วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

6 Step Reframe

อธิบายอย่างรวบรัดและตรงไปตรงมา เทคนิค 6 Step Reframe ใน NLP ก็คือเทคนิคการสะกดจิตตัวเอง (Self Hypnosis) แบบหนึ่งโดยเป็นแม่แบบ (Model) ที่ได้รับการถอดแบบมาจาก ดร.มิลตัน เอช. อีริคสัน ปรมาจารย์นักสะกดจิตบำบัดสมัยใหม่ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลกคนหนึ่ง

เทคนิค 6 Step Reframe เป็นเทคนิคที่นัก NLP ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้เป็นพฤติกรรมใหม่ที่ส่งเสริมให้บุคลิกภาพหรือการดำเนินชีวิตพัฒนาไปสู่จุดที่ดีกว่า

ทางเลือก (Choice)

มีหลักการพื้นฐานของ NLP ข้อหนึ่งกล่าวว่า “สำหรับทุกๆ ปัญหา การมีทางเลือกสำหรับใช้เป็นทางออกของปัญหานั้น ยิ่งมีมากก็ยิ่งดี” เรื่องนี้ถ้านึกถึงตอนที่เราออกไปซื้อของข้างนอกเราก็จะสามารถเข้าใจเรื่องนี้ได้ง่ายครับ

เช่นผมอยากได้รองเท้าออกกลังกายสักหนึ่งคู่ สมมุติว่าปัญหาของผมคือผมต้องการรองเท้าออกกำลังกายสำหรับไปรำมวยจีนที่สวนลุมซักหนึ่งคู่ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าผมไปที่ร้านขายรองเท้าแล้วพบว่าในร้านมีแต่รองเท้าแตะกับรองเท้าส้นสูง และถ้าเราลองบีบเงื่อนไขอีกว่าผมจำเป็นที่จะต้องเลือก ผลก็คงเป็นว่าผมอาจจะได้คีบรองเท้าแตะไปรำมวยจีนแน่ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เข้าท่าเลยด้วยประการทั้งปวง ดังนั้นมันจะดีกว่านี้อีกถ้ามันมีตัวเลือกอย่างอื่นอีกมากกว่าแค่รองเท้าแตะกับรองเท้าส้นสูง ยิ่งมีตัวเลือกให้เลือกมากเท่าไหร่ชีวิตของผมก็ยิ่งง่ายขึ้น เพราะความจริงแล้วคำตอบที่น่าเข้าท่าที่สุดสำหรับปัญหาของผมก็คือรองเท้ากีฬาพื้นบางดีๆ ซักคู่

วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดของความโชคดี

ถ้าคุณอยากโชคดี อยากให้ทุกๆ วันเป็นวันที่โชคดี วันที่มีความสุข ผมมีเทคนิค NLP ง่ายๆ มาให้ทดลองฝึกเป็นคนที่โชคดีกันดู แบบฝึกหัดนี้ทำไม่ยาก ขอเวลาเพียงวันละไม่ถึง 2 นาที (ลวกมาม่ายังไม่ทันจะอร่อยดี) แถมยังเป็น 2 นาทีที่เราไม่ค่อยจะได้ใช้ประโยชน์อะไรเป็นจริงเป็นจังอีกด้วย

เอาล่ะ เรามาเริ่มกันเลย ที่ผมอยากให้คุณทำก็คือ


1.  เมื่อตื่นนอนขึ้นมา จงบอกกับตัวเองทันที (หรือจะเดินไปบอกกับตัวเองในห้องน้ำโดยมองที่กระจกแล้วพูดกับตัวเอง) ว่า “ฉันเป็นคนที่โชคดีที่สุด! วันนี้เป็นวันที่โชดดีของฉัน! ไม่ว่าฉันจะทำอะไร ทุกอย่างมันโชคดี มันราบรื่น มันสำเร็จดังที่ฉันต้องการ เพราะว่าฉันเป็นคนที่โชคดีที่สุด!” จะพูดในใจหรือจะพูดออกเสียงมาดังก็ตามสะดวกครับ ขอให้อินกับสิ่งที่พูดก็พอ จากนั้นก็ใช้ชีวิตของคุณไปตามปรกติครับ

7 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จแบบ NLP (NLP Seven Steps to Success)

หลังจากใช้เวลาศึกษากลุ่มบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอยู่เป็นนานสองนาน นัก NLP ค้นพบว่าบุคคลที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเหล่านั้นมีอะไรหลายๆ อย่างที่เหมือนกัน ซึ่งเมื่อตัดประเด็นปลีกย่อยออกไปแล้วก็จะได้ Model หรือแม่แบบแห่งความสำเร็จออกมาชุดหนึ่ง (ทุกคนสามารถเอาไปใช้ทำตามได้ทันที) ซึ่งประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอนด้วยกัน

