วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

จิตบำบัด (Psychotherapy)

จิตบำบัด คือ การบำบัดรักษาอารมณ์และจิตใจหรือบุคลิกภาพที่ผิดปกติ โดยวิธีทางจิตวิทยา เพื่อบรรเทาปัญหาและความผิดปกติของผู้ป่วยและทำให้ผู้ป่วยมีวุฒิภาวะที่ดีขึ้น มีความพึงพอใจและพึ่งตนเองได้ ปัจจัยสำคัญในการบำบัดรักษาที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บำบัดรักษากับผู้ป่วย โดยให้ผู้ป่วยได้รับประสบการณ์ที่ดีโดยผ่านกระบวนการความสัมพันธ์นี้ ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกว่าเขาสามารถที่จะแลกเปลี่ยนความรู้สึก ความคิด ทัศนคติและประสบการณ์กับผู้ให้การบำบัดได้ และในขณะเดียวกันผู้ให้การบำบัดก็จะต้องให้ความอบอุ่น เข้าใจ ยอมรับ ให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ ไม่ตำหนิผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวใด ๆ ต้องเคารพในตัวผู้ป่วย และยอมรับในคุณค่าของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

พื้นฐานการให้คำปรึกษา (ตอนที่ 2)

เคยมีคำกล่าวเอาไว้ว่าความประทับใจครั้งแรกนั้นเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ กระบวนการการให้คำปรึกษาก็เช่นกัน ความไว้เนื้อเชื่อใจและความสบายใจที่จะยอมเปิดเผยเรื่องราวของตนเองให้ผู้ให้คำปรึกษาฟังนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เข้ารับการให้คำปรึกษาจะต้องมี ซึ่งทั้งนี้เป็นหน้าที่ของผู้ให้คำปรึกษาว่าจะสร้างความสัมพันธ์กับผู้ที่มารับบริการนับตั้งแต่วินาทีแรกที่เจอหน้ากันอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการเห็นหน้ากันโดยตรง หรือเพียงแค่ได้ยินเสียงทางโทรศัพท์ การแสดงออกของผู้ให้คำปรึกษาในเวลานั้นจะสามารถส่งผลต่อความรู้สึกของผู้เข้ารับการให้คำปรึกษาอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นลักษณะท่าทาง ภาษากาย น้ำเสียง ในระหว่างการให้คำปรึกษานั้นผู้ให้คำปรึกษามีหน้าที่ที่จะต้องสร้างบรรยากาศในการรับฟังที่ดี ให้ผู้เข้ารับการให้คำปรึกษาสามารถถ่ายทอดความรู้สึกออกมาให้ได้มากที่สุด ถ้าพบว่าเขามีปัญหาหลายเรื่อง ผู้ให้คำปรึกษาจะต้องรับฟังและรวบรวมข้อมูลและสรุปปัญหาเป็นเรื่อง ๆ ไป ซึ่งควรจะให้ผู้เข้ารับการให้คำปรึกษาเป็นผู้เลือกว่าเขาต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องใดก่อน-หลัง

ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้นว่าหัวใจข้อแรกของการให้คำปรึกษาคือการเข้าถึงจิตใจของผู้เข้ารับการให้คำปรึกษา ซึ่งการจะเข้าถึงหัวใจข้อนี้ได้นั้นผู้ให้คำปรึกษาจะต้องมีทักษะสำคัญได้แก่ ทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ เพื่อทำให้ผู้เข้ารับการให้คำปรึกษากล้าที่จะเล่าเรื่องราวของตนเองมากขึ้น สำหรับการรับฟังอย่างตั้งใจนั้นมีส่วนประกอบที่ดีดังต่อไปนี้

พื้นฐานการให้คำปรึกษา (ตอนที่ 1)

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าในสังคมปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงและการเสื่อมของศีลธรรมเริ่มมาเยือนมนุษย์มากขึ้นเช่นนี้ก่อให้เกิดความเครียดต่าง ๆ นานาในจิตใจของคนหลาย ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน การเงิน ความรัก ครอบครัว เพื่อน สังคม ฯลฯ คนบางคนรู้ว่าปัญหาของตนเองคืออะไรและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับปัญหานั้น ๆ แต่ก็มีอีกหลายคนที่ยังไม่สามารถค้นพบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดความทุกข์ที่วนเวียนอยู่ในจิตใจไม่รู้จบจนบางรายกระทบไปถึงสุขภาพกายก็มี ดังนั้นการช่วยเหลือทางด้านจิตใจหรือการให้คำปรึกษานั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสังคมกับสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อมีการสำรวจว่าคนไทยมีความเครียด และอัตราการตายสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Fromm: แนวคิดสำคัญ (ตอนที่ 2)

Fromm มีความเชื่อมั่นว่า ระบบสังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างสูงเป็นนักจิตวิทยาด้านจิตวิเคราะห์ที่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านสังคมวิทยา และจาก ประสบการณ์ชีวิตที่ Fromm เป็นชาวยุโรปที่อพยพมาอยู่ อเมริกา ทำให้ Fromm ได้เห็นความแตกต่างระหว่างสังคมยุโรปกับสังคมอเมริกา

Fromm จึงมีความเชื่อมั่นอย่างมากว่า ระบบสังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและลักษณะบุคลิกภาพของมนุษย์เป็นอย่างสูง
ความรู้และประสบการณ์ของเขา ทำให้เขาได้อธิบายลักษณะสังคมแบบต่างๆ ที่มีผลต่อการรูปแบบพฤติกรรมของบุคคลในสังคมนั้นๆ

Fromm: แนวคิดสำคัญ (ตอนที่ 1)

Fromm ให้ความสำคัญและอธิบายแนวคิดทางบุคลิกภาพว่า บุคลิกภาพใดๆ ของบุคคล ย่อมถูกกล่อมเกลาให้กลมกลืนกับค่านิยม, ความเชื่อและประเพณีซึ่งเป็นโครงสร้างของสังคมนั้นๆ Fromm มีความเชื่อมั่นว่า ระบบสังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างสูง

แนวคิดของ Fromm เป็นแนวคิดที่ผสมผสานกันระหว่างแนวคิดของ Sigmund Freud กับ Karl Marx ในหนังสือของ Fromm Fromm ได้เปรียบเทียบความคิดของ Sigmund Freud กับ Karl Marx และแสดงความนิยมความคิดเห็นของ Karl Marx มากกว่าความคิดของ Freud จนได้รับการกล่าวถึงว่า เป็นนักทฤษฎีบุคลิกภาพแบบมาร์กซ์ (Marxian Personality Theorist) แต่ Fromm ได้เรียกทฤษฎีของเขาว่า "Dialectic Humanist" แนวคิดสำคัญของ Erich Fromm มีดังนี้

