น ๆ เขาเชื่อว่าลำดับการเกิดของลูกของแต่ละครอบครัวนั้นจะส่งผลต่อบุคลิกภาพไปในทางเดียวกัน เช่น ลูกคนโตจะมีความรับผิดชอบ และมีความเป็นผู้นำสูงกว่าลูกคนเล็ก นอกจากนี้ตำแหน่งการเกิดของพี่น้องนั้นยังส่งผลต่ออัตราการหย่าร้างด้วย เช่น พี่ชายคนโตที่มีน้องสาวแต่งงานกับน้องสาวที่มีพี่ชายจะมีอัตรการหย่าร้างน้อยกว่าพี่ชายคนโตที่มีน้องชายที่แต่งงานกับพี่สาวคนโตที่มีน้องสาว

Murray Bowen - Multigenerational Transmission Process (มรดกของตระกูล)

            มรดกของตระกูล ณ ที่นี้ไม่ได้หมายถึง เก้าอี้ไม้สักฝังมุกของอาม่า หรือ แหวนเพชรต้นตระกูลที่สืบต่อกันมาแต่อย่างใด แต่มรดกของตระกูลของ Bowen นั้นคือ พฤติกรรม ทัศนคติ และความรู้สึกส่วนลึกที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น

คำโบราณที่ว่า “ลูกไม้หล่นไม้ไกลต้น” หรือ “ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่” คงจะเป็นจริง Bowen เชื่อว่าตัวตนของพ่อแม่นั้นสามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ผ่านทางอารมณ์ที่พ่อแม่แสดงออก ทัศนคติที่พ่อแม่มีทั้งต่อตนเองและต่อสังคม รวมไปถึงพฤติกรรมหลาย ๆ อย่าง เด็กเล็กนั้นจะสังเกตุและเรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัว ซึ่งสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดยามที่พวกเขาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ดีนั้นก็คือพ่อและแม่ของเขา ทำให้แนวโน้มที่ลูกจะมีระดับความเป็นตัวของตัวเองเท่ากับที่พ่อและแม่ของพวกเขาเป็นนั้นจึงมีสูงมาก (แต่ก็ไม่เสมอไป)

Murray Bowen - Emotional Cut-Off (การตัดขาดทางอารมณ์)

            เมื่อจิตใจของเด็กโดนพ่อแม่โยนบาปทางอารมณ์ใส่มาให้ นานวันเข้าจิตใจน้อย ๆ นี้ก็ไม่สามารถรับได้อีกต่อไป จนกระทั่งเด็กต้องปลีกวิเวกตัวเองออกห่างจากครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการปลีกวิเวกทางร่างกาย เช่น ออกไปอยู่หอ หรือ ปลิกวิเวกทางจิตใจ เช่น ไม่พูดกับพ่อแม่ การกระทำเช่นนี้เกิดขึ้นเนื่องจากบุคคลต้องการที่จะลดปริมาณความอึดอัดที่ตนรู้สึกยามที่ต้องเผชิญหน้ากับครอบครัวลง ความสัมพันธ์ภายนอกอาจจะดูเหมือนกับว่าดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงปัญหานั้นยังไม่ได้รับการแก้ไขและก็ยังคงปรากฏอยู่ในใจต่อไป

Murray Bowen - Family Projection Process (แพะรับบาป)

            ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่เด็กพัฒนาปัญหาทางอารมณ์ที่ตนรับมาจากพ่อแม่ให้กลายเป็นปัญหาของตนเอง หลักการนี้ Bowen ชี้ให้เห็นว่าลูกนั้นเป็นดุจดั่งกระโถนที่ต้องรับเอาสิ่งที่ไม่ดีจากพ่อและแม่มาโดยที่ตนเองไม่ได้มีความผิดและไม่สมควรที่จะได้รับสิ่งเหล่านั้นเลย เมื่อพ่อแม่มีปัญหาทางอารมณ์ที่ไม่ได้รับการสะสาง ลูก ๆ จะต้องเป็นผู้สืบทอดมรดกอารมณ์เจ้าปัญหาเหล่านั้นไปโดยปริยาย ซึ่งปัญหาเหล่านั้นสามารถส่งผลต่อความสัมพันธ์และบุคลิกภาพในอนาคตของเด็กได้เช่น กลายเป็นคนที่ต้องการการยอมรับและต้องการการเอาใจใส่สูงเกินไป ไม่สามารถรับความคาดหวังที่มีต่อตนเองได้ โทษคนอื่นตลอดเวลา หรือแม้กระทั่งไม่สามารถทนรับความอึดอัดคับข้องใจได้





