วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

the allegiance

ความจงรักภักดีสร้างได้ ....... ด้วย

1. "คนเราย่อมภักดีต่อฝ่ายที่เขามองเห็นว่าตัวเองยืนอยู่" ดังนั้นถ้าคุณอยากให้ใครภักดีต่อคุณหรือองค์กรของคุณสิ่งแรกที่คุณจะต้องทำก็คือ "ทำให้เขาคิดว่าคิดว่าคุณและเขาอยู่ฝ่ายเดียวกัน หรือเป็นพวกเดียวกัน" (ซึ่ง NLP เรียกว่าการ Rapport)

2. "ไม่มีใครอยากเป็นฝ่ายแพ้" ดังนั้นถ้าคุณอยากให้ใครภักดีต่อคุณหรือองค์กรของคุณ จงทำให้เขาคิดว่าเขาเป็นส่วนหนึ่งของความยิ่งใหญ่หรื
อชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าความยิ่งใหญ่หรือชัยชนะนั้นย่อมต้องอยู่ที่ฝ่ายของคุณ

3. "เวลาเป็นกาวประสานชั้นเลิศ" ดังนั้นถ้าคุณอยากให้ใครภักดีต่อคุณหรือองค์กรของคุณ จงอย่าใจร้อน และจงอย่าทำอย่างฉาบฉวย (เห่อแป๊บเดียวก็เลิก) ยิ่งคุณลงทุนเวลาไปมากเท่าไหร่ ความภักดีก็ยิ่งมีแข็งแรงมั่นคงมากขึ้นเท่านั้น

4. "เขาย่อมต้องการสิ่งที่เราต้องการ" ดังนั้นถ้าคุณอยากให้ใครภักดีต่อคุณหรือองค์กรของคุณ "คุณจงภักดีต่อเขาก่อน" แน่นอนเจ้านายไม่อยากให้ลูกน้องทรยศฉันใด ลูกน้องก็ไม่อยากให้เจ้านายหลอกใช้ฉันนั้น

5. "ความซาบซึ้งใจเป็นตัวเร่งที่ดี" ดังนั้นถ้าคุณอยากให้ใครภักดีต่อคุณหรือองค์กรของคุณ จากหมั่นซาบซึ้งหรือขอบคุณในสิ่งที่เขาได้ลงมือทำ (NLP แนะเสริมว่าไม่ใช่แค่คุณทำ แต่คุณจะต้องทำให้เขาเข้าใจว่าคุณซาบซึ้งเขา) เมื่อเขารู้สึกว่าเขาเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อคุณ (จากสิ่งที่เขาทำ) เขาย่อมพยามรักษาคุณค่าของเขาเอาไว้ด้วยการรักษาสิ่งที่เขาลงมือทำให้คุณ

ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด

วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เสน่ห์ระหว่างการสนทนา


ทำไมเวลาคุยกับใครบางคนเราจึงรู้สึกว่าเขามีเสน่ห์น่าคบหาน่าพูดคุยมากกว่าคนอื่น?

การจะไปถึงคำตอบนี้ได้เราจะต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า เสน่ห์ระหว่างการสนทนาคืออะไร?

สำหรับคำตอบของมันนั้นง่ายมาก เพราะเสน่ห์ของการสนทนานั้นมันย่อมเกิดขึ้นได้ก็เพราะความรู้สึกที่ว่า "คู่สนทนาได้ให้ความสำคัญกับเรา" นี่เป็นสิ่งที่จะนำไปสู่เรื่องที่ว่าเราจะสามารถสร้างเสน่ห์ระหว่างการสนทนาได้อย่างไร

อย่างไร?

สิ่งที่คุณต้องการก็คือ "A5"

1. Acceptance การแสดงความ "ยอมรับ"ต่อสิ่งที่คู่สนทนาของคุณได้กระทำลงไป

2. Appreciation การแสดงความ "ซาบซึ้ง" ต่อสิ่งที่คู่สนทนาของคุณได้กระทำลงไป

3. Approval การแสดงความ "เห็นชอบ" ต่อสิ่งที่คู่สนทนาของคุณได้กระทำลงไป

4. Admiration การแสดงความ "ชื่นชม" ต่อสิ่งที่คู่สนทนาของคุณได้กระทำลงไป

5. Attention การแสดงความ "สนใจ" ต่อสิ่งที่คู่สนทนาของคุณได้กระทำลงไป

เอาล่ะอย่าลืมว่าสำหรับ NLP แล้วเราไม่สนใจหรอกว่าคุณจะรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ หรือคุณจะแสดง A5 ที่ว่ามานี้ออกไปอย่างไร สำหรับ NLP แล้วการสื่อสารเป็นเรื่องของผู้รับสารว่าจะตีความหมายอย่างไร ดังนั้นสำหรับการใช้ A5 นี้ก็เช่นกัน สิ่งคุณจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาจริงๆ ก็ "ความรับรู้และเข้าใจ" ต่อ A5 คุณพยามสื่อสารออกไปต่างหาก