Sullivan: การเกิดของบุคลิกภาำพ

Sullivan มีความเชื่อเช่นเดียวกับนักจิตวิทยาทฤษฎีบุคลิกภาพท่านอื่นๆ ว่า "ลักษณะของบุคลิกภาพถูกหล่อหลอมมาจาก ความกดดันทางกายและทางจิต และการหาทางปลดปล่อยตนเองให้เป็นอิสระจากความกดดันเหล่านั้น" ใครมีบุคลิกภาพเช่นใด ขึ้นอยู่กับว่าเขาใช้วิธีใดในการขจัดความกดดัน

Sullivan: ทฤษฎีการพัฒนาบุคลิกภาำพ

ทฤษฎีขั้นตอนการพัฒนาบุคลิกภาพตามแนวคิดของ Sullivan ไม่ได้โด่งดังเหมือนทฤษฎีขั้นตอนในการพัฒนา "Psychosexual Stage" ของ Freud, "Psychosocial Stage ของ Erik Erikson หรือ "Cognitive Development" ของ Jean Piaget

ทฤษฎีขั้นตอนในการพัฒนาบุคลิกภาพของ Sullivan เน้นสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเป็นแกนนำ คำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ Sullivan บอกว่า ศึกษามาจากบุคคลในวัฒนธรรมคอเคเชี่ยน(คือชาวยุโรปและอเมริกัน) ดังนั้นขั้นตอนการพัฒนาเหล่านี้อาจไม่ตรงหรือสอดคล้องเป็นจริงในวัฒนธรรมอื่น ขั้นตอนการพัฒนาการประกอบด้วย 7 ขั้นตอนคือ 

Sullivan: โครงสร้างบุคลิกภาำพ

Sullivan อธิบายว่าบุคลิกภาพของบุคคลที่มีหลากหลายลักษณะนั้น เป็นผลมาจาก "ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล" ซึ่งบุคคลที่ว่านี้อาจเป็นบุคคลที่เป็นผู้มีตัวตนเลือดเนื้อจริงๆหรืออาจเป็นบุคคลที่ไม่มีตัวตนจริงแต่มีอยู่ในจินตนาการ เช่น บุคคลในประวัติศาสตร์, ดารา นักแสดงที่ชื่นชอบ, นวนิยาย

Sullivan ได้อธิบายว่า เป็นการยากที่จะกำหนดลงไปว่า โครงสร้างของบุคลิกภาพมีส่วน ประกอบอะไรบ้าง เพราะส่วนต่างๆ ของโครงสร้างบุคลิกภาพของบุคคลแต่ละคน เช่น ค่านิยม, ลักษณะอารมณ์, ความใฝ่ฝัน, เจตคติ, ความเชื่อ, ความปรารถนาในชีวิต ฯลฯ ล้วนก่อ กำเนิดมาจากความสัมพันธ์ที่บุคคลมีต่อคนอื่นทั้งสิ้น ซึ่งมีความซับซ้อนของมิติต่างๆ ในส่วนประกอบของบุคลิกภาพ แต่ Sullivan ก็ได้กำหนดโครงสร้างของบุคลิกภาพไว้อย่างกว้าง ๆ เป็น 3 ลักษณะคือ

Karen Horney: การบำบัดจิต

คนที่เป็นโรคประสาทจะรู้สึกแปลกแยกจากตัวเองและผู้อื่น พวกเขายอมรับเอกลักษณ์จากตัวเองในอุดมคติและกลายเป็นคนเสแสร้ง ซึ่งไม่ต้องการให้ใครรู้ความลับว่าตัวเองมีข้อจำกัดอะไรบ้าง ฮอร์ไนมีความเชื่อว่าวิถีทางเดียวที่คนเป็นโรคประสาทจะตระหนักในศักยภาพที่แท้จริงของตัวเอง ต้องขจัดการหลอกตัวเองว่าตนแน่และขจัดเป้าหมายหลอกๆ กระบวนการขจัดอุปสรรคต่อการพัฒนาเป็นหนทางที่ยาวนานและยากลำบาก ทั้งนี้เพราะคนไข้ตั้งเป้าที่จะปกป้องโลกมายาของเขา ในขณะที่บำบัดทางจิตก็ต้องพยายามขจัดตัวตนในอุดมคติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตัวตนที่แท้จริง

Karen Horney: Defense Mechanism

ฮอร์ไนได้กล่าวถึงกลไกในการป้องกันตัวเอง 7 อย่าง ซึ่งพวกที่เป็นโรคประสาทใช้แก้ความขัดแย้งในใจและแก้ปัญหามนุษยสัมพันธ์ ดังต่อไปนี้

1. จุดบอด (Blind spots) หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมคนเป็นโรคประสาทจึงไม่สามารถรับรู้ว่ามีความแตกต่างระหว่างตัวตนที่แท้จริงกับตัวตนในฝัน พวกเป็นโรคประสาทดูเหมือนจะมีจุดบอด (blind spots) ซึ่งปิดกั้นไม่ให้เห็นความขัดแย้งที่เห็นชัด ตามความคิดเห็นของฮอร์ไน เหตุผลก็คือพวกเป็นโรคประสาทมักจะชินชาอย่างมากต่อประสบการณ์ พวกเขาไม่รู้สึกอีกแล้ว

Karen Horney: ความรู้สึกแปลกแยกและตัวตนในอุดมคติ

ฮอร์ไนกล่าวว่า สภาพแวดล้อมที่ไม่ดี ทำให้คนเสียความเชื่อมั่นที่แท้จริง และขับให้คนต้องใช้กลไกในการป้องกันตัวเอง เพื่อเผชิญกับผู้อื่น เนื่องจากบุคคลเหล่านี้ใช้พลังทางจิตส่วนใหญ่ในการปกป้องสภาวะจิตของตัวเอง จึงไม่มีการพัฒนาตัวตนที่แท้จริง สำหรับพวกเขาความปลอดภัยมีความสำคัญมากที่สุด ทำให้ความรู้สึกและความคิดลึกๆ ไม่ได้รับคารมแจ่มชัด จนทำให้บุคคลคนนั้นรู้สึกเบลอ จนทำให้ไม่ได้เป็นนายของชีวิตตนเอง และถูกความต้องการแบบประสาทผลักดันความรู้สึกแปลกแยกจากตัวตนที่แท้จริง ทำให้คนต้องวิ่งหาความมั่นคงและเอกลักษณ์ด้วยการคิดว่าตัวเองสำคัญและมีคุณค่า

