วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ความจริงและเวลา

มนุษย์เรานั้นเป็นสิ่งมีชีวิตที่ตั้งอยู่บนตำแหน่งเวลาปัจจุบันเท่านั้น ระบบประสาทของเราสามารถรับรู้ได้เพียงเหตุการณ์ที่กำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน เรื่องราวในอนาคตเราไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น เราทำได้อย่างมากก็แค่ใช้การ “คาดเดา” ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป ยิ่งอนาคตอยู่ใกลออกไปมากเท่าไหร่ความแม่นยำในการคาดเดาของเราก็ยิ่งลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ ส่วนเรื่องราวในอดีตนั้นระบบประสาทของเราก็รับรู้ซ้ำไม่ได้เช่นกัน ที่ระบบประสาทของทำได้ก็มีเพียงการดึงเอาข้อมูลความทรงที่ถูกบันทึกเอาไว้แล้วกลับมาใช้ใหม่เท่านั้น ซึ่งมันก็ไม่ได้ชัดเจนเหมือนกับตอนที่เรากำลังประสบกับเหตุการณ์โดยตรงและในความเป็นจริงมันก็มีโอกาสที่มันจะคลาดเคลื่อนได้เหมือนกัน ยิ่งย้อนกลับไปมากเท่าไหร่โอกาสที่ข้อมูลตัวนี้จะคลาดเคลื่อนก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย

เช่นถ้ามีคนถามว่าว่า “ตอนนี้” เรากำลังทำอะไร เราสามารถตอบได้ทันทีว่าว่า “เรากำลังอ่านหนังสือ” เพราะระบบประสาทของเรากำลังประสบกับเหตุการณ์อ่านหนังสืออยู่โดยตรง แต่ถ้าถามว่าอีกหนึ่งนาทีเราจะทำอะไร คำตอบจริงๆ เราคงไม่ทราบได้ แต่ก็พอจะคาดการได้ว่า “เอาอาจจะอ่านหนังสืออยู่ต่อไป” เพราะประเมินดูแล้วว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นซึ่งในความเป็นจริงอาจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นก็ได้ และยิ่งถามต่อไปอีกว่าอีกสามชั่วโมงข้างหน้าเราจะทำอะไรความชัดเจนของคำตอบก็ยิ่งลดน้อยถอยลงไปอย่างชัดเจนเพราะใครมันจะไปรู้ว่าอีกสามชั่วโมงเราจะทำอะไร อาจจะยังอ่านหนังสือต่อไป ไปทานข้าว เข้าห้องน้ำ นอนหลับซักงีบ หรืออาจจะมีเหตุให้ต้องออกไปนอกบ้านก็เป็นไปได้ทั้งนั้น

และหากมีคนถามว่า “เมื่อหนึ่งนาทีที่แล้ว” เราทำอะไร ระบบประสาทของเราก็ไม่สามารถย้อนกลับไปพบกับประสบการณ์นั้นได้อีกโดยตรง แต่ที่เราทำไก้ก็คือการดึงเอาข้อมูลความทรงจำที่ถูกบันทึกเอาไว้กลับมาใช้ใหม่ นี่ทำให้เราทราบดีว่าเมื่อหนึ่งนาทีก่อนเรากำลังอ่านหนังสืออยู่อย่างแน่นอน แต่พอคำถามย้อนเวลามากไปยิ่งขึ้นเช่นถามว่าในเวลาเดียวกันนี้ของเมื่อวานเรากำลังทำอะไร ความชัดเจนของคำตอบก็ดูเหมือนจะลางเลือนลงไป เราอาจจะตอบว่า “ฉันนอนหลับอยู่” ซึ่งมันอาจจะเป็นจริงตามนั้นหรืออาจจะสับสนจำผิดไปก็ได้ ยิ่งเวลาถูกย้อนกลับไปนานเท่าไหร่โอกาสผิดพลาดก็ยิ่งมีสูงมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ว่าคำตอบที่แท้จริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ระบบประสาทของเราเลือกแล้วว่ามันคือความจริง “นั่นแหละคือความจริงของเรา” เช่นเราอาจจะจำได้ว่าเวลานี้ของเมื่อสามวันก่อนเรานอนอ่านหนังสืออยู่บ้านทั้งที่ความจริงแล้สเราออกไปทานข้าวนอกบ้านกับเพื่อนต่างหาก ดังนั้นแล้วความจริงของเราสำหรับเหตุการณ์ในเวลานี้เมื่อสามวันก่อนก็คือเรานอนอ่านหนังสืออยู่กับบ้านนั่นเอง

ดังนั้นความเป็นจริงของแต่ละคนมันจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเหตุการณ์ที่แท้จริงเป็นอย่างไร แต่มันขึ้นอยู่กับว่าเรารับรู้และยอมรับ (เชื่อ) ว่ามันเป็นอย่างไรต่างหาก


                                                                www.nlpcounselor.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น