สรุปง่ายๆ ก็คือคุณถ้าพยามแล้วที่จะ ยอมรับ ซาบซึ้ง เห็นชอบ ชื่นชม และสนใจ อย่างเต็มที่แล้ว แต่ถ้าคู่สนทนาของคุณไม่เข้าใจว่าคุณกำลังเป็นอย่างนั้น NLP ก็ถือว่าความพยามสร้างเสน่ห์ของคุณกำลัง Fail แล้วล่ะครับ :p


ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เรื่องของความฝันในแนวจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)



a. ความฝันเป็นผลการทำงานของจิตใต้สำนึกในยามหลับ โดยความฝันจะเป็นสำแดงถึงความปรารถนาหรือความรู้สึกติดค้างบางประการที่ถูกกดทับเก็บซ่อนเอาไว้ในจิตต้ำสนึกที่ถูกสื่อสารกลับออกอย่างแยบยล คำว่าแยบยลในที่นี้หมายถึงว่ามันจะไม่ถ่ายทอดออกมาตรงๆ แต่มันจะทำการแต่งเติม เปรียบเทียบ หรือเปรียบเปรย เพื่อทำให้เนื้อหาไม่โจ่งแจ้งชัดเจนจนเกินไป (หมายความว่าอย่างไรก็ตามกระบวนการกดทับเก็บซ่อนก็จะยังคงดำเนินของมันต่อไป) กลไกที่ช่วยบิดเบือนหรือเติมความแยบยลให้กับเนื้อหาของความฝันนี้เราเรียกว่า Dream Work หรือตัวแต่งความฝัน ยิ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มาก จิตสำนึกผ่านการเรียนรู้มามาก ความสามารถของ Dream Work ก็ยิ่งสลับซับซ้อน ทำให้การซ่อนเนื้อหาของความฝันลึกซึ้งแยบยลมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

b. ความฝันเป็นกลไกที่ระบบประสาทใช้สำหรับประคับประคองช่วงเวลาหลับให้ยืดนานออกไป เช่นคนมีเรื่องความต้องการไปท่องเที่ยวติดค้างอยู่ในใจ ความรู้สึกติดค้างนี้อาจจะไปทำให้เกิดอาหารตื่นขึ้นกลางช่วงเวลาที่หลับอยู่ได้ ดังนั้นระบบประสาทจึงสร้างความฝันขึ้นมาตอบสนองความต้องการเพื่อช่วยขยายช่วงเวลาของการนอนหลับให้ยืดยาวออกไป

เนื่องจากความฝันที่สมจริงมากเกินไปอาจจะทำให้ระบบประสาทตื่นตัวมากเกินไปจนนำไปสู่การตกใจตื่นได้ในที่สุด ดังนั้น Dream Work จึงมีความจำเป็นต้องแต่งแต้มให้ความฝันมีลักษณะเป็นประสบการณ์ที่คลุมเครือ มีความกำกวม จะว่าคุ้นเคยก็ไม่ใช่จะว่าใหม่ก็ไม่เชิง ความไม่แจ่มชัดเจนในการรับรู้นี้จะช่วยให้เราฝันได้ยาวไม่เป็นอุปสรรคต่อระยะเวลาของการนอนหลับพักผ่อน

สำหรับความฝันในลักษณะที่เป็นการฝันร้าย เช่นอยู่ในสถานที่ที่น่ากลัว สถานการณ์เลวร้าย ฝันถึงผีสาง เหล่านี้เป็นลักษณะของการลงโทษตัวเองของจิตใต้สำนึกซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรค์ต่อการนอนหลับทั้งสิ้น การที่ระบบประสาทสร้างฝันร้ายขึ้นมานั้นนอกจะช่วยระบายความรู้สึกผิด ความรู้สึกกระอักกระอ่วนใจที่ตกค้างอยู่ภายในแล้วยังช่วยระยะเวลาในการนอนหลับถูกยืดออกไปอีกด้วย แต่บางที Dream Work ก็ทำงานมากไปหน่อนจนเราต้องสะดุ้งตื่นจากฝันร้ายแทนที่จะได้หลับยาวๆ ตามจัดประสงค์พื้นฐานของมัน

ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด