วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Ericksonian Hypnosis

การสะกดจิตแบบดั้งเดิม (Tradition Hypnosis) และการสะกดจิตแบบอีริคสัน (Ericksonian Hypnosis) ต่างกันอย่างไร?

มันต่างกันตรงที่

การสะกดจิตแบบดั้งเดิมนั้นเชื่อว่าคนบางจำพวกสามารถรับการสะกดจิตได้ และคนบางจำพวกไม่สามารถรับการสะกดจิตได้ ในขณะที่การสะกดจิตในแนวทางของดร.อีริคสันนั้นเราระบุอย่างชัดเจนว่า "ทุกคน" สามารถรับการสะกดจิตได้หากคนๆ นั้นมีเงื่อนไขที่พร้อมสำหรับการรับการสะกดจิต

ทั้งนี้ก็เพราะว่าการสะกดจิตในแนวทางของดร.อีริคสันนั้นไม่ใช่เรื่องของการเข้าไปแก้ไขหรือยุ่งอะไรกับจิตใต้สำนึกของใคร หากแต่เป็นเรื่องของการ "เรียนรู้" (Learning) ที่เกิดขึ้นในระดับของจิตใต้สำนึก

ซึ่งมนุษย์ทุกคนเกิดมาเพื่อเรียนรู้ และทุกคนก็สามารถเรียนรู้ได้ หากเงื่อนไขปัจจัยนั้นเอื้ออำนว

(หมายเหตุ - แน่นอน การสะกดจิตที่ใช้กันใน NLP เป็นการสะกดจิตที่ได้รับการเรียนรู้และถอดแบบมาจาก ดร.มิลตัน เอช อีริคสัน บิดาแห่งเทคนิคการสะกดจิตสมัยใหม่ที่เรียกว่า Ericksonian Hypnosis)








ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด


สิ่งที่ผู้คนกล่าวออกมา


มันไม่สำคัญหรอกว่าจริงๆ แล้วใครจะเป็นอย่างไร ของสิ่งนั้นจะคืออะไร หรือเหตุการณ์ต่างๆ จะมีรายละเอียดแบบไหน ทั้งหมดมันสำคัญแค่ว่าคุณมีภาพในใจของสิ่งนั้นๆ อย่างไร สรุปง่ายๆ ก็คือคุณคิดว่ามันเป็นอย่างไรทุกสิ่งมันก็เป็นอย่างนั้น

และเมื่อคุณมีภาพในใจต่อสิ่งต่างๆ เป็นอย่างไร เมื่อคุณสื่อสารถึงสิ่งนั้นคุณก็ย่อมถ่ายทอดมันออกมาตามรูปแบบที่มันมีอยู่ในใจของคุณ ถ้าคุณคิดว่าทะเลสวยคุณจะมีถ้อยคำใดเลยที่จะตำหนิติเตียนความไม่สวยงามของทะเล ถ้าคุณคิดว่าคนๆ นั้นเป็นคนเลวคุณก็จะไม่มีวันที่จะกล่าวถ้อยคำชมเชยคนๆ นั้นออกมาเลยแม้แต่น้อย

คุณคิดว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร คุณก็ย่อมที่จะกล่าวถึงสิ่งนั้นตามกรอบการรับรู้ของคุณ

และนี่ก็คือสาเหตุที่ว่าทำไม Meta Model จึงสามารถค้นหาทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม หรือความบิดเบือนในการรับรู้ประสบการณ์บางประการที่กำลังก่อปัญหาอยู่ในจิตใจของใครบางคนโดยผ่านทางถ้อยคำต่างๆ ที่เขากำลังสื่อสารออกมาถึงสิ่งนั้นๆ 

ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด


วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาพจากงานอบรม The Fundamental of Hypnosis and NLP รุ่นที่ 5 ปี 2555