Karen Horney: บุคลิกภาพของคนที่มีแนวโน้มเป็นโรคประสาท

แม้ฮอร์ไนจะเชื่อว่าโรคประสาทที่เธอได้กล่าวถึง 10 ประเภทนั้นมีเหตุผล แต่เธอก็คิดอีกว่า โรคเหล่านั้นมีอาการที่ซ้ำซ้อน ดังนั้นเธอจึงได้สรุปออกมาเป็น 3 ประเภท คือ การยอมทำตาม (compliant) ความก้าวร้าว (aggression) และความเหินห่าง (detached)

1. บุคลิกประเภทยอมทำตาม (compliant)

บุคลิกทุกประเภทที่ส่งเสริมการเข้าหาและเอาใจเป็นบุคลิกแบบยอมทำตาม (Compliant type) บุคคลดังกล่าวมีความต้องการแบบประสาทในการหาความรักและการเห็นชอบ ต้องการให้มีคนมาควบคุมชีวิตเขา และอยากอยู่อย่างมีข้อจำกัด ฮอร์ไนเห็นว่าบุคคลประเภทนี้ต้องการให้เป็นที่ชื่นชอบ เป็นที่ต้องการเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นชม อยู่ในการปกป้องและถูกคนจูงอยู่เรื่อย (moving toward people) ผลก็คือว่า เขาจะไม่ยืนหยัดในตัวเองและยอมคนอื่น มักจะไม่ค่อยเห็นคุณค่าและความสามารถของตัวเอง บุคคลประเภทยอมคนจะพยายามอย่างยิ่งในการเอาใจผู้อื่น เพื่อให้คนอื่นเห็นพ้องกับตน สิ่งที่จะทำร้ายบุคคลดังกล่าว คือการวิพากษ์วิจารณ์ การปฏิเสธและการทอดทิ้ง พวกเขาจะใช้วิธีที่น่าสงสารที่สุดในการต่อสู้เพื่อขอคืนดีกับคนที่ทำร้ายเขา

Karen Horney: Neurotic Needs

นการแก้ปัญหาความไม่มั่นใจ การถูกโดดเดี่ยวและความรู้สึกเป็นศัตรูซึ่งมีอยู่ในความร้อนรนใจขั้นพื้นฐาน เด็กมักจะใช้เจตคติป้องกันตัวเอง วิธีการปกป้องตัวเองชั่วคราวเหล่านี้จะทำให้ปวดร้าวน้อยลงและทำให้รู้สึกปลอดภัย ฮอร์ไนได้เรียกการปกป้องตัวเองเหล่านี้ว่า neurotic needs หรือ การต่อสู้เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ความต้องการเหล่านี้ต่างกับความต้องการธรรมดา เพราะมีแรงขับ ไม่ยืดหยุ่น และใช้ไม่เลือกเพราะมันไร้สำนึก(ไม่รู้ตัว) ฮอร์ไนได้กล่าวถึง neurotic needs 10 ประการ ดังนี้

Karen Horney: ที่มาของโรคประสาท

 พ่อแม่มักได้ค่านิยมจากสังคมและนำมาใช้กับลูกๆ ดังนั้นความสัมพันธ์ในครอบครัวจึงมักจะเต็มไปด้วยการแข่งขัน ทำให้คนเป็นโรคประสาท เจตคติและพฤติกรรมของพ่อแม่ที่ชอบแข่งขัน ซึ่งทำให้เกิดความสัมพันธ์ ที่ไม่ราบรื่น จะมีตั้งแต่ "การครอบงำโดยตรงและโดยทางอ้อม ไม่สนใจพฤติกรรมไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่ให้เกียรติลูกและไม่สนใจความต้องการของลูก ไม่สั่งสอนลูกด้วยการแนะแนวทาง ดูถูกเหยียดหยามลูก ไม่ให้ความอบอุ่น เย็นชา ลูกต้องเลือกข้างเมื่อพ่อแม่ทะเลาะกัน ลูกถูกโดดเดี่ยวจากเด็กอื่น ไร้ความยุติธรรม กีดกันกลั่นแกล้ง ไม่ทำตามสัญญา มีบรรยากาศที่เป็นศัตรูต่อกันฯลฯ ตามปกติปัญหาโรคประสาทจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีตัวแปรหลายตัวที่กล่าวมาช่วยกันซ้ำเติม ลำพังตัวแปรเดียวคงไม่พอที่จะทำให้ป่วยได้

Karen Horney: หลักการ

ตามความคิดของฮอร์ไน การแข่งขันกันอย่างมาก (hypercompetitiveness) เป็นความต้องการที่ไม่รู้จักแยกแยะในการเอาชนะและหลีกเลี่ยงความพ่ายแพ้ด้วยทุกวิถีทางเพื่อปกป้องความรู้สึกว่าตัวเองยังมีค่าอยู่ หมายความว่าผู้ชอบแข่งขันจะมีความต้องการจัดการ มีความก้าวร้าว มีการเอารัดเอาเปรียบและความต้องการสร้างความเสียหายในหลายๆ สถานการณ์ ฮอร์ไนกล่าวว่าความแข่งขันการอย่างผิดปกตินี้เป็นแกนสำคัญของวัฒนธรรมอเมริกัน และมีผลร้ายต่อพัฒนาการและการปฏิบัติการของบุคคลเป็นอย่างยิ่ง

Karen Horney: ชีวประวัติ

คาเร็น ฮอร์ไน (Karen Horney) เกิดในปี 1885 ที่หมู่บ้านแบลงเค็นนิส (Blankenese)ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งทางเหนือของแม่น้ำเอ็ลป์ (Elbe River) ห่างจากทางตะวันตกของกรุงแฮมเบอร์ก เยอรมันประมาณ 12 ไมล์ คุณพ่อของเธอช อ เบอร์นท์ แวคเกลส์ (Berndt Wackels) เป็นกัปตันเรือ ซึ่งเป็นลูกจ้างของบริษัทเดินเรือขนาดใหญ่ในกรุงแฮมเบอร์ก แม่ของฮอร์ไนชื่อ คลอทิลเด วอง รอนเซ็ลเล็น (Clotilde van Ronzenlen) กัปตันแวคเกลส์มีอายุมากกว่าภรรยา 18 ปี เคยมีลูกติด 4 คน เขามีลูก 2 คนกับแม่ของคาเร็น เขามีลูกชายเป็นคนแรกและ 4 ปีให้หลังก็กำเนิดคาเร็น

George Kelly: การบำบัดจิต

นักบำบัดควรตีความบทบาทของตัวเองอย่างกว้าง ๆ ถ้าผู้ป่วยเห็นว่าการบำบัดมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยเท่านั้น ผู้บำบัดก็ควรเริ่มจากข้อคิดวงแคบ ๆ เพื่อให้คนไข้เริ่มเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง

