Six Step Reframing
เมื่อต้องสินใจ ไม่ว่าจะได้เรื่องใดก็ตาม ผู้คนจำนวนมากมักจะเกิดความรู้สึกที่ว่า "ตอนนั้นไม่น่าตัดสินใจเลือกแบบนั้นเล้ย" ตามมาอยู่เสมอ นี่เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความกระอักกระอ่วนใจหรือความรู้สึกผิดต่อการตัดสินใจของตัวเอง มากๆ เข้าก็จะพัฒนามาเป็นความรู้สึกอึดอัดใจทุกครั้งที่จะต้องเป็น "ผู้ต้องเลือก"
และในหลายๆ กรณี นี่คือเหตุผลสำคัญที่จะนำไปสู่ปัญหาการไม่กล้าตัดสินใจในเรื่องต่างๆ
(ไม่มีใครอยากเป็นผู้เลือกผิดพลาดหรอก หลายคนจึงหนีปัญหาด้วยการไม่ยอมเป็นผู้เลือกซะเลย)
ด้วยเหตุนี้จึงเกิดทีสิ่งที่เรียกว่า Six Step Reframing ใน NLP ขึ้นมา
เพื่อทำให้การเลือกนั้นเกิดขึ้นอย่างแม่นยำ หนักแน่น และทรงพลัง ไร้ความสั่นคลอนตามมาในภายหลัง
(หรือถ้ามีก็ให้น้อยลงให้ได้มากที่สุดล่ะนะ)
การทำ Six Step Reframing Pattern มีดังนี้ครับ
1. กำหนดเป้าหมายว่าคุณต้องการเลือกสิ่งใด หรือต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งใด
2. กำหนดสัญญาณที่ใช้สำหรับเลือกคำตอบ คำว่าสัญญาณในที่นี้หมายถึงสัญญาณจากจิตใต้สำนึกเช่นถ้า "ตกลง" ให้รู้สึกกระตุกที่ปลายนิ้วของมือขวา แต่ถ้า "ไม่" ให้กระตุกที่ปลายนิ้วทางซ้ายเป็นต้น (สัญญาณพวกนี้ก็แล้วว่าแต่ละคนจะกำหนดขึ้นมาอย่างไร)
3. จงตั้งคำถามว่า "สิ่งเดิมที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลงนั้น มันมีข้อดีอะไรอยู่บ้างที่อาจจะถูกมองข้ามหรือไม่?" "ทำไมฉันถึงต้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้?" หรือ "การเปลี่ยนแปลงคือสิ่งที่เราต้องการจริงๆ อน่างนั้นเหรอ?" การถามทบทวนแบบนี้บางทีคุณอาจจะคำตอบอะไรบางอย่างที่คุณคาดไม่ถึงก็ได้นะ
4. สร้างเป้าหมายปลายทางที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลงไปหามัน (เช่นถ้าอยากเลิกขี้เกียจ เป้าหมายพื้นฐานก็ควรการเป็นคนขยัน) และไม่ว่าคำตอบจะเป็นอะไรก็ตามขอให้สร้างตัวเลือกอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาอีกอย่างน้อยสองตัวเลือก (รวมเป้าหมายแรกสุดก็คือมีสามตัวเลือกเป็นอย่างน้อยให้เราเลือกว่าจะเปลี่ยนเป็นแบบใหนดี)
5. จงอธิบายหรือจินตนาการถึงข้อดีหรือคุณประโยชน์ที่ตัวคุณจะได้รับสำหรับทางเลือกในแต่ละทางที่คุณได้สร้างขึ้น (ในห้วงความคิดคิด) จากนั้นจงตั้งคำถามว่าจากตัวเลือกที่กำหนดขึ้นมานั้น ข้อใดคือสิ่งที่คุณต้องการอย่างแท้จริงโดยฟังคำตอบจากส่วนลึกของคุณผ่านทางสัญญาณที่ถูกกำหนดขึ้นในข้อ 2
6. ตรวจสอบว่าคุณต้องการคำตอบที่ได้เลือกไปในข้อ 5 จริงหรือ โดยจินตนาการว่าผลลัพธ์ความเปลี่ยนแปลงที่คุณได้เป็นผู้เลือกบัดนี้ได้เกิดขึ้นกับคุณแล้วโดยสมบูรณ์ จากนั้นสังเกตความพึงพอใจของตัวเองว่าเป็นอย่างไร
ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น