วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

6 Step Reframe

อธิบายอย่างรวบรัดและตรงไปตรงมา เทคนิค 6 Step Reframe ใน NLP ก็คือเทคนิคการสะกดจิตตัวเอง (Self Hypnosis) แบบหนึ่งโดยเป็นแม่แบบ (Model) ที่ได้รับการถอดแบบมาจาก ดร.มิลตัน เอช. อีริคสัน ปรมาจารย์นักสะกดจิตบำบัดสมัยใหม่ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลกคนหนึ่ง

เทคนิค 6 Step Reframe เป็นเทคนิคที่นัก NLP ใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ให้เป็นพฤติกรรมใหม่ที่ส่งเสริมให้บุคลิกภาพหรือการดำเนินชีวิตพัฒนาไปสู่จุดที่ดีกว่า


โดยสรุปแล้วการทำ 6 Step Reframe จะเป็นการสะกดจิตโดยชักนำให้ผู้ถูกสะกดจิตติดต่อเสื่อสารกับตัวตนภายในของเขาซึ่งก็คือ “จิตใต้สำนึก” (Subconscious Mind) นั้นเอง เพื่อให้จิตใต้สำนึกเกิดการเรียนรู้และยอมรับว่าพฤติกรรมเดิมนั้นไม่มีประโยชน์ หรือถึงมีประโยชน์ก็มีน้อยเห็นสมควรให้ยอมรับและสร้างพฤติกรรมใหม่ที่ดีกว่าขึ้นมาแทนที่เพื่อการพัฒนาคุณภาพหรือความสำเร็จในชีวิตที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป โดยการทำ 6 Step Reframe จะมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้

1.  ระบุความชัดเจน โดยระบุให้ชัดเจนว่าคุณ (หรือผู้รับการสะกดจิต) ต้องการแก้ไขพฤติกรรมใด หรือพฤติกรรมตัวใดคือปัญหาของคุณ

2.  เซ็ทอัพระบบ ขั้นตอนนี้ทำการเชื่อมต่อจิตสำนึกเข้ากับจิตใต้สำนึก โดยจิตนาการถึงภาพ เสียง หรือสัมผัสที่เป็นการเสื่อสารตอบสนองออกมาจากส่วนลึก (จิตใต้สำนึก) ในตัวคุณ ยิ่งการตอบสนองจากภายในเสื่อสารออกมาได้อย่างชัดเจนก็ยิ่งเป็นผลดีต่อการปฏิบัติภาระกิจของเร

3.  ค้นหา ต่อไปเราจะถามต่อจิตใต้สำนึกของเราว่า พฤติกรรมเดิมนั้น จิตสำนึกเราเห็นว่าไม่ดีไม่มีประโยชน์ควรได้รับการปรับปรุง จิตใต้สำนึกนั้นมีความเห็นอย่างไร เห็นว่าพฤติกรรมนี้มีประโยชน์ต่อตัวเองหรือไม่อย่างไร (ขั้นตอนนี้เรากำลังสร้างการยอมรับในระดับจิตใต้สำนึกว่าพฤติกรรมเก่านั้นควรได้รับการเปลี่ยนแปลง

4.  สร้างใหม่ เมื่อได้รับคำตอบจากจิตใต้สำนึกแล้วต่อไปเราจะถามกับจิตใต้สำนึกว่ามีพฤติกรรมใหม่แบบใดบ้างที่สามารถนำมาทดแทนพฤติกรรมเก่านี้ได้เพื่อให้ชีวิตของเราเจริญก้าวหน้าหรือมีความสุขความสำเร็จมากกว่าที่มีอยู่ หากจิตใต้สำนึกไม่ข้อเสนอใดๆ เราอาจจะเสนอพฤติกรรมใหม่ที่เราต้องการให้กับจิตใต้สำนึก

5.  ตรวจสอบ ใช้จิตใต้สำนึกตรวจสอบดูอีครั้งว่าพฤติกรรมใหม่นั้นมีสิ่งใดที่อาจจะเป็นปัญหาหรือไม่ (ขั้นตอนนี้เรากำลังสร้างการยอมรับในระดับจิตใต้สำนึกว่าพฤติกรรมใหม่นั้นสมควรที่ได้รับการยอมรับ)

6.  ยอมรับ ในขั้นตอนสุดท้ายนี้เราจะขอการยอมรับต่อพฤติกรรมใหม่ต่อจิตใต้สำนึก โดยให้จิตใต้สำนึกยอมรับเอาพฤติกรรมใหม่นี้มาใช้แทนที่พฤติกรรมเดิม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น