วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

เมื่อรายละเอียดบางอย่างมันหายไป

NLP เปรียบเทียบการรับรู้ของมนุษย์เหมือนกับคนที่พยามมองดูภูเขาผ่านทางแผนที่ของภูเขาลูกนั้นแทนที่จะเงยหน้าขึ้นมามองภูเขาลูกนั้นโดยตรง สาเหตุก็เพราะว่า เมื่อเรารับรู้ต่อเหตุการณ์ใดก็ตามรายละเอียดที่แท้จริงของเหตุการณ์นั้นมันย่อมมีมากเกินกว่าที่ระบบประสาทของเราจะสามารถรับรู้ได้ทั้งหมด ดังนั้นระบบประสาทจึงเลือกที่จะรับรู้เอาเฉพาะส่วนที่มันคิดว่าสำคัญแทน

ซึ่งมาตรฐานการตัดสินใจว่าอะไรคือเรื่องสำคัญที่จำเป็นจะต้องเก็บรายละเอียดเอาไว้หรือรายละเอียดปลีกย่อยตัวไหนไม่สำคัญเราไม่ต้องรับรู้มันของแต่ละบุคลคลย่อมมีความแตกต่างกันตามแต่ประสบการณ์ ความเชื่อ และค่านิยมที่ตัวเองมีอยู่

เรื่องการสนใจรับรู้แต่สิ่งที่สำคัญโดยละเลยสิ่งที่ไม่สำคัญนี้มันกลไกพื้นฐานของมนุษย์เราอย่างแท้จริง ที่พูดแบบนี้ก็เพราะว่าไม่ว่าสิ่งๆ นั้นจะเป็นเรื่องง่ายๆ เป็นเรื่องที่มีรายละเอียดน้อยขนาดไหนก็ตาม เราก็ยังไม่ว่ายที่จะไม่รับรู้หรือใส่รายละเอียดทั้งหมดของเหตุการณ์นั้นอยู่ดี

มาถึงตรงนี้อาจจะมีคนแย้งว่าไม่จริง หรือไม่เห็นด้วย ถ้าสิ่งที่กำลังรับรู้เป็นสิ่งมีรายละเอียดมากๆ อย่างภูเขาทั้งลูกมันก็ยังเข้าในได้ว่าระบบประสาทของเราจำเป็นที่จะต้องตัดรายละเอียดการรับรู้บางส่วนออกไปบ้าง แต่สำหรับสิ่งมีรายละเอียดน้อยๆ อยู่แล้วมันจะเป็นไปได้อย่างไรที่เรายังจะไม่ได้รับรู้รายละเอียดทั้งหมดอีก

ถ้าอย่างนั้นเรามาลองดูตัวอย่างต่อไปนึ้ครับ

มันเป็นกฎง่ายๆ ที่ว่าสิ่งใดก็ตามที่ระบบประสาทของเรารับรู้แล้วมันจะถูกบันทึกเข้าไว้ในความทรงจำ สิ่งใดที่เรารับรู้บ่อยๆ เราย่อมมีความทรงจำต่อสิ่งนั้นอย่างชัดเจน

ผมคิดว่าคนใช้อินเตอร์เน็ตทุกวันนี้ไม่มีใครไม่เคยใช้ Google นะครับ ทุกวันนี้พวกเราใช้ Google กันบ่อยๆ ใช้กันแทบจะทุกวัน ดีไม่ดีคุณเองก็เพิ่งปิดหน้า Google ไปเมื่อครู่นี้เองด้วยซ้ำ แถมหน้าตาของ Google ก็ยังจำง่าย มันดูเรียบง่าย ไม่มีรายละเอียดหรืออะไรที่เกินจำเป็นเลย

แบบนี้พอผมถามว่าหน้าแรกของ Google เป็นอย่างไร ผมคิดว่าทุกคนคงนึกออกอย่างแน่นอน

ทีนี่ผมจะของขยายคำถามให้มีรายละเอียดมากขึ้นอักซักหน่อย

มีใครจำได้ว่าคำว่า Google ในหน้าแรกนั้น “มันมีสีอะไรบ้าง และมันเรียงสีกันอย่างไร” ผมแถมคำใบ้ให้อีกนิดโดยการให้คุณมองภาพ Google ที่อยู่ข้างล่างนี้ (ซึ่งผมได้ทำให้มันเป็นสีขาวดำไปเรียบร้อยแล้ว) แล้วตอบมาว่าแต่ละตัวอักษรที่คุณอยู่ทุกวัน เห็นอยู่วันละบ่อยๆ นี้มันมีสีอะไรกันบ้าง



ถ้าคุณตอบว่า “ฉันจำไม่ได้” ก็ไม่แปลกหรอกครับ และขอให้ทราบเถอะครับว่ามีน้อยคนมากที่จำได้ในทันทีว่าตัวอักษรคำว่า Google เหล่านี้แต่ละตัวมันมีสีอะไรกันบ้าง

นั่นก็เพราะว่าระบบประสาทของเรามันเลือกที่จำในสิ่งที่มันสำคัญเท่านั้น ใครล่ะจะไปสนใจว่าจำตัวอักษรคำว่า Google ว่ามันมีสีอะไรกันบ้าง เพราะการที่คุณรู้หรือไม่รู้เรื่องพวกนี้มันไมได้มีผลอะไรกับตัวคุณหรือการใช้งาน Google ของคุณเลย เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วถึงแม้ว่าหน้า Google จะมีรายละเอียดน้อยอยู่แล้วแต่ระบบประสาทของเรามันก็ยังไม่วายที่ตัดส่วนที่มันเห็นว่าไม่สำคัญทิ้งไปจากการรับรู้ของเรา สำหรับแผนที่การรับรู้ที่เรามีต่อ Google จึงไม่เรื่องของสีในแต่ละตัวอักษรอยู่เลย

ของที่เราเห็นกันทุกวันๆ มันก็เลยเหมือนไม่เคยเห็น

นี่ก็คือตัวอย่างง่ายๆ ของคำว่า “แผนที่ไม่ใช่พื้นที่จริง” ของ NLP ครับ เมื่อมนุษย์รับรู้ต่อเหตุการณ์ใด พวกเขารับรู้ได้เฉพาะสิ่งที่เขาเห็นว่ามันมีความสำคัญ มีประโยชน์ หรือมีความเกี่ยวข้องกับตัวเขาเท่านั้นส่วนอย่างอื่นจะข้ามไปจนหมด ดังนั้นอย่าแปลกใจที่คนหลายคนจะตีความหมายต่อเหตุการณ์เดียวกันออกไปคนละทางสองทาง

นั่นก็เพราะว่ารายละเอียดหรือแผนที่ๆ พวกเขาเห็นมันไม่เท่ากันครับ



หมายเหตุ : ความจริงผมได้ไอเดียของตัวอย่างนี้มาจาก 9gag.com






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น