วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มิลตันโมเดล (The Milton Model)

ชื่อ “มิลตัน” ของมิลตันโมเดลมาจาก ดร.มิลตัน เอช อีริคสัน (Dr. Milton H. Ericson) บุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นอัจฉริยะท่านหนึ่งของวงการจิตบำบัด ดร.มิลตันเป็นทั้งจิตแพทย์ เป็นทั้งนักจิตวิยา อีกทั้งเป็นนักสะกดจิตบำบัด (Hypnotic) อีกด้วย นอกจากนี้วิธีการสะกดจิตบำบัดของ ดร.มิลตันนั้นยังถือกันว่าเป็นแบบฉบับมาตรฐานของเทคนิคสะกดจิตบำบัดสมัยใหม่ (เรียกว่า Ericsonier Hypnosis) ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากนักสะกดจิตบำบัดทั่วโลกว่าเป็นวิธีการสะกดจิตบำบัดที่ยอดเยี่ยมที่สุดวิธีการหนึ่ง

หลังจากที่แบรดเลอร์และกรินเดอร์ (สองผู้ก่อตั้งศาสตร์เอ็นแอลพี) ได้ติดตามศึกษางานบำบัดของดร.มิลตันเป็นเวลานาน นอกการแบรดเลอร์และกรินเดอร์จะได้เรียนรู้เทคนิคสะกดจิตที่ยอดเยี่ยมของดร.มิลตันแล้วทั้งสองยังต้องประหลาดใจเมื่อพบว่าบ่อยครั้งที่ผู้มารับการบำบัดมีอาการดีขึ้นเพียงแค่ได้พูดคุยกับดร.มิลตันเป็นเวลาสั้นๆ เท่านั้น

ดร.มิลตันทำอะไร มันเกิดอะไรขึ้นกับคนเหล่านั้น

ในที่สุดทั้งแบลดเลอร์และกรินเดอร์ก็สามารถถอดโมเดลการบำบัดในลักษณะทำนองนี้ของดร.มิลตันออกมาได้ โดยให้ชื่อเทคนิคการบำบัดลักษณะนี้ว่า “มิลตันโมเดล” (Milton Model) ตามผู้ที่เป็นต้นแบบของเทคนิคแบบนี้นั่นเอง

เทคนิคแบบมิลตันโมเดลนี้คืออะไร เขาใช้อะไรเป็นเครื่องมือในการบำบัด ทำไมผู้รับการบำบัดจึงรู้สึกดีขึ้น

คำตอบก็คือ “อารมณ์ขัน” นั่นเอง

ถ้าหากเรากล่าวย้อนไปถึงเรื่องเมต้าโมเดล ปัญหานั้นมาจากการสื่อสารของระบบประสาทที่บิดเบือนไปจากเหตุการณ์จริงดังนั้นเราจึงต้องใช้เทคนิคเมต้าโมเดลทำให้การสื่อสารนั้นมีชัดเจนถูกต้องตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น แต่สำหรับมิลตันโมเดลนั้นกลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม เพราะเราจะใช้อารมณ์ขันเข้าไปบิดเบือนการเสื่อสารให้มันผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง

ต้นเหตุก็มาจากว่า บ่อยครั้งที่ระบบประสาทของเราก็เสื่อสารทัศนคติเชิงลบที่มีอยู่ในระบบประสาทของเราออกมาอย่างตรงไปตรงมา โดยเฉพาะทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง เช่น

                “ผมโง่เลข”
                “ผมแก่เกินไป”
                “ผมมันอ้วน”
                “ผมเป็นคนปากเสีย”

และอีกสารพัดถ้อยคำเท่าที่สรรค์หามาตำหนิติเตียนหรือดูถูกดูแคลนตัวเองอย่างหน้าชื่นตาบาน ถ้อยคำเหล่านี้มีประโยชน์ตรงไหน เปล่าเลยมันไม่มีประโยชน์ต่อเราเลยแม้แต่น้อย ถ้อยคำเหล่านี้นอกจะไม่ช่วยปลุกเร้าให้เราเกิดการพัฒนาตัวเองแล้วมันยังมีแต่จะทำให้เราเกิดการยอมรับยอมจำนนต่อภาวะไม่พึงประสงค์เหล่านั้น

“ผมโง่เลข” ถ้าเราพูดซ้ำๆ พูดบ่อยๆ พูดทุกครั้งที่เราต้องใช้สมองคิดเลข ถ้อยคำนี้มันไม่ได้ปลุกใจให้เรารักพัฒนาทักษะการคิดเลขของเราขึ้นมาตรงไหน มีแต่จะปลูกฝังความคิดที่ว่าตัวเองโง่ให้ฝังลึกฝังแน่นลงในจิตใต้สำนึกของเราเสียมากกว่าอย่างอื่น ซึ่งมันก็ไม่ได้สร้างสรรค์หรือมีประโยชน์ตรงไหนเลย

เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วเราจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้มิลตัลโมเดลจัดการทัศนคติที่ไม่สร้างสรรค์แบบนี้ให้สิ้นซาก วิธีการนั้นง่ายมาก
  1. ขั้นตอนแรกเราจะต้องค้นหาให้พบว่าคำพูดติดปากที่ส่อถึงทัศนคติเชิงลบของเราคืออะไร “ผมโง่เลข” “ผมแก่เกินไปแล้ว” “ผมมันอ้วน” “ผมมันขี้เกียจ” “ผมเป็นคนปากเสีย” …ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามจงหามันให้พบ
  2. เมื่อค้นพบเป้าหมายแล้ว ต่อไปก็จงเปลี่ยนมันทันที ใช้อารมณ์ขันของเราให้เป็นประโยชน์ หาถ้อยคำอื่นๆ มาแทนที่คำที่ไม่สร้างสรรค์พวกนี้แล้วจงใช้ถ้อยคำที่สร้างสรรค์เหล่านี้ทดแทนถ้อยคำไม่สร้างสรรค์คำเดิมตลอดไป เช่น “ผมโง่เลข” ก็เป็น “ผมไม่ถนัดเรื่องคำนวณ” “ผมแก่เกินไปแล้ว” ก็เปลี่ยนเป็น “ผมเป็นคนผ่านประสบการณ์มาเยอะ” “ผมมันอ้วน” ก็เป็น “ผมเป็นสมบูรณ์” “ผมมันขี้เกียจ” ก็เปลี่ยนเป็น “ผมชอบความสะดวก” หรือ “ผมเป็นคนปากเสีย”ก็เปลี่ยนเป็น “ผมเป็นพูดตรง” อะไรทำนองอย่างนี้เป็นต้น
หลักจากที่เราใช้ถ้อยคำทดแทนที่สร้างสรรค์เหล่านี้แล้ว ระบบประสาทของเราก็จะได้รับการสื่อสารแบบใหม่ ทัศนคติที่สร้างสรรค์แบบใหม่ก็จะถูกปลูกฝังลงไปในจิตใต้สำนึกของเราแทนที่ทัศนคติเชิงลบแบบเดิมๆ ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไรเลยแม้แต่น้อย 



1 ความคิดเห็น: