วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Reframing

การเปลี่ยนกรอบหรือ Reframing ในเอ็นแอลพีนั้นประกอบไปด้วย 

Context Reframing ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนหัวเรื่องหรือชื่อเรื่อง เช่นคุณเคยตกน้ำเกือบตายก็เปลี่ยนเป็นคุณมีประสบการณ์เกี่ยวกับน้ำที่โลดโผนสุดๆ ไปเลย

Content Reframing ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนเนื้อหาของเรื่องราว เช่นคุณเคยตกน้ำเกือบตายก็เปลี่ยนเป็นคุณเองนี่แหละเลือกที่จะกระโดดลงไปในน้ำ

วิธีการทั้ง 2 นี้มันดีต่างกรรมต่างวาระกัน จะเลือกใช้แบบใหนมันขึ้นอยู่กับว่าตำแหน่งของปัญหานั้นมันอยู่ที่ตรงไหน และวิธีการใดจึงจะเหมาะสมที่สุด





ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด

Frame

สมมุติว่าผมเอาภาพวาดของปีกัสโซมาหนึ่งภาพ มูลค่าหลายร้อยล้านบาทอยู่ ผมเสกให้ภาพนี้แยกออกเป็นสองภาพที่มีทุกรายละเอียดเหมือนกันหมด

ภาพแรกผมเอาไปใส่กรอบไม้ถูกๆ ชนิดที่ดูก็รู้แล้วว่าไม่กี่ร้อย จากนั้นก็เอาไปตั้งขายที่ตลาดท้ายรถซักที่ คุณคิดว่าภาพนี้จะขายได้ในราคาซักกี่ร้อยกี่พันบาท?

ส่วนภาพที่สองผมเอาไปใส่กรอบที่หรูหราราคาแพงที่สุดเท่าที่จะหาได้ แล้วนำไปวางขายในสภาบันประมูลงานศิลปะที่ดีที่สุดในยุโรป คุณคิดว่าภาพนี้จะมีมูลค่าซักกี่ร้อยหรือกี่พันล้านบาท?

ทั้งๆ ที่ภาพทั้งสองนี้โดยสาระก็คือภาพเดียวกัน มีรายละเอียดที่เหมือนกันทุกอย่าง แต่เมื่อเปลี่ยนกรอบ เปลี่ยนสถานที่ตั้ง คุณค่าของมันก็จะถูกเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

สำหรับการรับรู้ต่อเหตุการณ์ของมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้จะเป็นเหตุการณ์เดียวกันแต่ถ้าองค์ประกอบแวดล้อมอื่นๆ เปลี่ยนไป สภาพอารมณ์ที่ตอบสนองก็จะเปลี่ยนไป

องค์ประกอบแวดล้อมของการรับรู้นี่แหละครับที่เรียกว่า

" Frame " ส่วนการเปลี่ยนองค์ประกอบการรับรู้นั้นเรียกว่าการ " Reframing "






ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด

วันพุธที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บทย่อของ Anchoring


สมมุติว่าวันนี้คุณตบมือแล้วก็จินตนาการถึงความรู้สึกดีใจจนกระทั่งไปถึงสภาวะ Peak State ใช้เวลาไป 60 วินาที ครั้งต่อไปคุณตบมือแล้วก็จินตนาการถึงความรู้สึกดีใจจนกระทั่งไปถึงสภาวะ Peak State คราวนี้ใช้เวลาไป 55 วินาที และเมื่อคุณฝึกครั้งต่อไปมันก็เหลือ 50 วินาที และเมื่อต่อไปเรื่อยๆ เวลามันก็ลดลงเรื่อยๆ กลายเป็น 45, 40, 35 ลดลงไปเรื่อยๆ ตามลำดับ

เวลาระหว่างการตบมือและสภาวะ Peak State ของคุณลดลงไปเรื่อยๆ และในท้ายที่สุดเมื่อคุณตบมือ Peak State ก็เกิดขึ้นในทันที!

ทั้งหมดนี้แหละคือบทสรุปของสิ่งที่เรียกว่าการทำ Anchoring ใน NLP ล่ะครับ


ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด


วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การสื่อสารที่ผิดพลาด

การสื่อสารที่ผิดพลาดเป็นอย่างไร?


ป้าๆ ข้าวกระเพราไก่ไข่ดาวสอง ....ที่คุณต้องการคือข้าวกระเพราไก่ไข่ดาวสองจาน แต่สิ่งที่คุณได้คือข้าวกระเพราไก่หนึ่งจานกับไข่ดาวสองใบ


นี่แหละคือการสื่อสารที่ผิดพลาด


สำหรับ NLP แล้วการสื่อสารไม่ใช่เรื่องของวิธีการ แต่เป็นเรื่องของผลที่คุณได้รับต่างหาก




ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด

Mind Reading


สำหรับเอ็นแอลพีแล้วคำว่า Mind Reading ที่แปลกันอย่างตรงตัวว่าการอ่านใจนั้นมันไม่ได้หมายถึงความสามารถเหนือธรรมชาติในทำนองของการอ่านจิตใจหรือล่วงรู้ถึงความคิดของผู้อื่นแต่อย่างใด แต่มันหมายถึงการที่ใครบางคนกำลังล่วงละเมิดความคิดหรือความรู้สึกของคนอื่นอยู่ต่างหาก

