วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ลับดับขั้นตอนการเรียนรู้ (Step of Learning)

มนุษย์ใช้เวลาทั้งชีวิตในการในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ การเรียนรู้บางอย่างก็อยู่ในระดับจิตสำนึกในขณะที่การเรียนรู้บางอย่างก็ลงลึกลงไปในระดับจิตใต้สำนึก ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและปัจจัยทั้งที่เป็นส่วนของตัวของผู้เรียนรู้เองและเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ที่เกิดนั้นว่ามันเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในระดับไหน

สำหรับ NLP เราแบ่งแยกการขั้นตอนเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็นสามช่วงด้วยกัน คือ
  1. Unlearning หรือภาวะที่ยังไม่เรียนรู้ต่อสิ่งนั้นๆ เช่นถ้าคุณไม่เคยเดินเหยียบหนามมาก่อนคุณก็จะไม่มีวันรู้ว่าการเดินเหยียบหนามนั้นมันเจ็บขนาดไหน
  2. Learning หรือภาวะช่วงขณะที่กำลังเรียนรู้ซึ่งก็ทำให้เกิดการเรียนรู้ เช่นเดินเหยียบหนามไปแล้วจึงรู้ว่ามันเจ็บ ซึ่งจะนำมาสู่ความรู้ที่ว่าเมื่อเดินเท้าเปล่าเราควรระวัง หรือเราไม่ควรเดินถอดรองเท้า หรือเมื่อถูกหนามตำเท้าเราควรเอาหนามออก หรืออะไรอื่นๆ อีกสุดแท้แต่รายละเอียดของเหตุการณ์นั้นๆ
  3. Relearning หรือการเรียนรู้ซ้ำ เช่นในวันหนึ่งเราเดินเท้าเปล่าแล้วหนามก็ตำเท้าอีก กระบวนการนี้ทำให้เกิดการย้ำข้อมูลลงไปในระบบประสาทของเราว่า เราไม่ควรจะเดินเท้าเปล่าเป็นอันขาด ยิ่งเกิดการเรียนรู้ซ้ำมากขึ้นเท่าไหร่ปริมาณข้อมูลเรื่องนั้นๆ ก็ยิ่งเข้มข้นและฝังตัวลงลึกลงไปในจิตใต้สำนึก
เรื่องลำดับขั้นตอนทั้งสามนี้บอกกับเราว่า คนเรานั้นหากยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการเรียนรู้มากก่อน สิ่งนั้นๆ ย่อมไม่มีอยู่ในหัวของเขาเลย (อยู่ในขั้นตอน Unlearning) ดังนั้นจึงเป็นไม่ได้เลยที่เราหรือใครก็ตามจะบอกให้เขาเข้าถึงสภาวะแห่งการรู้ในสิ่งนั้นได้ เช่นสำหรับคนที่ไม่เคยได้รับชัยชนะเลย มันเป็นไม่ได้ที่ใครก็ตามจะมาปลุกเร้าให้เขาเข้าถึงสภาพอารมณ์หรือความรู้สึกแห่งผู้มีชัยชนะได้

ดังนั้นเพื่อที่จะไปให้ถึงจุดๆ นั้นเราจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างเรียนรู้ต่อสิ่งนั้นขึ้นมาก่อนเพื่อให้เขา (ผู้รับการบำบัด) ผ่านกระบวนการ Learning เสียก่อน เช่นใช้เทคนิค Visualize สร้างประสบการณ์จำลองเพื่อให้เขาได้เรียนรู้ถึงความรู้สึกของผู้มีชัยชนะ เมื่อผ่านกระบวนการเรียนรู้นี้แล้วความรู้สึกหรือสภาพอารมณ์ของผู้มีชัยชนะจะไม่ใช่ความว่างเปล่าหรือปริศนาดำมืดในความรับรู้ของเขาอีกต่อไป

ซึ่งนี่ก็จะเป็นบันไดก้าวแรกที่จะนำไปสู่ขั้นตอนของการเรียนรู้ซ้ำหรือ Relearning เพื่อสร้างความแน่นหนามั่นคงให้กับสภาพอารมณ์ที่เป็นบวกนั้นๆ จนผู้รับการบำบัดสามารถนำเอาสภาพอารมณ์ที่เป็นบวกนี้ไปใช้ในการพัฒนาความสำเร็จของตัวเองในลำดับต่อๆ ไป 