Murray Bowen - Nuclear Family Emotional System (ระบบอารมณ์ของครอบครัวเดี่ยว)

            ครอบครัวเดี่ยว คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูก

Bowen ได้กล่าวเอาไว้ว่ามนุษย์เรานั้นมักจะเลือกคู่ที่มีระดับความเป็นตัวของตัวเองพอ ๆ กับที่ตัวเองเป็น หรือมีส่วนที่คล้ายกับพ่อหรือแม่ของตัวเอง หากคนสองคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองต่ำมาใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ก็มีแนวโน้มที่จะสร้างครอบครัวที่มีลักษณะแบบเดียวกับตนขึ้นมา นั่นหมายถึงว่าลูกก็จะกลายเป็นคนที่มีความเป็นตัวของตัวเองต่ำเช่นกัน

Murray Bowen - Triangles (สามเส้า)

            “ที่ใดก็ตามที่มีคนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ย่อมมีการเมืองที่นั่น”

            Triangles หรือ สามเส้า นั้นหมายถึง ระบบครอบครัวที่เชื่อมบุคคล 3 คนเข้าด้วยกัน โดยเน้นถึงความผูกพันทางอารมณ์ทั้งทางบวกและทางลบ

เมื่อสมาชิกในครอบครัว 2 คน (ต่อไปนี้จะเรียก A และ B) เกิดความบาดหมางทางใจกันขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แล้ว A พยายามดึงสมาชิกครอบครัวคนที่ 3 (ต่อไปนี้จะเรียก C) ไปเป็นพวก (ซึ่งอาจเกิดจากสภาวะ Fusion) เพื่อให้สถานะและความรู้สึกของตนเองนั้นมั่นคงมากขึ้น เมื่อนั้นสามเส้าก็จะเกิดขึ้น

Murray Bowen - Differentiation of Self (ความเป็นตัวของตัวเอง)

            Differentiation of Self หรือ ความเป็นตัวของตัวเองนี้ หมายถึงความสามารถของบุคคลที่จะแยกแยะความคิด สติปัญญา ความรู้สึก และอารมณ์ของตนเองออกจากครอบครัวเดิม (Family of Origin) ไม่ต้องอยู่ภายใต้การครอบงำทางอารมณ์หรือความคิด ไม่ต้องคอยพึ่งพาผู้อื่น และไม่ต้องรอการเห็นชอบจากผู้อื่น สามารถเป็นอิสระได้อย่างแท้จริง

ความเป็นตัวของตัวเองนี้เป็นดั่งเป้าหมายสำคัญของทฤษฎี Family Therapy ของ Bowen เนื่องจาก Bowen เชื่อว่าการเป็นตัวของตัวเองได้พร้อม ๆ กับที่ตนสามารถมีสัมพันธภาพที่ดีไปพร้อมกับคนอื่นได้นั้นย่อมก่อให้เกิดความสุขและความสงบที่แท้จริงให้แก่บุคคลได้

            บุคคลจะสามารถเป็นตัวของตัวเองได้มากหรือน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความมั่นคงทางอารมณ์และจิตใจของตนเอง Bowen ได้จำแนกตัวตนออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ Separate Self เป็นตัวตนภายในที่มั่นคง ไม่คล้อยตามไปกับกระแสภายนอกหรือบุคคลอื่น และ Soluble Self ที่เป็นตัวตนที่มักจะหลอมรวมไปกับสภาพอารมณ์ที่ตนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ทั้งนี้ผู้ที่มีความเป็นตัว ของตัวเองสูงนั้นต้องมี Separate Self สูงกว่า Soluble Self หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือต้องรู้จักและเข้าใจในความเป็นตัวเองมากเพียงพอจนไม่โอนอ่อนคล้อยตามไปกับสิ่งแวดล้อมง่าย ๆ