ภาพจากงานอบรม The Fundamental of Hypnosis and NLP รุ่นที่ 5 ปี 2555


วันเสาร์ที่ 14 และอาทิตย์ที่ 15 กรกฏาคม 2555 ณ. The Counseling and Hypnotherapy Center (CHC) สุขมวิท 64


Crossroad


ชีวิตของคนเรามันเต็มไปด้วยทางแยกที่คุณต้องเลือกเอาซักทางนึง ผมพูดตรงๆ ไม่ว่าคุณจะเลือกทางใดก็ตามมันไม่ใครตรัสรู้ได้หรอกครับว่าทางที่คุณจะเลือกต่อไปนี้มันจะนำไปสู่ผลลัพธ์อะไรบ้าง ที่ว่าสวยเท่าสวยมันพาไปลงขุมนรกกันเสียตั้งเท่าไหร่แล้ว ที่ว่าเป็นทางลำบากแสนสาหัสเป็นความมืดไม่เห็นปลายทางเอาเข้าจริงๆ มันเป็นทางที่จะนำไปสู่ขุมทรัพย์เสียก็มาก

สรุปก็คือคุณไม่มีวันรู้หรอกจนกว่าผลลัพธ์ทั้งหมดมันค่อยๆ เผยตัวเองออกมา



ดังนั้นจึงไม่แปลกถ้าคุณจะรู้สึกอึดอัด หรือสึกวิตก รู้สึกหวาดกลัวเมื่อคุณอยู่ในสภาวะที่คุณจะ "ต้อง" เลือก ทั้งนี้เพราะคุณเองก็ไม่สามารถรู้แน่ชัดได้จริงๆ ว่าการเลือกของคุณจะนำไปสู่เรื่องราวแบบใดผลลัพธ์แบบไหน

วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ก่อนการสะกดจิตบำบัด

ว่าด้วยเรื่องการเตรียมตัวก่อนเริ่มต้นการสะกดจิตบำบัด (Hypnotherapy)



ส่วนหนึ่งจากงานอบรมหลักสูตร The Fundamental of Hypnosis-NLP
วันที่ 14-15 ก.ค. 2555

ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด


Anchoring

กำลังพูดถึงเรื่องของวงจรของอารมณ์อันจะนำไปสู่การฝัง Anchoring ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งของ NLP ครับ






ส่วนหนึ่งจากงานอบรมหลักสูตร The Fundamental of Hypnosis-NLP
วันที่ 14-15 ก.ค. 2555


ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด


การรู้คุณค่าในตนเอง

ว่าด้วยการ "รู้คุณค่าในตนเอง"




ส่วนหนึ่งจากงานอบรมหลักสูตร The Fundamental of Hypnosis-NLP
วันที่ 14-15 ก.ค. 2555


ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด





SelfHypnosis

การสะกดจิตตัวเอง และการทำ Affirmation อีกนิดหน่อย



ส่วนหนึ่งจากงานอบรมหลักสูตร The Fundamental of Hypnosis-NLP
วันที่ 14-15 ก.ค. 2555

ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด

ชีวิตในสองมิติ

เราใช้ชีวิตอยู่ในโลกที่มี2มิติ คือมิติของความ “สัมพันธ์” ซึ่งเป็นเรื่องของการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ความเป็นครอบครัว ความให้และรับโดยปราศจากการหวังผลประโยชน์ซึ่งหน้า ความมีน้ำใจ ความยึดหยุ่นผ่อนคลายซึ่งมีให้ต่อกัน และอีกมิติหนึ่งเรียกว่ามิติของ “ผลประโยชน์” ซึ่งเป็นเรื่องของกำไรขาดทุน ความคุ้มค่า ผลประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ การเปรียบเทียบ ความชัดเจนแน่นอน



Stage Show

การสะกดจิตแบบ Stage Show นั้นเป็นการแสดง ดังนั้นหัวใจของการสะกดจิตแบบ Stage Show จึงต่างไปจากการสะกดจิตบำบัด (Hypnotherapy) อยู่พอสมควร 

