วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีบุคลิกภาพ: George Kelly

George Kelly เชื่อมโยงธรรมชาติของมนุษย์เข้ากับความเป็นวิทยาศาสตร์ เขามีความเชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนนั้นล้วนแล้วแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วยกันทั้งสิ้น เราสามารถตั้งทฤษฎี (ความคิด) จากนั้นจึงตั้งเป็นสมมติฐาน (ความคาดหวัง) ทดลองเก็บรวบรวมข้อมูล (ประสบการณ์และพฤติกรรม) และจึงสรุปผล (ความคิดอีกครั้ง)เราสามารถจะกล่าวได้ว่าแนวคิดของ Constructive Alternativism นี้เป็นจุดสำคัญของทฤษฎีของ Kellyมนุษย์มีอิสระที่จะแปลความหมายของประสบการณ์ใหม่ ๆ ได้เสมอ บุคคลมีสิทธิเสรีภาพในการเลือกเป้าหมายให้กับชีวิตของตน และทันทีที่ตนได้เลือกเป้าหมายแล้ว เป้าหมายนั้น ๆ จะเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง


ความคิดนั้นแบ่งออกเป็นหกคุณลักษณะได้แก่
  1. แกนความคิด (core construct) คือ ความเชื่อที่สะท้อนเอกลัษณ์ส่วนบุคคล เปลี่ยนแปลงได้ยากมาก
  2. ความคิดรอง หรือ ความคิดรอบนอก (peripheral constructs) คือ ความคิดที่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย
  3. การแทรกซึมของความคิด (permeability) การที่ความคิดเปลี่ยนแปลงเมื่อมีความคิดตัวใหม่แทรกซึมเข้ามาในระบบโครงสร้างความคิด
  4. การยืนกรานทางความคิด (preemptive constellatory) หมายถึง การยืนกรานไม่ให้ความคิดของตนที่มีกลายเป็นส่วนหนึ่งของความคิดอื่น ๆ ไม่ยอมให้เกิดการแทรกแซงทางความคิดได้
  5. การเหมารวม (constellatory construct) หมายถึง ทันทีที่เราเจอคนคนหนึ่งซึ่งเราสามารถจัดประเภทให้ได้ เราจะมอบคุณลักษณะให้เขาชุดหนึ่ง
  6. ความคิดเปิด (propositional construct) หมายถึงความคิดที่เปิดโอกาสสร้างสรรค์ในทุกแง่และมีความยืดหยุ่นสูงนอกจากส่วนของความคิดแล้ว Kelly ยังมุ่งเน้นไปที่ส่วนของข้อคิดหรือ Corollary อีกเช่นกันซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 11 ลักษณะดังนี้


  • Construction Corollary (บุคคลจะใช้ประสบการณ์เก่าเป็นตัวตีความความคาดหวังของเรา)
  • Individuality Corollary (บุคคลตีความเหตุการณ์และสร้างโครงสร้างแตกต่างกันไป (แม้ว่าจะเป็นเรื่องเดียวกัน))
  • Organization Corollary (การจัดระเบียบความคิด)
  • Dichotomy Corollary (ความคิดมักจะมีสองขั้วเสมอ)
  • Choice Corollary (มนุษย์สามารถที่จะเลือกความคิดของตนได้)
  • Range Corollary (แต่ละโครงสร้างของความคิดมีความหมายที่มีขอบเขต)
  • Experience Corollary (การสร้างและตีความโครงสร้างใด ๆ ของบุคคลขึ้นกับประสบการณ์เฉพาะตน และบุคคลยังปรับเปลี่ยนโครงสร้างเก่า เมื่อมีประสบการณ์ใหม่)
  • Modulation Corollary (โครงสร้างมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา)
  • Fragmentation Corollary (ความคิดสามารถแตกย่อยออกเป็นส่วน ๆ ได้ ทำให้มีความผันผวนตลอดเวลา)
  • Commonality Corollary (ถึงแม้ว่าประสบการณ์จะต่างกันแต่ก็สามารถตีความเหมือนกันได้)
  • Sociability Corollary (เมื่อเราเข้าใจความคิดคนอื่น เราก็สามารถจะคาดเดาพฤติกรรมเขาได้)
การพัฒนาการทางบุคลิกภาพของ Kelly นั้นแบ่งออกเป็นสามขั้นตอนซึ่งเราเรียกทั้งสามขั้นตอนนี้ว่าวงจร ได้แก่ Circumspection หมายถึง การที่เมื่อคนเราเกิดความต้องการขึ้นมา เขาจะมีความคิดหลายอย่างอยู่ในระบบความคิดของตนทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่ตนต้องการ จากนั้นจึงเกิด Preemption ซึ่งหมายถึงการเลือกเอาความคิดที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายที่ตนต้องการไว้เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น แล้วกำจัดความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปเสีย จากนั้นจึงจบลงที่ Control หรือก็คือการที่คนเราสามารถควบคุมพฤติกรรมของตนให้เป็นไปตามความคิดที่ตนได้เลือกเอาไว้ในช่วงของ Preemption และนำไปสู่เป้าหมายที่ตนต้องการได้

การบำบัดของ Kelly นั้น เขาจะเริ่มต้นด้วยการใช้แบบทดสอบที่เขาคิดขึ้นมาคือ Role Construct Repertory Test (RCRT) เพื่อใช้ทดสอตัวตนของคนไข้ของเขาก่อน วิธีบำบัดของ Kelly นั้นเขาจะใช้วิธี Self-Characterization Sketches คือให้คนไข้เขียนเล่าเรื่องของตนเองขึ้นมาเป็นละครหนึ่งเรื่อง แล้วให้สมมติว่าตัวเองเป็นตัวละครเอก เมื่อเขาได้บทละครนั้นมาจากคนไข้แล้ว เขาจะมาทำการแปล profile ของคนไข้แล้วเขาจะเขียน fixed-role sketch ขึ้นมา และให้คนไข้เล่นบทบาทอื่น ๆ ที่ผู้บำบัดกำหนดไว้ เป็นระยะเวลาช่วงหนึ่ง ซึ่งจะทำให้คนไข้เห็นความหมายของประสบการณ์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้น บทบาทต่าง ๆ เหล่านั้นต้องไม่ใช่บทบาทที่ทำให้ผู้ประสบปัญหาเสียขวัญ แต่เป็นบทบาทที่ทำให้เขา "รู้จักการเปลี่ยนแปลง"




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น