George Kelly: Personality Development

Kelly คิดว่าการที่คนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดการเติบโตส่วนบุคคล หรือ personal growth โดยที่มนุษย์จะคิดโดยคิดอย่างเฉพาะตัวและเป็นระบบ แล้วจึงใช้ความคิดเหล่านี้ไปคาดการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเขา พวกเขาใช้ประสบการณ์ที่แล้ว ๆ มาในการสร้างสมมติฐานเกี่ยวกับผลใหม่ที่อาจเกิดขึ้น

George Kelly: The Fundamental Postulate and Its Corollaries

สมมติฐานขั้นพื้นฐานของทฤษฎีของ Kelly คือ "กระบวนการความคิดของคนถูกวางแนวโดยจิตใตด้วยวิธีที่เขาคาดการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์) เพราะว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการกระทำและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มนุษย์ปฏิบัติการโดยอาศัยการคาดหวังเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือความคาดหวังเป็นตัวกำกับพฤติกรรม ความคาดหวังทำให้เกิดแรงจูงใจของพฤติกรรม ทฤษฎีขั้นพื้นฐานของ Kelly นี้ได้สร้างข้อคิดหรือ corollaries ขึ้นมาซึ่งมีดังต่อไปนี้

Alfred Adler: บุคลิกสี่ประเภท

Adlerได้ใช้วิธีการแบ่งประเภทของคนที่เข้าใจง่ายเกี่ยวกับบุคคลิกที่มีสุขภาพจิตดีและบุคคลิกที่มีสุขภาพจิตไม่ดี เขาจำแนกประเภทของบุคลิกด้วยความลังเลใจ เพราะเขาไม่ได้นึกถึงมนุษย์ในฐานะที่เป็นประเภท แต่เขานึกถึงมนุษย์ว่าแต่ละคนนั้นมีวิถีชีวิตพิเศษไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม เขาก็คิดว่าการจัดประเภทของบุคคลให้คุณประโยชน์ทางการศึกษาและเขาก็เสนอประเภทของบุคคลิกเหล่านี้ด้วยการให้เหตุผลตามที่กล่าวมา


Alfred Adler: พัฒนาการของวิถีชีวิตที่สร้างสรรค์

ตามความคิดของ Adler บุคคลที่มีสุขภาพจิตที่ดี คือ บุคคลที่พ่อแม่เลี้ยงดูด้วยการให้เกียรติลูกและเข้าใจลูก Adler เชื่อว่าหากเด็กเติบโตขึ้นมาในสภาวะแวดล้อมแบบนี้ บุคคลจะสามารถเข้าใจเรื่องความสำคัญของความเสมอภาคและสามารถให้ความร่วมมือกับผู้อื่นในการสร้างเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ต่อสังคม Adler ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเป้าหมายดังกล่าว สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วยหลักการเช่น ความซื่อสัตย์เป็นนโยบายที่ดีที่สุดหรือจงกระทำต่อผู้อื่นเหมือนกับที่คุณต้องการให้เขากระทำต่อคุณ หรือเป้าหมายเฉพาะทางอาชีพเช่น เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นหมอ เป็นช่างเงิน ช่างกล เป็นคนขายรถมือสอง หรือเป็นคนซ่อมโทรทัศน์ แม้งานวิจัยจะชี้บ่งว่าสังคมไม่ให้เกียรติแก่คนสามประเภทหลังแต่Adlerกล่าวว่าทุกคนก็สามารถมีบทบาทที่มีประโยชน์ต่อสังคมได้ ถ้าเขาใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการสร้างประโยชน์ให้กับสังคม

Alfred Adler: รากฐานของโรคประสาท

การพัวพันระหว่างประสบการณ์ในครอบครัวและการตีความของบุคคลนั้นทำให้เกิดเป้าหมายที่ชี้ทางและวิถีชีวิตพิเศษ ดังที่ได้ระบุไว้แล้วว่าตัวแปรทางสิ่งแวดล้อมสามตัวที่อาจทำให้เป็นโรคประสาทคือ

(1) ความพิการของร่างกาย
(2) การถูกทอดทิ้งหรือถูกปฏิเสธ
(3) การตามใจลูกAdlerมีความเชื่อว่าการตามใจลูกมากไปสร้างผลร้ายมากที่สุด

Alfred Adler: ลำดับการเกิด (Birth Order) (ตอนที่ 2)

Ivancevich, Matteson และ Gamble ได้พบว่าการดิ้นร้นเพื่อความสำเร็จของลูกคนแรกนั้นมีข้อแลกเปลี่ยน คือพวกเขาคิดว่าลูกคนโต และลูกคนเดียว ที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นคนดำหรือคนขาว เป็นหญิงหรือเป็นชาย ส่วนใหญ่มีบุคคลิกแบบ Type A ซึ่งเป็นบุคลิกที่ใช้ความเพียรอย่างมากในการสร้างสรรค์มากกว่าหรือการกระทำที่เสียเวลาน้อยที่สุด พวกเขาทำงานแข่งขันกับเวลา ผลก็คือบ่อยครั้งสุขภาพจะล้มเหลวและเป็นโรคหัวใจวาย ผลงานที่ศึกษาหลังจากนั้นของ Phillips Long และ Bedeian ได้ผลงานเช่นเดียวกัน โดยศึกษาตัวอย่างของนักสอบบัญชีอาชีพ และพบว่านักสอบบัญชีอาชีพลูกคนแรกได้คะแนนบุคคลิก Type A มากกว่า และมีความร้อนรนมากว่าลูกคนรองในสถานการณ์ที่เป็นอันตราย

Alfred Adler: ลำดับการเกิด (Birth Order) (ตอนที่ 1)

Adler เชื่อว่าพ่อแม่ปฏิบัติต่อลูกแต่ละคนไม่เหมือนกัน และการปฏิบัติดังกล่าวมีส่วนข้องเกี่ยวกับลำดับการเกิดของลูกในครอบครัวนั้น ๆ ทั้งนี้ลูกคนแรกมักเป็นศูนย์กลางแห่งความสนใจของครอบครัวในช่วงที่น้องๆยังไม่เกิด เมื่อน้องเกิดเขาคนนั้นจะกลายเป็น "กษัตริย์ที่ถูกปลด" เพราะเขาต้องแบ่งความรักของพ่อแม่ไปให้น้อง ผลก็คือลูกคนแรกอาจรู้สึกต่อต้านและรู้สึกเป็นศัตรูกับน้อง ความรู้สึกดังกล่าวจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะถ้าพ่อแม่ไมได้เตรียมใจเขาก่อนน้องเกิด แต่ถ้าเตรียมความพร้อมลูกคนโตจะกลายเป็นคนที่ปกป้องน้องดดยบ่อยครั้งทำตัวเป็นตัวแทนของพ่อแม่แลสารทุกข์สุกดิบของน้อง ในความคิดของ Adler ลูกคนแรกเข้าใจดีที่สุดเรื่องอำนาจ เพราะเธอหรือเขาเคยสูญเสียมันไปในครอบครัวตัวเอง ดังนั้น ลูกคนแรกมักจะกลายเป็นคนที่สนับสนุนและนิยมคนมีอำนาจเมื่อเป็นผู้ใหญ่และจะกลายเป็นคนที่ต้องการจะมีสถานะหรือตำแหนางจุดยืนทางสังคม ในทางการเมืองเขาจะเป็นคนอนุรักษ์นิยม

