เด็กติดเกมไม่ใช่เรื่องแค่ติดเกมหรือไม่ติดเกม?
ก่อนอื่นเราต้องทราบความจริงที่น่าประหลาดประการหนึ่งก่อนก็คือ "โดยธรรมชาติแล้วสมองของเด็ก 9 จะขวบมีปริมาณเซลล์สมองมากกว่าสมองของเด็ก 15 ขวบ"
ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น? เกิดอะไรขึ้นทำไมเซลล์สมองจึงลดจำนวนลงแทนที่จะเพิ่มจำนวนขึ้น? ธรรมชาติทำอะไรกับสมองของเด็ก?
คำอธิบายก็คือ .... เมื่อเด็กอายุ 9 ขวบ สมองของเด็กจะอัดแน่นไปด้วยเซลล์สมอง (Neurons) ปลายประสาท (Synapses) และวงจรประสาท (Neural Networks) จำนวนมาก มากเสียจนรกมากเกินไป ดังนั้นธรรมชาติจึงเริ่มกระบวนการสลายวงจรประสาทที่ไม่ค่อยได้ใช้งานทิ้งออกไปเสียบ้าง และอนุรักษ์วงจรประสาทที่ใช้งานบ่อยกว่าเอาไว้ (นี่เป็นเหตุผลว่าความทรงจำวัยเด็กของเรามันหยายไปไหนหมด)
หากเปรียบสมองเป็นเหมือนคอมพิวเตอร์กระบวนการนี้ก็คือการทำ Defragment ตัวเองครั้งใหญ่นั่นเอง
โดยเฉพาะกับสมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับการคาดการณ์ล่วงหน้า การวางแผน และการค้นหาทางเลือกด้วยเหตุและผล (สมองส่วนนี้ทำให้เรามีความแตกต่างออกไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป) จะเกิดกระบวนย่อยสลายที่ว่านี้ด้วยครั้งใหญ่
ดังนั้นในช่วงเวลานี้ถ้าเด็กคนไหนเองแต่เล่นเกมหรือทำแต่กิจกรรมที่ไม่ค่อยสร้างสรรค์การเรียนรู้ชีวิต สมองก็จะอนุรักษ์วงจรสำหรับกิจกรรมพวกนี้เอาไว้ โดยหันไปย่อยสลายวงจรประสาทสำหรับกิจกรรมอื่นๆ แทน
ดังนั้นสำหรับปัญหาเด็กติดเกมจึงไม่ใช่แค่เรื่องเด็กติดหรือไม่ติดเกม แต่เป็นเรื่องการสูญเสียความสามารถขั้นสูงบางประการของสมองส่วนหน้าไปอย่างไม่มีหวนกลับต่างหาก
อ้างอิงจาก : หนังสือ 100 ปีการ์ตูนไทย จากสยามคลาสสิกสู่ไทยโมเดิร์น ของนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ สำนักพิมพ์ มติชน
การสะกดจิต สะกดจิตบำบัด NLP เอ็นแอลพี จิตบำบัด สะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี โปรแกรมภาษาระบบประสาท
การสะกดจิต สะกดจิตบำบัด NLP เอ็นแอลพี จิตบำบัด สะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี โปรแกรมภาษาระบบประสาท
การสะกดจิต สะกดจิตบำบัด NLP เอ็นแอลพี จิตบำบัด สะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี โปรแกรมภาษาระบบประสาท
การสะกดจิต สะกดจิตบำบัด NLP เอ็นแอลพี จิตบำบัด สะกดจิตบำบัด เอ็นแอลพี โปรแกรมภาษาระบบประสาท
ศูนย์ให้คำปรึกษาและสะกดจิตบำบัด