วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลับดับขั้นตอนการเรียนรู้ (Step of Learning)

มนุษย์ใช้เวลาทั้งชีวิตในการในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ การเรียนรู้บางอย่างก็อยู่ในระดับจิตสำนึกในขณะที่การเรียนรู้บางอย่างก็ลงลึกลงไปในระดับจิตใต้สำนึก ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและปัจจัยทั้งที่เป็นส่วนของตัวของผู้เรียนรู้เองและเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ที่เกิดนั้นว่ามันเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในระดับไหน

สำหรับ NLP เราแบ่งแยกการขั้นตอนเรียนรู้ของมนุษย์ออกเป็นสามช่วงด้วยกัน คือ
  1. Unlearning หรือภาวะที่ยังไม่เรียนรู้ต่อสิ่งนั้นๆ เช่นถ้าคุณไม่เคยเดินเหยียบหนามมาก่อนคุณก็จะไม่มีวันรู้ว่าการเดินเหยียบหนามนั้นมันเจ็บขนาดไหน
  2. Learning หรือภาวะช่วงขณะที่กำลังเรียนรู้ซึ่งก็ทำให้เกิดการเรียนรู้ เช่นเดินเหยียบหนามไปแล้วจึงรู้ว่ามันเจ็บ ซึ่งจะนำมาสู่ความรู้ที่ว่าเมื่อเดินเท้าเปล่าเราควรระวัง หรือเราไม่ควรเดินถอดรองเท้า หรือเมื่อถูกหนามตำเท้าเราควรเอาหนามออก หรืออะไรอื่นๆ อีกสุดแท้แต่รายละเอียดของเหตุการณ์นั้นๆ
  3. Relearning หรือการเรียนรู้ซ้ำ เช่นในวันหนึ่งเราเดินเท้าเปล่าแล้วหนามก็ตำเท้าอีก กระบวนการนี้ทำให้เกิดการย้ำข้อมูลลงไปในระบบประสาทของเราว่า เราไม่ควรจะเดินเท้าเปล่าเป็นอันขาด ยิ่งเกิดการเรียนรู้ซ้ำมากขึ้นเท่าไหร่ปริมาณข้อมูลเรื่องนั้นๆ ก็ยิ่งเข้มข้นและฝังตัวลงลึกลงไปในจิตใต้สำนึก

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การสะกดจิตลบความทรงจำ

ในฐานะของนักสะกดจิต มีคำถามที่มักจะได้รับอยู่เป็นประจำว่า เราสามารถใช้การสะกดจิตทำให้ความทรงจำที่มีต่อบางสิ่งหรือบางช่วงเวลาหายไปได้หรือไม่ เพื่อไปให้ถึงคำตอบของคำถามนี้เราจะมาทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า “ความทรงจำ” กันก่อน

 มื่อเราประสบกับเหตุการณ์ต่างๆ ระบบประสาทสัมผัสของร่างกายเราจะได้รับข้อมูลจำนวนหนึ่ง ข้อมูลเหล่านี้ถูกนำไปประมวลผลทำให้เกิดสภาวะอารมณ์หรือความรู้สึกนึกคิดซึ่งจะนำไปสู่การแสดงออกในรูปของพฤติกรรมต่างๆ ในที่สุด ในการนี้ระบบประสาทของเราจะทำการบันทึกข้อมูลเหล่านี้เก็บเอาไว้ด้วยเพื่อใช้เปรียบในการประมวลผลข้อมูลในรอบต่อๆ ไป ข้อมูลที่ถูกบันทึกเอาไว้พวกนี้เรียกว่า “ความทรงจำ” โดยความทรงจำจะถูกบันทึกเอาไว้ที่เซลประสาทส่วนบันทึกความทรงจำในสมองของเรา (มีรายงานทางวิทยาศาสตร์ในเชิงสถิตว่า มีความเป็นไปได้ว่ามนุษย์จะเก็บความทรงจำเอาไว้ในเซลของอวัยวะอื่นๆ ได้ด้วย)

Dream Analysis

ความฝันเป็นปรากฏการพื้นฐานของระบบประสาทที่พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป แน่นอนว่ารวมถึงมนุษย์ด้วย เหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมคนเราถึงต้องฝันนั้นว่ากันตามจริงแล้วยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดใดๆ ทั้งสิ้น ศาสตร์แต่ละแขนงแต่ละสถาบันต่างก็ให้เหตุผลและและการตีความหมายที่แตกต่างกันออกไป

สำหรับจิตวิทยาตามแนวจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) แล้วได้ให้คำอธิบายว่าความฝันเป็นกลไกหนึ่งที่สมองและระบบประสาทได้ใช้เป็นช่องทางในการเปิดเผยความต้องการความปรารถนาส่วนลึกของจิตใจออกมา หรือใช้เป็นตัวสะท้อนสภาวะจิตใจสภาวะอารมณ์ในห้วงเวลาขณะนั้นออกมาอย่างเป็นรูปธรรม