George Kelly: คุณลักษณะของ Constructs

ความคิด (Construct) นั้นแบ่งออกเป็น 6 ประเภทได้แก่

1. แกนความคิด (core construct) คือ ความคิดที่สะท้อนความเป็นตัวตนของบุคคลนั้น ๆ เป็นความเชื่อที่สะท้อนเอกลัษณ์ส่วนบุคคล เป็นโครงสร้างที่ทำหน้ารักษาการดำรงให้คงอยู่ไว้ แกนความคิดนี่จึงเปลี่ยนแปลงได้ยากมาก

George Kelly: Introduction

สิ่งที่ทำให้ George A. Kelly ต่างจากนักจิตวิทยามนุษยนิยมคนอื่น ๆ ก็คือ Kelly เชื่อมโยงความเป็นมนุษย์เข้ากับวิทยาศาสตร์ Kelly ไม่ได้มองพฤติกรรมทางวิทยาศาสตร์ในฐานะที่ไม่เป็นธรรมชาติ แต่เขาเชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์คือต้องการที่จะ "ทำนาย" และ "ควบคุม" เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องเหมือนที่นักวิทยาศาสตร์ทำ เพราะฉะนั้นจิตวิทยาของ Kelly จึงเป็นผลจากการพยายามค้นหาการเป็นวิทยาศาสตร์ในความเป็นมนุษย์

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

Alfred Adler: อิทธิพลของพ่อแม่

Adler มีความเชื่อว่าทั้งพ่อและแม่มีบทบาทที่สำคัญมากในการส่งเสริมหรือบั่นทอนการพัฒนาการวิถีชีวิตของลูก พ่อแม่จะต้องฟูมฟักรักลูกทำให้ลูกรู้เรื่องการงาน มิตรภาพ และความรัก ในความคิดเห็นของ Adler สิ่งเหล่านี้คือปัญหาของขั้นพื้นฐานของชีวิต 3 ประการ คนที่สุขภาพจิตดีและกล้าหาญ คือ คนที่กล้าเผชิญความจริงและพยายามแก้ปัญหา

Alfred Adler: วิถีชีวิตและตัวตนที่สร้างสรรค์

ตามทฤษฎีของ Adler มี 2 ประเด็นซึ่งเกี่ยวโยงกัน ประเด็นแรกคือ วิถีชีวิต The Style of Life แต่เดิมเขาเรียกความคิดนี้ว่า life plan or guiding image หมายถึงวิถีเฉพาะที่คนใช้มุ่งสู่เป้าหมายนักแสดงพยายามมุ่งหาความสมบรูณ์แบบโดยการเรียนรู้ การเล่นบทบนเวทีและเล่นหนัง นักวิชาการมุ่งความเหนือกว่าโดยการอ่านหนังสือ เรียนรู้และคิด หรือโดยการถกปัญหากับเพื่อน สำหรับ Adler วิถีชีวิตพิเศษของเราเริ่มก่อตัวตั้งแต่ห้าขวบแรกของชีวิต ส่วนประสบการณ์ช่วงหลังของชีวิตจะได้รับการรวบรวมและตีความให้เข้ากับการประสบการ์ณของพฤติกรรมตอนเด็ก วิถีชีวิตเหล่านี้เกิดจากการมีปมด้อยไม่ว่าจะมีจริงหรือไปคิดเอง แต่ทันทีที่มันก่อตัวจะมีถูกแก้ไขได้ยาก

Alfred Adler: ปมด้อย-ปมเด่น

Adlerได้สังเกตเห็นในขณะที่เป็นแพทย์อยู่ว่าคนพิการมักจะพยายามฝึกฝนตัวเองเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น เด็กหญิงที่พูดไม่ชัดอาจจะฝึกพูดอย่างหนักจนกระทั่งวันหนึ่งได้เป็นโฆษกระดับชาติ นอกจากนี้เด็กชายที่มีขาอ่อนแออาจจะพยายามฝึกฝนจนเป็นนักวิ่งที่โดดเด่น ตามความคิดเห็นของแอดเลอร์สิ่งซึ่งทำให้คนสู้ไม่ใช่ความด้อย แต่เป็นความคิดที่มีต่อความด้อย คนเราสามารถตีความเกี่ยวกับปัญหาได้หลายทาง บางคนไม่สนใจด้วยซ้ำถ้ามีการไม่สนใจก็จะไม่มีการต่อสู้เพื่อเอาชนะมัน

Alfred Adler: Creative Evolution and Social Interest

จุดยืนที่สำคัญของAdler คือ สุขภาพจิตที่ดีของคนขึ้นอยู่โดยตรงกับประโยชน์ที่ทำให้แก่ชุมชนในสังคม เขาเห็นว่าเผ่าพันธ์ของมนุษย์จะอยู่ไม่ยืดถ้าสมาชิกในสังคมไม่ช่วยเหลือกัน ทั้งนี้ชีวิตของทารกแต่ละคนขึ้นอยู่กับว่าผู้ใหญ่จะชาวยดูแลพวกเขาให้ดีหรือไม่ นอกจากนี้การอยู่รอดของเผ่าพันธ์มนุษย์ยังขึ้นอยู่กับว่า มนุษย์รักใคร่ปองดองกันและช่วยกันสร้างสรรค์หรือไม่ในสังคมซึ่งสลับซับซ้อนนั้น ความต้องการของสมาชิกจะได้รับการตอบสนองโดยวิธีแบ่งหน้าที่กันทำและประสานงานของสมาชิก ดังนั้น ถ้าไม่มีการร่วมมือและความหวังดีต่อกันมนุษยชาติจะสูญพันธ์

Alfred Adler: หลักการ

จิตวิทยาปัจเจกบุคคคล ในความคิดเห็นของ Adler คือ วิทยาศาสตร์แขนงที่พยายามเข้าใจประสบการณ์และพฤติกรรรมของแต่ละบุคคลในฐานะที่เป็นระบบที่จัดระเบียบดีแล้ว เขาเชื่อว่าการกระทำทุกอย่างถูกใจโดยเจตคติขั้นพื้นฐานที่มีต่อชีวิต เขาพยายามปรับปรุงความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยการพยายามแก้เจตคติที่ผิดๆ โดยใช้ความรู้ซึ่งได้จากทฤษฎีของเขา ดังนั้น นอกจากเก็บข้อมูลขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์แล้วAdlerยังสนใจในเรื่องประยุกต์เป็นอันมาก