การสะกดจิตแบบ Stage Show จะไม่เน้นหรือไม่ให้ความสำคัญว่าผู้รับการสะกดจิตจะเข้าสู่ภวังค์หรือไม่ (แทบจะไม่สนเลยด้วยซ้ำ) หากแต่จะให้ความสำคัญไปที่ “การยอมรับคำสั่ง” ของผู้รับการสะกดจิตมากที่สุด 

ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้จุดสำคัญของมันจะอยู่ที่การ Pre Talk นั่นเอง

ถ้าคุณนึกไม่ออกว่า “การยอมรับคำสั่ง” ของ Stage Show เป็นอย่างไร ขอให้นึกถึงตอนที่เพื่อบ้านของคุณเอาขนมที่เขาทำมาให้คุณชิม ความจริงแล้วขนมรสชาติแย่มาก แต่อย่างไรเสียคุณก็ต้องยิ้มแล้วชมไปว่าอร่อย ทั้งๆ ที่ความจริองแล้วเขาไม่ได้บังคับให้คุณชมขนมเขาซักหน่อย

คุณเพียงแต่ตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขบางอย่าง (สังคม มารยาท จริยธรรม การต้องการได้รับการบอมรับ การหลีเลี่ยงปัญหากระทบกระทั่ง บลาๆๆ) ซึ่งมันได้ทำให้คุณสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองไปชั่วขณะ

นั่นแหละครับคือทั้งหมดของ Stage Show ล่ะ



ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด



Presupposition

Presupposition ใน Meta Model หมายถึงถ้อยคำที่ถูกกล่าวในลักษณะคาดการล่วงหน้า เช่น 



  • "สิ้นปีนี้ผมถูกไล่ออกแน่ๆ" 
  • "ลูกฉันสอบเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ ไม่ได้แน่"
  • "ร้านนี้ไม่อร่อยแน่ๆ"

อะไรที่ตามมาด้วยแน่ๆ เอาเข้าจริงแล้วมักจะมาจากความไม่แน่ คำพูดลักษณะ Presupposition นี้แสดงออกถึงการคาดการล่วงหน้าในอนาคตที่ยังมาไม่ถึงและเจ้าตัวเองก็ยอมรับต่อสิ่งเขาคาดการราวกับว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาแล้วหรือจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนทั้งที่ความจริงแล้วเขาก็ยังไม่ได้รู้อะไรเลยเกี่ยวกับสิ่งที่เขาคาดหมายเอาไว้

และความคิดที่เป็น Presupposition ที่แสดงผ่านออกมาทางภาษาพูดนี้ย่อมส่งผลต่อจิตใจของพูดอย่างแน่นอนหากเรื่องราวนั้นกำลังปัญหาบางอย่างต่อเจ้าตัว

สำหรับการใช้คำถาม Meta Model ในการจัดการกับ Presupposition นี้เราอาจจะใช้คำถามที่ว่า 




  • "คุณรู้ได้อย่างไรว่ามันจะเป็นอย่างนั้นแน่" 
  • "อะไรที่ทำให้คุณแน่ใจว่ามันจะเป็นอย่างนั้น" 
  • "คุณมีญาณหยั่งรู้วิเศษหรือถึงได้รู้ว่ามันจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ"

ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด





การสะกดจิตลบความทรงจำ? (Q&A)

Q : เราสามารถใช้ NLP หรือ Hypnosis (สะกดจิต) ลบความทรงจำแย่ๆ บางอย่างในอดีตได้หรือไม่ ?

