วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

Projective Test: แบบการแสดงออก

1.                 Projective Drawing Test

การทดสอบที่ใช้การวาดภาพแบบฉายภาพจิต(Projective Drawing Tests) มีอยู่หลายชนิด ซึ่งชนิดที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ 
  •  Draw-A-Person Test (D-A-P) 
Draw-A-Person test เป็นเทคนิคที่ใช้ในการวินิจฉัยและมุ่งเน้นที่การศึกษาในเรื่องพลศาสตร์ของบุคลิกภาพบุคลิกลักษณะที่ได้จากการวาดภาพคนเชื่อว่าเป็นสิ่งสะท้อนถึงแนวคิดเกี่ยวกับตน หรือ อัตมโนทัศน์ (self concept) จากสมมุติฐานที่ว่าภาพวาดคนแสดงถึงการสะท้อนสิ่งที่อยู่ภายในจิตไร้สำนึกในลักษณะที่บุคคลนั้นเห็นตนเองเป็นเช่นไร   เช่นขณะที่มีความวิตกกังวลสูง ลายเส้นของภาพจะสั่น ขาดความลื่นไหล ขณะซึมเศร้าลายเส้นของภาพวาดจะบางเบา คนที่ก้าวร้าวอาจจะวาดภาพนิ้วมือมีเล็บคล้ายเล็บสัตว์


การให้คะแนนของ D-A-P เป็นการวิเคราะห์ลักษณะต่าง ๆ ของภาพที่วาด โดยคำนึงถึงขนาด รูปร่าง ของภาพคนที่วาด ตำแหน่งที่วาดในกระดาษ เส้นที่วาดลำดับการวาดส่วนต่าง ๆ ตำแหน่งแขนขน เสื้อผ้า ฉากหลังภาพ และผลของฉากซึ่งเป็นส่วนประกอบทั้งหมดของภาพ มีการตีความหมายพิเศษสำหรับภาพที่ขาดหายไป หรือภาพที่มีสัดส่วนที่ผิด มีเงา มีรอยลบ ขีดฆ่า และมีลักษณะอื่น ๆ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับส่วนใหญ่ ๆ ของร่างกายเช่น ศีรษะ หน้าตา ผม คอ ฯลฯ ผิดสัดส่วนไป

การวาดภาพคนสามารถใช้ประกอบการทดสอบเชาวน์ปัญญาได้ เรียกว่า Draw-Man-test ซึ่งเป็นวิธีคัดกรองเบื้องต้น (screening method)  เป็นแบบทดสอบที่สั้น กะทัดรัด และใช้ได้สะดวก จึงเหมาะที่จะนำไปใช้กับเด็กที่มีปัญหาทางด้านการพูด การฟัง มีความบกพร่องทางระบบประสาท และมีปัญหาทางด้านจิตใจ  Florence Goodenough (1926)  เป็นบุคคลแรกที่นำเอาการวาดภาพคนมาใช้เพื่อประเมินผลทางด้านเชาวน์ปัญญา โดยจัดให้มีระบบการให้คะแนนที่เป็นมาตรฐาน(standardizing scoring) ต่อมา Dale Harris นำไปปรับปรุงใหม่ในปี ..1963 ให้ผู้รับการทดสอบวาดภาพผู้ชาย (พ่อ), ผู้หญิง(แม่), และตนเอง Harris กำหนดหัวข้อการให้คะแนนไว้ 73 หัวข้อ และเรียกชื่อ แบบทดสอบว่า Goodenough-Harris test 
  •  House-Tree-Person Test (H-T-P) 

การวาดภาพบ้าน-ต้นไม้-คน (House-Tree-Person or H-T-P) การเลือกเอา บ้าน ต้นไม้และคนมาเป็นแบบทดสอบเนื่องจากสามสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนแม้แต่เด็กเล็กก็รู้จักคุ้นเคยดี เมื่อนำมาใช้ก็จะเป็นที่ยอมรับของคนทุกเพศ ทุกวัย และเป็นสิ่งเร้าได้อย่างตรงไปตรงมาโดยไม่ต้องใช้ภาษาพูดเข้ามาเกี่ยวข้องมากเท่ากับที่ใช้ในแบบทดสอบชนิดอื่น  นอกจากนี้ยังแสดงออกมาเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในจิตไร้สำนึกด้วย มีงานวิจัยเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับการวาดภาพอิสระในเด็กเล็กพบว่า บ้าน ต้นไม้ และคนเป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมวาดมาก ที่นิยมมากที่สุดคือ การวาดภาพคน ส่วนภาพบ้าน ต้นไม้และดอกไม้ เป็นที่นิยมรองลงมาโดยใช้สีเหมือนจริ