หรือถ้าจะว่ากันง่ายๆ ก็คือการวุ่นวายไปคิดแทนคนอื่นนั่นเอง

เอ็นแอลพีไม่ได้มองว่า Mind Reading มันจะมีประโยชน์ตรงไหนเลยนอกจากปัญหายุ่งยากต่างๆ จะตามมาถ้าหาก Mind Reading ที่เกิดขึ้นมันเป็นไปอย่างไม่สร้างสรรค์

เพราะฉะนั้น จงฝึกให้ชิน

" อย่างคิดแทนคนอื่น "

เพราะคุณไม่ใช่เขา คุณไม่มีประสบการณ์เช่นเดียวกับเขา

"เพราะเขาและคุณเป็นคนละคนกัน"

ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด



วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

Anchor


คำว่า Anchor นอกจากจะหมายถึงสมอเรือแล้วยังหมายถึงการทำอะไรซ้ำๆ ตอกย้ำกันบ่อยๆ ซึ่งผลที่ได้ก็คือเราจะสามารถทำสิ่งนั้นได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และป็นอัตโนมัติยิ่งขึ้น ซึ่งผลจาก Anchor นีเราเรียกมันง่ายๆ ว่า "ความเคยชิน"

ลอกนึกถึงวันที่คุณยังขับรถไม่เป็นแล้วเพิ่งหัดขับรถแรกๆ ซิว่ามันยุ่งยากขนาดไหน แต่พอขับไปทุกวันๆ ก็เกิดเป็นความเคยชิน ทำให้อะไรๆ ที่เคยยุ่งยากมันรวดเร็ว ง่ายดาย และเป็นอัตโนมัติไปหมด นี่ก็คือผลของ Anchor หรือการทำสิ่งเดิมซ้ำ

สำหรับเทคนิค Anchoring ใน NLP สาระสำคัญของมันก็คือการสร้าง Anchor หรือ "ความเคยชิน" นี่แหละ คือทันทีที่คุณทำสิ่งหนึ่งมันก็เคยชินที่จะเกิดอีกสิ่งหนึ่งขึ้นในทันที


ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด


วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

The Resource


จิตใจของใครจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับ Resource หรือทรัพยากรที่เก็บสะสมอยู่ในตัวของแต่ละคน ถ้าคุณมี Resource ที่สร้างสรรค์เก็บเอาไว้เยอะ เวลาเผชิญกับเหตุการณ์ใดก็ตามสมองและระบบประสาทของคุณก็มีแนวโน้มที่จะตอบสนองด้วยความสร้างสรรค์ มันเหมือนกับการคุณเป็นพ่อครัวแล้วคุณเก็บแต่วัตถุดิบดีๆ เอาไว้ เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องปรุงอาหารคุณก็จะมีของดีๆ เอาไว้ทำอาหารดีๆ

ดังนั้นเมื่อต้องแข่งขันกันไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมก็ตามคุณจึงได้เปรียบกว่าคนที่ไม่มี Resource ดีๆ เก็บเอาไว้เท่ากับที่คุณมี

NLP เป็นเรื่องของการฝึกให้คุณเก็บแต่ Resource ดีๆ เอาไว้ในตัว

Resource ที่ว่าก็คือ "ประสบการณ์" ของแต่ละคนนั่นเอง





Associate และ Disassociate

การ Associate หมายถึงการที่ระบบประสาทของคุณเข้าร่วมกับเหตุการณ์หรือประการณ์บางอย่าง ในขณะที่การ Disassociate หมายถึงการที่คุณถอยห่างออกมาเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์

เช่นถ้าคุณกำลังตบหรือนึกถึงประสบการณ์ที่เคยตบกับแม่ค้าในตลาด นี่หมายถึงการที่คุณกำลัง Associate ตัวเองเข้ากับเหตุการณ์นั้นอยู่ ในขณะที่การ Disassociate นั้นหมายถึงคุณเป็นเพียงแค่เฝ้ามองหรือจินตนาการว่ากำลังเฝ้ามองเหตุการณ์แม้ค่าตบกันในตลาด

แน่นอนว่าการ Associate และ Disassociate นั้นย่อมให้ผลลัพธ์ที่เป็นสภาพอารมณ์ที่แตกต่างกันถึงแม้ว่ามันจะเป็นเหตุการณ์เดียวกันก็ตาม

เมื่อคุณกำลังรู้สึกแย่กับความทรงจำของประสบการณ์ใดก็ตาม

"จง Disassociate มัน"






"The True Hypnosis"


"The True Hypnosis"

การสะกดจิต (Hypnosis) ไม่ใช่เรื่องของการ "ลบ" หรือ "แก้ไข" ข้อมูลใดๆ ในจิตใต้สำนึก เพราะสิ่งเหล่านั้นไม่สามารถทำได้ ......

หากแต่เป็นเทคนิคที่ว่าด้วยการสร้างการ "เรียนรู้ใหม่" ให้กับการรับรู้ในระดับของ "จิตสำนึก" และ "จิตใต้สำนำนึก"

.... เพื่อที่การเรียนรู้ใหม่ที่เกิดนี้จะได้เป็น Resourceful หรือทรัพยากรที่สำคัญในการะบวนการทำงานของสมองและระบบปนะสาท (หรือจิตใจ) ของเราต่อไป




วันอาทิตย์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ภาพจากงานอบรม The Fundamental of Hypnosis and NLP รุ่นที่ 3 ปี 2555


ภาพจากงานอบรม The Fundamental of Hypnosis and NLP รุ่นที่ 3 ปี 2555
วันเสาร์ที่ 5 และอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม 2555 ณ. The Counseling and Hypnotherapy Center (CHC) สุขมวิท 64