Alfred Adler: ประวัติ

Alfred Adler เกิดเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1870 ที่ประเทศออสเตรีย ณ กรุงเวียนนา เป็นชาวยิว ตอนที่เป็นเด็กเขามีสุขภาพไม่ดี เป็นโรคกระดูกอ่อน และมีอาการชักเพราะการหดแกร็งของกล้ามเนื้อที่ช่องสายเสียงทำให้เสี่ยงต่อการหายใจไม่ออก เขาต้องตะเบ็งเสียงและร้องไห้ตลอด ตอนอายุ 3 ขวบ เสียน้องชาย หลังจากนั้นหนึ่งปีเขาก็ เป็นโรคนิวโมเนียหรือโรคปอดบวมและเกือบเสียชีวิต เคยถูกรถชน 2 ครั้ง หมอบอกว่าเขาควรได้รับอากาศบริสุทธิ์ดังนั้น เขาจึงได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษจากพ่อแม่ดังนั้นพ่อและแม่ของเขาจึงให้เขาไปวิ่งเล่นนอกบ้านกับเพื่อนเป็นประจำ ทำให้เขามีความทรงจำที่ดี เกี่ยวกับเพื่อนๆและตลอดชีวิตของเขาก็ชอบมีเพื่อนและเขาทำงานหนักตลอดเพราะเขาต้องการชดเชยกับความอ่อนแอในวัยเด็ก

Sigmund Freud: Defense Mechanism (ตอนที่ 3)

III. แบบประนีประนอมสถานการณ์ (Compromise Reaction)
เป็นลักษณะของกลวิธีการป้องกันตัวประเภทพบกันครึ่งทาง ออกมาในรูปของการหาวิธีใหม่ เปลี่ยนความต้องการ หรือเป้าหมายใหม่ซะ ซึ่งได้แก่

Sigmund Freud: Defense Mechanism (ตอนที่ 2)

II. แบบหนีสถานการณ์ (Withdrawal Reaction)
แบบหนีสถานการณ์หมายถึงการปรับตัวโดยการใช้วิธีการใด ๆ ทำให้ตนเองพ้นไปจากต้นตอของปัญหาที่เป็นเหตุของความทุกข์ ซึ่งแบ่งเป็น

Sigmund Freud: Defense Mechanism (ตอนที่ 1)

ฟรอยด์อธิบายว่ามนุษย์ไม่สามารถหลักหนีความกังวลและความเครียดได้ ภาวะบีบคั้นจิตใจเหล่านี้มนุษย์ไม่พึงปรารถนาจึงพยายามหาทางผ่อนคลาย ซึ่งเป็นหน้าที่ของอีโก้ที่จะต้องเสาะแสวงหาวิธีลดภาวะตึงเครียดนั้น ๆ โดยใช้วิธีการที่เรียกว่า กลไกการป้องกันตัวเอง
กลวิธีการป้องกันตัวเองนั้นเป็นกลยุทธ์ที่บุคคลนำมาใช้เพื่อลดสภาวะทางอารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ด้วยการบิดเบือน ปฏิเสธ ไม่ยอมรับ และ หลีกเลี่ยงสถานการณ์นั้น ๆ การใช้กลวิธีการป้องกันตัวเองยังมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะยกย่องตัวเอง ทำให้ตนรู้สึกว่ามีคุณค่า มีศักดิ์ศรี และขจัดความกลัวต่าง ๆ ที่มารบกวนจิตใจให้หมดไป แต่ถ้านำไปใช้กับทุกเรื่องจนเคยชินเป็นนิสัยแล้วจะเป็นผลเสียต่อบุคลิกภาพของตนได้

Sigmund Freud: ความวิตกกังวล

ฟรอยด์เชื่อว่า ความวิตกกังวลเป็นเรื่องที่มนุษย์หลีกหนีไม่พ้น เพราะความปรารถนาของมนุษย์นั้นไม่สามารถได้รับการตอบสนองเสมอไป โดยเขาได้แบ่งความหวาดกังวลออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

1. ความวิตกกังวลจากสิ่งแวดล้อม (Reality Anxiety) ได้แก่ ความหวาดกลัวสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่อยู่รอบตัวเราอยู่แล้ว เป็นความกังวลที่เกิดกับมนุษย์เราเป็นส่วนใหญ่ เช่น กลัวสูญเสียคนรัก กลัวตกงาน กลัวไม่มีบ้านอยู่

Sigmund Freud: โครงสร้างบุคลิกภาพ

ฟรอยด์อธิบายว่าพฤติกรรมต่าง ๆ ของบุคคลที่แสดงออกมานั้นสืบเนื่องมาจากการทำงานของพลังงานทางจิต 3 ส่วน ซึ่งพลังทั้ง 3 ส่วนนี้มีลักษณะเฉพาะตัว แต่ก็มีอิทธิพลต่อกันและกันทำงานร่วมกัน ถ้าหากการทำงานของจิตทั้ง 3 ส่วนนี้สามารถทำงานได้สอดคล้องประสานกันกลมกลืนได้เป็นอย่างดี ก็จะส่งผลให้พฤติกรรมของบุคคลนั้น ๆ ถูกแสดงออกมาเป็นปกติและเป็นผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี แต่หากพลังงานทั้ง 3 นี้เกิดความขัดแย้งกันรุนแรงเมื่อใด ก็จะส่งผลให้บุคคลนั้น ๆ ก่อพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์หรือก่อให้เกิดปัญหาทางจิตแก่ตนได้ ทั้งนี้พลังงานทางจิตทั้ง 3 ส่วนมีดังนี้

Sigmund Freud: จิตใต้สำนึก

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ได้วิเคราะห์จิตของมนุษย์ออกเป็น 3 ระดับดังนี้

1. จิตสำนึก (Conscious) เป็นจิตระดับที่มนุษย์เราแสดงออกยามเมื่อรู้ตัว มีสติตลอดเวลา รู้ว่าตนเองเป็นใคร ต้องการอะไร กำลังทำอะไร อยู่ที่ไหน รู้สึกอย่างไร เมื่อแสดงพฤติกรรมก็จะแสดงออกไปอย่างรู้ตัว มีเหตุผล อยู่ในโลกของความเป็นจริง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ จิตสำนึกคือจิตระดับที่รู้ตัว และแสดงพฤติกรรมออกมาได้โดยตรงตามที่ตนเองรับรู้ขณะนั้น