A : ถ้าว่ากันตามทฤษฏีแล้ว ความทรงจำเกี่ยวกับประสบการณ์ใดก็ตามไม่สามารถทำให้ลบเลือนหรือลืมไปได้ด้วยเทคนิค NLP หรือ Hypnosis (สะกดจิตใดก็ตาม) เพราะเมื่อสมองของเราได้รับรู้กับเหตุการณ์ใดก็ตามมันจะสร้างเส้นใยประสาทความจำ(ซินแน็ป)ขึ้นมาสำหรับบันทึกเรื่องราวเหล่านั้นเอาไว้ ตราบใดก็ตามที่เส้นใยประสาทส่วนความจำนี้ไม่ได้เสียหาย (เช่นเสื่อสภาพ เป็นโรค ติดเชื้อ หรือ ถูกกระทบกระเทือน) ความจำนั้นก็จะไม่มีวันลืมหายไปจากสมองเราครับ

แต่ในทางปฏิบัตินั้นเราสามารถทำให้ระบบประสาทของเรายอมรับ ให้อภัย หรือวางเฉยต่อประสบการณ์นั้นได้ ซึ่งเทคนิค NLP ก็ดี หรือเทคนิค Hypnosis ก็ดีที่เขาว่ากันว่าสามารถทำให้ลืมความทรงจำหรือลืมประสบการณ์ในอดีตได้ความจริงแล้วก็คือการทำให้ยอมรับ ให้อภัย หรือวางเฉยต่อประสบการณ์นั้นทั้งสิ้นครับ (ไม่ได้ทำให้ลืมประสบการณ์นั้นไปจริงๆ) 

สำหรับวิธีการนั้นสามารถทำได้หลายวิธีการด้วยกัน ยกตัวอย่างเช่น

+ การฝึกกล่าวให้อภัยและขอบคุณต่อเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นบ่อยๆ (Context Reframing ทัศนคติของเราเสีย) เพราะเราเปลี่ยนเหตุการณ์ในอดีตไม่ได้แต่เราเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อมันได้


+ การฝึกจินตนาการย้อนกลับนั่งมองจินตนาการนั้นในลักษณะที่เป็น Disassociate (ผู้สังเกตุการณ์) แล้วแก้ไข Sub-Modality ของภาพหรือเสียงประสบการณ์ที่กำลังมองเห็น เช่นแก้ไขภาพความทรงจำเป็นสีขาวดำมัวๆ เล็กๆ จนในที่สุดก็จางหายไป ฝึกทำบ่อยๆ ทุกวันประสบการณ์ที่เป็น ResourceFul ตัวนั้นก็จะถูกลดความสำคัญลงไปเอง


+ การฝึกเชื่อโยงอารมณ์โดยการสลับอารมณ์ (Swish Pattern) เช่นพอนึกถึงประสบการณ์เก่าๆที่อยากลืมก็ให้สลับไปภาพเป็นประสบการณ์อื่นที่สร้างสรรค์กว่าแทน (ตอนเปลี่ยนอย่าลืมทำอะไรที่มัน Extrem ซักหน่อยจะได้กระตุ้นการสร้าง Resourceful ใหม่ของเรา)


+ หรือไม่ก็สละเวลา (และค่าใช้จ่ายเล็กน้อย) เข้ารับคำปรึกษาเพื่อวิเคราะห์หาปมปัญหาที่แท้จริงในเชิงบุคลิกภาพและรับการสะกดจิตบำบัด (Hypnotherapy) จากนักจิตวิทยาผู้เชื่ยวชาญครับ ....อันนี้ง่ายที่สุด

ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อิทธิพลของการเปรียบเทียบ





ภาพวงกลมทั้ง A และ B นั้นความจริงเท่ากัน แต่สิ่งที่ไม่เท่ากันก็คือสิ่งที่มันกำลังถูกเปรียบเทียบ เมื่อ A ถูกเปรียบเทียบกับสิ่งที่เล็กกว่ามันมากคุณจึงมองเห็นถึงความใหญ่โตของมันได้อย่างโดดเด่น ในขณะที่ B นั้นอยู่ท่ามกลางสิ่งที่ใหญ่กว่า ดังนั้นมันจึงถูกสิ่งที่อยู่รอบๆ กดดันให้เรามองเห็นความเล็กของมันอย่างชัดเจน

ผมกำลังจะบอกอะไรกับคุณ