การให้วาดภาพ บ้าน เพราะเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่อยู่อาศัย และคนอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกับผู้ทำแบบทดสอบ ส่วน ต้นไม้ ช่วยกระตุ้นให้เกิดความสัมพันธ์กับบทบาทชีวิต ความสามารถในการหาความพอใจจากสิ่งแวดล้อม และ คน จะทำให้เกิดความสัมพันธเกี่ยวกับสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

การวิเคราะห์ภาพวาด

o                   การวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง เช่น การลำดับภาพ ขนาดของภาพ แรงกดของเส้น คุณภาพของเส้น การวางภาพบนหน้ากระดาษ ความครบถ้วนและรายละเอียดของภาพ   ความสมดุล ทิศทางการมอง สัดส่วน การแรเงา การกดทับให้เข้มขึ้นและการลบ เป็นต้น

o                   การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เช่นการวิเคราะห์รายละเอียดต่าง  ที่บรรจุอยู่ในภาพ  ตัวอย่างเช่นภาพคน สิ่งที่พิจารณาได้แก่ส่วนประกอบของร่างกายทั้งหมด ตั้งแต่ศีรษะถึงนิ้วเท้า เช่นศีรษะใหญ่หรือเล็ก หันด้านหน้าด้านหลัง หรือด้านข้าง องค์ประกอบของใบหน้าคือ คิ้ว ตา จมูก ปาก และวิเคราะห์ลงไปในแต่ละส่วนเช่น ตามีลักษณะอย่างไร ตาเล็ก ตาปิด ตาโตมองจ้อง ตาขวาง วาดขอบตาโตแต่ไม่มีตาดำหรือรูม่านตา (pupil) เป็นต้นนอกจากนี้ยังต้องสังเกตลักษณะเกี่ยวกับอากัปกิริยา ท่าทาง การแสดงออกเช่น เศร้าหมอง รื่นเริงแจ่มใส หรือ โกรธ  ความชัดเจน ดูรู้ได้ทันทีว่าเป็นเพศใด เครื่องแต่งกายเช่นเด็กบอกว่าวาดรูปพ่อ แต่ใส่กระโปรงแทนที่จะเป็นกางเกง เป็นต้น

การวาดภาพเป็นเทคนิคที่อาศัยหลักของการฉายภาพจิต ที่ว่าบุคคลไม่อาจปกปิดสิ่งต่าง  ที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในจิตใต้สำนึก (subconscious) ได้ สิ่งต่าง  เหล่านี้จะถูกถ่ายทอดผ่าน (psychomotor activity) ลงบนแผ่นกระดาษโดยไม่อาจบิดเบือนปิดบัง หรือซ่อนเร้นได้ การวาดภาพแบบฉายภาพจิตเป็นเทคนิคที่ใช้ได้ดีกับ ผู้รับการทดสอบที่มีปัญหาด้านการสื่อสารด้วยคำพูดเนื่องจากสภาพจิตใจของผู้รับการทดสอบสามารถแสดงออกมาเป็นภาพ หรือสัญลักษณ์โดยไม่ต้องใช้ภาษา แต่การอ่านหรือแปลความหมายของภาพนั้น จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่ได้รับการฝึกฝนอบรมมีประสบการณ์หรือมีความชำนาญในด้านนี้

2.         Role Playing

การฉายภาพไปที่บุคคลอื่นหรือให้แสดงบทบาทสมมติ (Third Person /Role Playing)เป็นการนำเสนอสถานการณ์โดยเล่าเรื่อง หรือให้ดูภาพ หรือดูภาพยนตร์ แล้วให้บรรยายความรู้สึกของตัวละคร    หรืออาจถามโดยให้ผู้ตอบสมมติตัวเองว่าเป็นบุคคลอื่น เช่น เพื่อนสนิท ว่าเขาเป็นเพื่อนของผู้ให้สัมภาษณ์ หรือเป็นคนทั่วไป ว่าความคิดหรือพฤติกรรจะเป็นอย่างไร จะตอบสนองอย่างไร วิธีนี้มุ่งให้ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงความ  รู้สึกและอารมณ์ของตนออกมาผ่านภาพของบุคคลอื่น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น