วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เรื่องของความฝันในแนวจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)



a. ความฝันเป็นผลการทำงานของจิตใต้สำนึกในยามหลับ โดยความฝันจะเป็นสำแดงถึงความปรารถนาหรือความรู้สึกติดค้างบางประการที่ถูกกดทับเก็บซ่อนเอาไว้ในจิตต้ำสนึกที่ถูกสื่อสารกลับออกอย่างแยบยล คำว่าแยบยลในที่นี้หมายถึงว่ามันจะไม่ถ่ายทอดออกมาตรงๆ แต่มันจะทำการแต่งเติม เปรียบเทียบ หรือเปรียบเปรย เพื่อทำให้เนื้อหาไม่โจ่งแจ้งชัดเจนจนเกินไป (หมายความว่าอย่างไรก็ตามกระบวนการกดทับเก็บซ่อนก็จะยังคงดำเนินของมันต่อไป) กลไกที่ช่วยบิดเบือนหรือเติมความแยบยลให้กับเนื้อหาของความฝันนี้เราเรียกว่า Dream Work หรือตัวแต่งความฝัน ยิ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์มาก จิตสำนึกผ่านการเรียนรู้มามาก ความสามารถของ Dream Work ก็ยิ่งสลับซับซ้อน ทำให้การซ่อนเนื้อหาของความฝันลึกซึ้งแยบยลมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ

b. ความฝันเป็นกลไกที่ระบบประสาทใช้สำหรับประคับประคองช่วงเวลาหลับให้ยืดนานออกไป เช่นคนมีเรื่องความต้องการไปท่องเที่ยวติดค้างอยู่ในใจ ความรู้สึกติดค้างนี้อาจจะไปทำให้เกิดอาหารตื่นขึ้นกลางช่วงเวลาที่หลับอยู่ได้ ดังนั้นระบบประสาทจึงสร้างความฝันขึ้นมาตอบสนองความต้องการเพื่อช่วยขยายช่วงเวลาของการนอนหลับให้ยืดยาวออกไป

เนื่องจากความฝันที่สมจริงมากเกินไปอาจจะทำให้ระบบประสาทตื่นตัวมากเกินไปจนนำไปสู่การตกใจตื่นได้ในที่สุด ดังนั้น Dream Work จึงมีความจำเป็นต้องแต่งแต้มให้ความฝันมีลักษณะเป็นประสบการณ์ที่คลุมเครือ มีความกำกวม จะว่าคุ้นเคยก็ไม่ใช่จะว่าใหม่ก็ไม่เชิง ความไม่แจ่มชัดเจนในการรับรู้นี้จะช่วยให้เราฝันได้ยาวไม่เป็นอุปสรรคต่อระยะเวลาของการนอนหลับพักผ่อน

สำหรับความฝันในลักษณะที่เป็นการฝันร้าย เช่นอยู่ในสถานที่ที่น่ากลัว สถานการณ์เลวร้าย ฝันถึงผีสาง เหล่านี้เป็นลักษณะของการลงโทษตัวเองของจิตใต้สำนึกซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นอุปสรรค์ต่อการนอนหลับทั้งสิ้น การที่ระบบประสาทสร้างฝันร้ายขึ้นมานั้นนอกจะช่วยระบายความรู้สึกผิด ความรู้สึกกระอักกระอ่วนใจที่ตกค้างอยู่ภายในแล้วยังช่วยระยะเวลาในการนอนหลับถูกยืดออกไปอีกด้วย แต่บางที Dream Work ก็ทำงานมากไปหน่อนจนเราต้องสะดุ้งตื่นจากฝันร้ายแทนที่จะได้หลับยาวๆ ตามจัดประสงค์พื้นฐานของมัน

ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น