Murray Bowen - นักจิตวิทยาครอบครัวบำบัด

Murray Bowen นั้นเป็นหนึ่งในจิตแพทย์ชาวอเมริกันที่โด่งดัง เจ้าของทฤษฎีระบบครอบครัว (Family System Theory) ซึ่งมีแนวคิดที่ว่าครอบครัวนั้นเป็นดุจศูนย์รวมของอารมณ์ เป็นสายสัมพันธ์ที่หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน (Interlocking)  และสามารถทำความเข้าใจสมาชิกในครอบครัวได้โดยการวิเคราะห์ประวัติครอบครัวจากรุ่นถึงรุ่น

Satir - การปรับตัว (Coping Stances)

            การปรับตัว คือ รูปแบบการแสดงออกของบุคคลยามที่เขาต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่เขามองว่าเป็นปัญหา เป็นกลไกการป้องกันตนเองตามแบบของ Satir มีจุดประสงค์เพื่อให้ตนสามารถพ้นจากความรู้สึกที่ตนเองไม่มีค่า เป็นการปกป้องคุณค่าของตนเองเอาไว้ เพื่อสร้างความภูใจให้กับตนเอง รวมไปถึงเพื่อเป็นการสร้างคุณค่าให้กับตนเองโดยการต่อต้านทั้งทางคำพูดและทางท่าทาง แบ่งเป็น 4 ประเภทได้แก่

Satir - ภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg)

            Satir อุปมาอุปไมยว่าคนเรานั้นก็เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็ง

            เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับคน ๆ หนึ่ง จะเป็นจริงตามที่คน ๆ นั้นรับรู้ ทั้งนี้เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับสิ่งที่เขารับรู้อาจเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ ดังนั้น Iceberg ของ Satir จึงเป็นหนทางที่จะทำให้บุคคลสามารถเข้าใจพฤติกรรมและความรู้สึกของตนเองได้ดีขึ้น

Satir - แผนที่ครอบครัว

            แผนที่ครอบครัว (Family Map) มีลักษณะคล้ายกับ Genogram ของ Murray Bowen เป็นแผนที่ที่ทำให้เห็นภาพโครงสร้างของครอบครัวอย่างน้อย 3 รุ่น คือ รุ่นปู่ย่า-ตายาย รุ่นพ่อแม่ และรุ่นครอบครัวปัจจุบันของผู้รับการบำบัด ผู้บำบัดจะเป็นผู้สัมภาษณ์ผู้รับการบำบัดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและเรื่องราวในชีวิต ซึ่งจะครอบคลุมรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับสมาชิกทั้งสามรุ่น เช่น ชื่อ อายุ จำนวนบุตร ศาสนา อาชีพ สัมพันธภาพระหว่างครอบครัว ความรู้สึกที่แต่ละคนมีต่อกัน ตลอดทั้งกฏระเบียบ ความเชื่อ และ เหตุการณ์สำคัญ ๆ ในชีวิต

Satir - ความเชื่อพื้นฐาน

การทำจิตบำบัดนั้นมีมานมนานตาปี มีมากมายหลายวิธีหนักหนา ทั้งนี้เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบไปด้วยกายและใจ การเจ็บป่วยจึงเกิดขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ ไม่ป่วยกายก็ป่วยใจ หรืออาจเกิดพร้อมกันทั้ง 2 ส่วนก็ได้ Satir Model เป็นจิตบำบัดแนวหนึ่งที่เกิดขึ้นในระยะหลังซึ่งค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพสูง จนได้รับความนิยมอย่างมาก