ในโลกนี้ไม่มีความล้มเหลว

ในโลกนี้ไม่มีความล้มเหลว มีแต่ผลที่รับรับเท่านั้น หลักการข้อนี้ของเอ็นแอลพีนั้นง่ายและตรงไปตรงมามาก สำหรับเอ็นแอลพีแล้วความรู้สึกล้มเหลวใดๆ ก็ตามไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริง เพราะมันเป็นเพียงความรู้สึกหรือสภาพอารมณ์ที่ถูกระบบประสาทสร้างขึ้นมาเท่านั้น และก็ดังที่กล่าวไปแล้วว่าแผนที่นั้นย่อมไม่ใช่พื้นที่จริง ดังนั้นสำหรับเหตุการณ์เดียวกันนี้หากเป็นบุคคลอื่นที่มีกลไกการตีความหมายแตกต่างออกไปเขาก็อาจจะไม่ได้ตีความหมายว่าเป็นการล้มเหลวก็ได้

ตัวอย่างเช่นถ้าวันนี้เราไปยืนขายแซนวิทอยู่หน้าตึกสำนักงานซักแห่งหนึ่ง จากเวลาห้าชั่วโมงคือตั้งแต่ตีห้ายันเก้าโมงเช้า แซนวิทห้าสิบชิ้นเราขายไปได้เพียงห้าชิ้นเท่านั้น แบบนี้เราความรู้สึกล้มเหลวก็อาจจะถูกสร้างขึ้นมาในระบบประสาททำให้เรารู้สึกท้อแท้ผิดหวัง เกิดความคิดว่าไม่เอาอีกแล้ว เสียเวลาแล้ว ไปหาอย่างอื่นทำดีกว่า ยืนขายตั้งนาน ได้แค่ห้าชิ้นซึ่งในความเป็นจริงแล้วเหตุการณ์ก็มีเพียงว่าวันนี้ใช้เวลาห้าชั่วโมงไปกับการขายแซนวิชไดดห้าชิ้น สำหรับเหตุการณ์ในวันพรุ่งนี้นั้นมันยังไม่เกิดขึ้น ไม่มีใครรู้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป อาจจะขายได้น้อยลง ขายได้เท่าเดิม หรือขายหมดเกลี้ยงตั้งแต่ชั่วโมงแรกก็ได้ใครจะไปรู้
และในเหตุการณ์เดียวกันนี้คนอื่นอาจจะมีสภาพอารมณ์และความคิดที่แตกต่างออกไป อาจจะตีความหมายว่าวันแรก ขายได้ตั้งห้าชิ้นถือว่าเป็นการประสบความสำเร็จก้าวของธุรกิจเล็กๆ ก็ได้อีกเหมือนกัน



ดังนั้นถ้าเกิดวันใดก็ตามที่เรารู้สึกว่าล้มเหลวในเรื่องใดก็ตาม ขอให้ทราบทันทีเลยว่า มันเป็นเพียงแต่สภาพอารมณ์ที่เป็นผลมาจากการตีความของโปรแกรมในระบบประสาทของเราเท่านั้น เพราะในความเป็ยจริงแล้ว ความล้มเหลว ...“มันไม่มีจริง”


Murray Bowen - Triangles (สามเส้า)

            “ที่ใดก็ตามที่มีคนตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ย่อมมีการเมืองที่นั่น”

            Triangles หรือ สามเส้า นั้นหมายถึง ระบบครอบครัวที่เชื่อมบุคคล 3 คนเข้าด้วยกัน โดยเน้นถึงความผูกพันทางอารมณ์ทั้งทางบวกและทางลบ

เมื่อสมาชิกในครอบครัว 2 คน (ต่อไปนี้จะเรียก A และ B) เกิดความบาดหมางทางใจกันขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แล้ว A พยายามดึงสมาชิกครอบครัวคนที่ 3 (ต่อไปนี้จะเรียก C) ไปเป็นพวก (ซึ่งอาจเกิดจากสภาวะ Fusion) เพื่อให้สถานะและความรู้สึกของตนเองนั้นมั่นคงมากขึ้น เมื่อนั้นสามเส้าก็จะเกิดขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ฉันและเธอ

ตอนที่ผมซ้อมบลาซิเลี่ยน-จูจิตซึ ในบางวันที่อากาศสบายๆ บางทีตอน Roll (ซ้อมปล้ำต่อสู้กันแบบฟรีสไตล์) ก็อาจจะมีการแอบกระซิบกระซาบกันว่า "วันนี้ขอชิวๆ สบายๆ แค่ 50% ก็พอนะ"