Sigmund Freud: ประวัติ

Sigmund Freud เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ.1856 ที่เมืองไฟร์เบิร์ก (Freiberg) รัฐโมราเวีย (Moravia) ประเทศสาธรณรัฐเชค เมื่ออายุ 4 ขวบครอบครัวเขาได้ย้ายไปอาศัยอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในเบื้องต้นฟรอยด์ได้จบการศึกษาจากวิทยาศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเวียนนา แต่การเป็นนักวิทยาศาสตร์นั้นไม่สามารถที่จะส่งเสริมเลี้ยงดูครอบครัวให้อยู่ดีกินดีได้ ฟรอยด์จึงตัดสินใจไปศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งเขาให้ความสนใจทางด้านประสาทวิทยากับการสะกดจิตมาก

ทฤษฎีบุคลิกภาพ: Carl G. Jung

Carl Jung เป็นหนึ่งในนักจิตวิทยาที่สืบทอดแนวคิดมาจากทฤษฎีของ Sigmund Freud ทฤษฎีของ Jung นั้นมีการพัฒนาจากทฤษฎีจิตใต้สำนึกของ Freud จนกระทั่งเป็นทฤษฎีจิตใต้สำนึกในแบบของเขาเอง โดยเขามีความเชื่อว่ามนุษย์ที่เกิดมามีข้อมูลที่รับมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งจะเป็นการชี้นำ พฤติกรรม และกำหนดจิตสำนึก ตลอดจนการตอบสนองต่อประสบการณ์ และโลกส่วนตัวของเขา บุคลิกภาพแต่ละบุคคลจึงเป็นผลของการกระทำของแรงภายใน ( Inner Forces ) ที่กระทำต่อแรงภายนอก (Outer Forces)

ทฤษฎีบุคลิกภาพ: William Glasser

ทฤษฎีของ Glasser ทฤษฎีหนึ่งที่โด่งดังได้แก่ Reality Therapy Theory ซึ่งเป็นทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบเผชิญความจริงซึ่งเชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนมีพลังแห่งการพัฒนาเพื่อไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น มนุษย์จะมีความต้องการ และเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งเอกลักษณ์ของตนเองมีสองประเภทได้แก่

ทฤษฎีบุคลิกภาพ: George Kelly

George Kelly เชื่อมโยงธรรมชาติของมนุษย์เข้ากับความเป็นวิทยาศาสตร์ เขามีความเชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนนั้นล้วนแล้วแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วยกันทั้งสิ้น เราสามารถตั้งทฤษฎี (ความคิด) จากนั้นจึงตั้งเป็นสมมติฐาน (ความคาดหวัง) ทดลองเก็บรวบรวมข้อมูล (ประสบการณ์และพฤติกรรม) และจึงสรุปผล (ความคิดอีกครั้ง)เราสามารถจะกล่าวได้ว่าแนวคิดของ Constructive Alternativism นี้เป็นจุดสำคัญของทฤษฎีของ Kellyมนุษย์มีอิสระที่จะแปลความหมายของประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้เสมอ บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกเป้าหมายให้กับชีวิตของตน และทันทีที่ตนได้เลือกเป้าหมายแล้ว เป้าหมายนั้น ๆ จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง

ทฤษฎีบุคลิกภาพ: Karen Horney

Karen Horney เติบโตมากับครอบครัวที่ค่อนข้างจะดูถูกบทบาทของสตรีเพศ ความรู้สึกไร้ค่าของเธอยังถูกเสริมด้วยความคิดว่าตัวเธอไม่สวย แม้คนอื่นจะไม่คิดเช่นนั้น คาเร็นแสดงปฏิกิริยาโดยการมุ่งการศึกษาดังที่เธอได้กล่าวในปลายปีต่อมาว่า "แม้ฉันจะไม่สวย แต่ฉันจะเก่ง" เมื่อเธอมีครอบครัวเธอประสบกับปัญหาชีวิตมากมายจนทำให้เธอเป็นโรคซึมเศร้า ยิ่งไปกว่านั้นเธอไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่จิตแพทย์ของเธอวิเคราะห์สิ่งที่เธอเป็น จึงเป็นหนทางเริ่มต้นของการศึกษาด้านจิตวิทยาของเธอ Horney เชื่อว่ามนุษย์เรานั้นเกิดมาเพื่อแข่งขัน ซึ่งการแข่งขันกันอย่างมาก (hypercompetitiveness) เป็นความต้องการที่ไม่รู้จักแยกแยะในการเอาชนะและหลีกเลี่ยงความพ่ายแพ้ด้วยทุกวิถีทางเพื่อปกป้องความรู้สึกว่าตัวเองยังมีค่าอยู่ บุคคลประเภทที่รักการแข่งขันจะไม่เชื่อใจใคร จนกว่าเขาได้พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าเป็นคนซื่อสัตย์ บุคคลดังกล่าวพยายามเอาชนะความรู้สึกมีปมด้อย ด้วยการพยายามต่อสู้เพื่อความเหนือกว่า โดยกลายเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย ดันทุรัง เย่อหยิ่ง ก้าวร้าวและดูถูกคนอื่น

ทฤษฎีบุคลิกภาพ: Erik H. Erikson

Erikson เป็นหนึ่งในนักจิตวิทยาที่สืบทอดความคิดของฟรอยด์ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์มาขยายความศึกษาต่อเนื่องอย่างลึกซึ้งและกว้างขวางเหนือนักจิตวิเคราะห์กลุ่ม Freud ท่านอื่น ๆ ทั่วไปแนวความคิดของลักษณะความขัดแย้งทางลักษณะบุคลิกภาพของ Erikson นั้นแบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอนดังนี้

ทฤษฎีบุคลิกภาพ: Sigmund Freud

Sigmund Freud นักจิตวิทยาเจ้าของทฤษฎีจิตใต้สำนึก และหลักการบำบัดด้วยการสะกดจิตและ Free Association สมัยที่ Freud เป็นนักศึกษาจิตวิทยาเขาได้ศึกษาพฤติกรรมของคนไข้ทางจิตเวทของเขาแล้วค้นพบว่า มีบางกรณีที่ไม่สามารถจะอธิบายเหตุผลของปัญหาของคนไข้ได้ ดังนั้นเขาจึงเริ่มใช้การวิเคราะห์จิตใต้สำนึกของคนไข้ ร่วมกับการใช้วิธีสะกดจิตเข้ามาช่วย เพื่อให้สามารถเข้าถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงได้


วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

สะกดจิตระลึกชาติ

เรื่องชาตินี้ชาติหน้าดูจะเป็นปัญหาที่หาข้อสรุปไม่ได้อีกอย่างหนึ่งที่มานานแสนนาน เรื่องแบบ
นี้คนที่เชื่อก็บอกว่ามีส่วนคนไม่เชื่ออย่างไรก็ไม่เชื่อวันยันค่ำ นักจิตวิทยาระดับปรมาจารย์หลายท่าน
เช่น คาล กูสต๊าฟ จุง ก็เชื่อเรื่องชาติภพก่อนๆ ว่ามันอยู่จริง แต่นั่นก็ไม่ใช่หลักฐานอะไรที่เราจะเอามา
ใช้ยืนยันได้ว่าเรื่องชาติภพนั้นมันมีอยู่จริงหรือเปล่า ก็ได้แต่หวังว่าซักวันหนึ่งคงจะงานงานทดลอง
หรืองานวิจัยอะไรซักอย่างสามารถสรุปออกมาเป็นรูปธรรมได้ว่าเรื่องชาติภพนี้มีจริงหรือไม่


สะกดบำบัดกับการจิตลดความอ้วน

การสะกดจิตบำบัดกับการลดน้ำหนักหรือลดความอ้วนนั้นเป็นเรื่องที่ทำกันมานานแล้ว ผู้รับการบำบัดหลายต่อหลายรายสามารถลดน้ำหนักลงได้อย่างรวดเร็ว เรื่องนี้ในวงการสั่งจิตบำบัดถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด แถมยังถือว่าเป็นเคสการสะกดจิตที่ค่อนข้างง่ายเสียด้วย หากผู้รับการสะกดจิตไม่มีการต่อต้านและสามารถคล้อยตามกรสะกดจิตได้ดี ผลของการสะกดจิตลดความอ้วนก็จะแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว สามารถลดน้ำหนักลงได้หลายกิโลได้ในเวลาไม่กี่เดือน การ

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

ช่วงเวลาบรรจุข้อมูลสำหรับการสะกดจิต

สำหรับนักสะกดจิตแล้ว เราทราบกันดีว่าหัวใจที่สำคัญที่สุดของการสะกดจิตหรือการสั่งจิตนั้นก็คำว่า "ผ่อนคลาย" มันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะสามารถทำการสะกดจิตหรือบรรจุข้อมูลใดๆเข้าไปในจิตใต้สำนึกของใครซักคน ถ้าเราไม่ได้ทำให้คนๆ นั้นเกิดสภาพวะที่ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจเสียก่อน ทำไมถึงเป็นอย่างนั้นทราบหรือไม่ครับ


วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความเข้าใจเรื่องศาสตร์การสะกดจิต (Hypnosis)

การสะกดจิตในที่นี้มาจากคำว่า Hypnosis ในภาษาอังกฤษ หมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยการควบคุมความนึกคิดของตัวเองหรือผู้อื่น บางทีก็เรียกศาสตร์นี้ว่าการสั่งจิต สะกดจิตบำบัด

คำว่า Hypnosis มาจากภาษากรีกว่า Hypnos หมายถึงการนอนหลับ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่าในยุคแรกๆของศาสตร์นี้ เมื่อทำการสะกดจิต ผู้ที่ได้รับการสะกดจิตจะรู้สึกเคลิบเคลิ้มคล้ายๆกับว่าจะหลับไป จึงเข้าในกันในชั้นแรกๆ นี้ว่าการสะกดจิตจะเป็นการ ทำคนให้หลับไปแล้วอาศัยจังหวะในระหว่างหลับนี้ทำการรักษาโรคหรือควบคุมความนึกคิดของผู้อื่น แต่ต่อมาเมื่อศาสตร์นี้ได้มีการค้นคว้าและทดลองต่อๆกันมาเป็นเวลานาน ก็พบว่าความจริงผู้ที่ได้รับการสะกดจิตนั้นไม่ได้หลับลงไปเสียทีเดียว เป็นแต่เพียงว่าจิตสำนึกหยุดทำงานไปจึงทำให้ดูเสมือนว่ากำลังหลับ ยิ่งกว่านั้นในหลายๆกรณีเราพบว่าผู้รับการสะกดจิตนอกจากจะไม่ได้หลับลงไปแล้ว กลับยังมีสติสัมปชัญยะครบถ้วนด้วยซ้ำไป เพียงแต่ขณะนั้นอยู่ในสภาวะที่จิตใจคล้อยตามคำสั่งของผู้สะกดจิตเท่านั้น เช่นเขาสะกดจิตแล้วสั่งว่าให้หลับ ความจริงแล้วก็ไม่ได้หลับ เพียงแต่จิตใจถูกผู้สะกดจิตชักจูงให้คล้อยตาม จึงทำแสร้งหลับไปตามคำสั่งทั้งๆที่ความจริงจะตื่นขึ้นมาเมื่อใดก็ย่อมทำได้ เพียงแต่ไม่ยอมทำเพราะขณะนั้นจิตได้คล้อยตามนักสั่งจิตไปแล้ว แต่ในหลายๆกรณีก็พบว่ามีการหลับลงไปจริงๆในขณะสะกดจิตเหมือนกัน เช่นในการสะกดจิตเพื่อรักษาโรคที่มักจะใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน เราก็บ่อยๆพบว่าผู้รับการสะกดจิตได้หลับลงไปก่อนการสะกดจิตจะเสร็จสิ้น แต่ก็ไม่ผลอะไรต่อการสะกดจิตนัก เพราะถึงแม้ว่าจะหลับไปแล้วก็ตาม แต่จิตใต้สำนึกก็ยังคงเก็บข้อมูลการสะกดจิตอยู่ตลอด สะกดจิ
ในประเทศไทยเมื่อพูดถึงการสะกดจิต กูดูเหมือนว่าจะเป็นคำที่ดูไม่สู้จะชวนให้คนส่วนใหญ่นึกไปทางบวกมากนัก โดยมากจะเข้าใจไปทำนองไสยศาสตร์ หรือพลังเหนือธรรมชาติ ดังนั้นต่อมายภายหลังจึงมีนักสะกดจิตระดับครูบาอาจารย์หลายท่านรณรงค์ให้เรียกการสะกดจิตหรือ Hypnosis นี้เสียใหม่ว่า "การสั่งจิต" ซึ่งฟังดูก็จะมีความหมายถูกต้องตามกระบวนการที่เกิดขึ้นกับการสะกดจิตได้ครบถ้วนจริงๆ เพราะความจริงแล้วการสะกดจิตก็คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการสั่งการหรือควบคุมความนึกคิดหรืออีกในหนึ่งก็คือข้อมูลในสมองของเรา โดยเฉพาะข้อมูลในระดับชั้นของจิตใต้สำนึก สะกดจิตบำ