1.  เป้าหมาย! สิ่งที่เรียกว่าเป้าหมายนี้แทบจะเรียกว่าเป็นทั้งหมดของการประสบความสำเร็จก็ได้ครับ ลูกธนูนั้นไม่มีวันพุ่งเข้ากลางเป้าได้เลยถ้าคนยิงไม่รู้ว่าเป้าหมายของเขาอยู่ที่ไหน รถแข่งก็ไม่มีวันถึงเส้นชัยถ้าคนขับไม่รู้ไม่รู้เส้นชัยอยู่ไหน ชีวิตของคนเราก็เหมือนกันเราไม่สามารถประสบความสำเร็จใดๆ ได้เลยถ้าเราไม่รู้ว่าความสำเร็จของเราคืออะไร เช่นถ้าการประสบความสำเร็จของเราคือนักทำ Cup Cake ที่เก่งที่สุดในโลก การทำ Cup Cake ให้อร่อยที่สุดในโลกนั้นแหละคือเป้าหมายของเราครับ

The Switch

Switch หมายถึงการสลับสับเปลี่ยน สำรับ NLP แล้วเป็นเทคนิคแบบหนึ่งที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนสภาพอารมณ์ ความรู้สึก ตลอดจนทัศนะคติที่มีอยู่ในใจของบุคคล โดยจะค่อยๆ สร้างการเรียนรู้หรือประสบการณ์ใหม่เข้าไปแทนที่ประสบการณ์หรือสิ่งที่เรียนรู้เดิม

ทำอย่างไร

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Phobia ... ความกลัวที่ไร้เหตุผล

ความกลัวเป็นการตอบสนองทางระบบประสาทขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งของมนุษย์ สัญชาติญาณการเอาตัวรอดผลักดันให้ระบบประสาทสร้างสภาวะอารมณ์กลัวขึ้นเพื่อให้กระตุ้นให้มนุษย์หลีกห่างจากอันตรายหรือสิ่งที่อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่นเมื่อ 4 ล้านกว่าปีก่อนครั้งมนุษย์ยังคงดำรงอยู่ในป่าไม่ต่างไปจากลิง มนุษย์ย่อมถูกจระเข้คาบไปกินนักต่อนักแล้ว ดังนั้นเพื่อไม่ให้มนุษยชาติถูกจระเข้คาบไปกินจนหมด ระบบประสาทของมนุษย์จึงต้องสร้างสภาพอารมณ์กลัวขึ้นทุกครั้งที่มนุษย์มองเห็นจระเข้หรือระแคะระคายว่าอาจจะมีจระเข้อยู่บริเวณนี้

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แมลงวัน

เวลานั่งทานข้าวเคยเจอแมลงวันมาตอมให้รำคาญใจเล่นหรือเปล่าครับ แล้วตอนนั้นรู้สึกอย่างไรทั้งกับเหตุการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ (คือกำลังทานข้าว) และเจ้าแมลงวันเจ้าปัญาตัวนั้น

แล้วเจ้าแมลงวันล่ะ มันจะคิดอย่างไร

นี่เป็นตัวอย่างง่ายๆ ของ Multiple Perceptual Positions ใน NLP ซึ่งว่าด้วยทุกสิ่งทุกอย่างย่อมตีความหมายต่อการสื่อสารด้วยทัศนคติและความรู้สึกที่แตกต่างกันเพราะอยู่ในตำแหน่งหรือมุมที่แตกต่างกัน จากเหตุการณ์เดียวกันคือบนโต๊ะอาหาร ในขณะที่มนุษย์คิดว่า “แมลงวันสกปรก น่ารำคาญ ไปให้พ้นซะทีซิโว้ยจะกินข้าว” แมลงวันกลับคิดว่า “ปลาทอดตัวนั้นน่ากินจัง ฉันหิว ขอกินหน่อย จะมาปัดฉันทำไมนะไอ้คนพวกนี้ ฉันกินนิดเดียวกินไม่หมดหรอกพวกมนุษย์นี่จะงกไปทำไม”

...แล้วปลาทอดที่กำลังจะโดนกินล่ะ ถ้ามันยังคิดได้มันคิดว่าอะไร

วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ผมเพิ่งกลับมาจากลัดดาแลนด์ (ตอนที่ 1)

ในฐานะของนัก NLP ผมค้นพบว่าครอบครัวของตัวละครในเรื่องลัดดาแลนด์นี้ล้มเหลวที่สุดก็คือเรื่องของการ “สื่อสาร” ความยากลำบากนานาประการที่ครอบครัวนี้เผชิญความจริงมันไม่ได้เกิดจากผีๆสางๆในหมู่บ้านหรอกครับ แต่มันเกิดจากการสื่อสารที่ผิดพลาดของคนในบ้านนั้นต่างหาก (ผีเป็นแรงเสริมที่ทำให้ทุกอย่างมันพังเร็วขึ้นเท่านั้น)