แล้วก็ขอให้มั่นใจเถอะว่าไม่ว่าพวกเราจะรับปากกันเป็นมั่นเป็นเหมาะแค่ไหนก็ตาม ตอน Roll กันจริงๆ มันจะอัดกันหมดแม๊กซัดกันแหลกทุกที



และขอให้เชื่อเถอะว่า พอจบ Roll แล้วถ้าเราไปถามว่าทำไมแกเล่นหนักจังวะ ไหนบอกว่าเบาๆ

คำตอบที่ได้รับทุกครั้งก็คือ "ก็มึงนั่นแหละเล่นกูหนักก่อน"

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่พบได้บ่อย ทั้งๆ เราก็มั่นใจนะว่า 50% แล้วนี่หว่า

คำถามก็คือมันเกิดอะไรขึ้น เราเล่นหนักจริงๆ (ทั้งที่มันใจว่าเบาแล้ว) หรือเพื่อเรามันบ้าพลังไปเอ

ความจริงเรื่องนี้มันมีคำอธิบายในเชิงจิตวิทยาอยู่เหมือนกัน

คือเคยมีการทำลองให้คนสองคนผลัดกันออกแรงกดไปที่อีกฝ่าย โดยให้กดด้วยความแรงเท่ากับที่เขากดเราในครั้งก่อน ผลปรากฏว่าแรงที่ใช้ในการกดมันจะแรงขึ้นเรื่อยๆ ครับ ชนิดที่ว่าถ้ายังผลัดกันออกแรงกดอย่างนี้กันต่อไปเรื่อยๆ มีหวังว่าได้ชกกันแน่ๆ

ย้อนกลับมาที่คำถามเดิมคือมันอะไรขึ้น?

คำอธิบายสำหรับเรื่องนี้มีอยู่ว่า ระบบประสาทของเรามีแนวโน้มจะตอบสนองต่อการกระทำของตัวเองน้อยกว่าปรกติ ในขณะที่มีแนวโน้มที่จะตอบสนองต่อการกระทำของคนอื่นจะมีมากกว่าปรกติด้วยเช่นกัน

มันเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราจึงจั๊กกะจี้ตัวเองแล้วไม่ค่อยรู้สึกเท่าถูกคนอื่นจั๊กกะจี้ทั้งๆ ที่พยามทำแบบเดียวกันด้วยความแรงที่เท่ากันแล้วแท้ๆ

ความจริงแล้วกลไกทางประสาทนี้ธรรมชาติออกแบบให้เราใช้สำหรับการป้องกันตัว เมื่อระบบประสาทตอบสนองต่อภายนอกมากกว่าปรกติ (คือโอเวอร์แอ๊คชั่นเข้าไว้) ความฉับไวในการตอบสนองต่ออันตรายต่างๆ จึงเกิดประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น

แต่กลไกนี้ก็ดูเหมือนว่าจะก่อปัญหาให้กับเราได้อยู่เหมือนเมื่อเราอยู่ในบริบทของสังคมแบบเมืองๆ

ผมสรุปง่ายๆ ว่ามันทำให้เราเห็นแก่ตัวโดยไม่รู้ตัว

บางทีเราอาจจะรู้สึกรำคาญเวลาคนข้างห้องมาเคาะประตูบอกว่าเราส่งเสียงดังเกินไปทั้งๆ ที่เรารู้สึกว่ามันก็ไม่ได้ดังอะไรมากมากมายเสียหน่อย หรือเราอาจจะรู้สึกว่ามันก็ไม่น่าจะเป็นอะไรเพียงเพราะยืนพิงเสาในขบวนรถไฟฟ้า

บางทีเราอาจจะคิดว่าคนรอบๆ ตัวเรานี่ช่าง "เยอะ" เสียเหลือเกิน นิดหน่อยก็ไม่ได้

นั่นแหละคืออิทธิพลของกลไกระบบประสาทที่มันกำลังทำงานอยู่โดยที่เราไม่รู้ตัว

ผมใช้คำว่าไม่รู้ตัวนะ

แต่ตอนนี้ผมคิดว่าคุณน่าจะรู้ทันระบบประสาทของคุณแล้วล่ะ

บางทีในโอกาสต่อๆ ไป ถ้าหากมีใครมาตำหนิอะไรเราบ้าง จากเรื่องที่เราคิดว่ามันเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย

เราอาจจะต้องเริ่มต้นด้วยการ "ถอยออกมา" พิจารนาที่ตัวเองก่อนว่าสิ่งที่เราคิดว่ามันเล็กน้อยนั้น มันเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยจริงๆ เหรอ?










ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด



ความหมาย

ความหมาย (ความต้องการ) ที่เรากำลังพยามสื่อสารออกไป คนรับสารจะสามารถเข้าใจตรงกับที่เราต้องการสื่อหรือไม่?

นี่คือเรื่องสำคัญ

เช่นคุณบอกว่าวันนี้ฉันไปตลาดซื้อมะนาวสวยๆมา 3-4 ลูก (จะเอามะนาวมาอวดซักหน่อย) ..... แต่เขาบอกฝนตกแฉะๆก็ยังไปตลาดอีกเนอะ(ไม่สนใจมะนาวเราเล้ย)

จบเห่ ... แบบนี้ NLP ถือว่าเป็นการสื่อสารที่ผิดพลาด

เมื่อการสื่อสารผิดพลาด สิ่งที่ตามมาซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการสื่อสารอีกทีจึงไม่สามารถหนีพ้นไปจากกรอบของคำว่าผิดพลาดไปได้

ทุกความสำเร็จจึงมีจุดเริ่มต้นมาจากการสื่อสารที่ถูกต้องแม่นยำก่อนเสมอ

ดังนั้นก่อนจะสื่อสารอะไรออกไป จงเริ่มต้นด้วยการคิดและตระหนักอยู่เสมอว่าคนฟังจะสามารถเข้าใจตรงตามเป้าหมายที่เราอยากบอกกับเขาหรือไม่?

เมื่อคุณเปิดร้านอาหาร คุณพยามจะสื่อสารว่าร้านคุณบรรยากาศดีอาหารก็อร่อย ... แต่ลูกค้าเข้าใจตรงกับสิ่งที่คุณกำลังสื่อสารหรือเปล่า?

ถ้าหากคุณเป็นหมอ คุณอาจจะพยามทำให้คนป่วยของคุณตระหนักถึงการดูแลสุขภาพ แต่เข้าจะเจ้าใจอย่างที่คุณพยายามให้เขาเข้าใจหรือไม่?

อย่าลืมหลักการสำคัญที่ว่า "การสื่อสารไม่ใช่เรื่องวิธีการ แต่เป็นเรื่องของผลลัพธ์ล้วนๆ" ครับ

ขอย้ำอีกครั้งว่า

"ทุกความสำเร็จจึงมีจุดเริ่มต้นมาจากการสื่อสารที่ถูกต้องแม่นยำก่อนเสมอ"


 




ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด




อ่านใจ (Mind Reading)

เราจะสามารถอ่านใจ (Mind Reading) คนอื่นได้ ... ก็ต่อเมื่อเราสามารถประเมินได้ว่าคนอื่นคิดอะไรกับสิ่งที่เราเป็นอยู่ในขณะนั้น

เรื่องนี้พูดเหมือนง่าย 

แต่ความจริงเราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคนเรานั้นมีแนวโน้มจะคิดเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอ ... 

มันมีแนวโน้มสูงทีเดียวที่เราจะรู้สึกว่าสิ่งที่เราเป็นอยู่ในขณะนี้มันก็ดีอยู่แล้ว โอเคอยู่แล้ว ไม่เห็นมีอะไรเสียหายตรงไหนเลย

ยิ่งมีตรงนี้มากเท่าไหร่ การรับรู้ของเรามันก็จะหดแคบเข้าเรื่อยๆ (จะบอกว่าเห็นแก่ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ได้ แต่โดยเจตนาแล้วไม่ได้ต้องการให้มีความหมายรุนแรงถึงขนาดนั้น) จนในที่สุดเราจะไม่สามารถรับรู้ได้เลยว่าคนอื่นๆ เขาคิดหรือรู้สึกอะไรกับเรา

เมื่อเป็นดังนั้นแล้วมันจึงไม่แปลกเลยถ้าเราจะไม่สามารถเข้าใจคนอื่นได้เลยแม้ซักนิดเดียว

และมันก็คงไม่ดีแน่ๆ กับการสื่อสารหรือสนทนาที่เราไม่สามารถเข้าใจคนอื่นได้นอกจากตัวเราเอง

ดังนั้นแล้ว มันจึงการควรเป็นอย่างยิ่งหากเราฝึกที่จะถอดหัวโขนหรือละอัตตาความเป็นตัวของเราเองลงเสียบ้าง ... แล้วถอยออกมาวิพากษ์วิจารณ์ตัวตนของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา (ผมย้ำว่าตรงไปตรงมานะ ไม่ใช่ตั้งหน้าตั้งตาชมหรือตำหนิเพียงอย่างเดียว ไม่อย่านั้นมันก็ไม่มีประโยชน์)

... หากเราต้องการที่จะเข้าใจคนอื่นให้มากยิ่งขึ้น 




ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด


Six Step Reframing

เมื่อต้องสินใจ ไม่ว่าจะได้เรื่องใดก็ตาม ผู้คนจำนวนมากมักจะเกิดความรู้สึกที่ว่า "ตอนนั้นไม่น่าตัดสินใจเลือกแบบนั้นเล้ย" ตามมาอยู่เสมอ 

นี่เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความกระอักกระอ่วนใจหรือความรู้สึกผิดต่อการตัดสินใจของตัวเอง มากๆ เข้าก็จะพัฒนามาเป็นความรู้สึกอึดอัดใจทุกครั้งที่จะต้องเป็น "ผู้ต้องเลือก"

และในหลายๆ กรณี นี่คือเหตุผลสำคัญที่จะนำไปสู่ปัญหาการไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องต่างๆ

(ไม่มีใครอยากเป็นผู้เลือกผิดพลาดหรอก หลายคนจึงหนีปัญหาด้วยการไม่ยอมเป็นผู้เลือกซะเลย)

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดทีสิ่งที่เรียกว่า Six Step Reframing ใน NLP ขึ้นมา

เพื่อทำให้การเลือกนั้นเกิดขึ้นอย่างแม่นยำ หนักแน่น และทรงพลัง ไร้ความสั่นคลอนตามมาในภายหลัง

(หรือถ้ามีก็ให้น้อยลงให้ได้มากที่สุดล่ะนะ)

การทำ Six Step Reframing Pattern มีดังนี้ครับ

1. กำหนดเป้าหมายว่าคุณต้องการเลือกสิ่งใด หรือต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งใด

2. กำหนดสัญญาณที่ใช้สำหรับเลือกคำตอบ คำว่าสัญญาณในที่นี้หมายถึงสัญญาณจากจิตใต้สำนึกเช่นถ้า "ตกลง" ให้รู้สึกกระตุกที่ปลายนิ้วของมือขวา แต่ถ้า "ไม่" ให้กระตุกที่ปลายนิ้วทางซ้ายเป็นต้น (สัญญาณพวกนี้ก็แล้วว่าแต่ละคนจะกำหนดขึ้นมาอย่างไร)

3. จงตั้งคำถามว่า "สิ่งเดิมที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลงนั้น มันมีข้อดีอะไรอยู่บ้างที่อาจจะถูกมองข้ามหรือไม่?" "ทำไมฉันถึงต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้?" หรือ "การเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่เราต้องการจริงๆ อน่างนั้นเหรอ?" การถามทบทวนแบบนี้บางทีคุณอาจจะคำตอบอะไรบางอย่างที่คุณคาดไม่ถึงก็ได้นะ

4. สร้างเป้าหมายปลายทางที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลงไปหามัน (เช่นถ้าอยากเลิกขี้เกียจ เป้าหมายพื้นฐานก็ควรการเป็นคนขยัน) และไม่ว่าคำตอบจะเป็นอะไรก็ตามขอให้สร้างตัวเลือกอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาอีกอย่างน้อยสองตัวเลือก (รวมเป้าหมายแรกสุดก็คือมีสามตัวเลือกเป็นอย่างน้อยให้เราเลือกว่าจะเปลี่ยนเป็นแบบใหนดี)

5. จงอธิบายหรือจินตนาการถึงข้อดีหรือคุณประโยชน์ที่ตัวคุณจะได้รับสำหรับทางเลือกในแต่ละทางที่คุณได้สร้างขึ้น (ในห้วงความคิดคิด) จากนั้นจงตั้งคำถามว่าจากตัวเลือกที่กำหนดขึ้นมานั้น ข้อใดคือสิ่งที่คุณต้องการอย่างแท้จริงโดยฟังคำตอบจากส่วนลึกของคุณผ่านทางสัญญาณที่ถูกกำหนดขึ้นในข้อ 2

6. ตรวจสอบว่าคุณต้องการคำตอบที่ได้เลือกไปในข้อ 5 จริงหรือ โดยจินตนาการว่าผลลัพธ์ความเปลี่ยนแปลงที่คุณได้เป็นผู้เลือกบัดนี้ได้เกิดขึ้นกับคุณแล้วโดยสมบูรณ์ จากนั้นสังเกตความพึงพอใจของตัวเองว่าเป็นอย่างไร





ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด