วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

Fromm: แนวคิดสำคัญ (ตอนที่ 1)

Fromm ให้ความสำคัญและอธิบายแนวคิดทางบุคลิกภาพว่า บุคลิกภาพใดๆ ของบุคคล ย่อมถูกกล่อมเกลาให้กลมกลืนกับค่านิยม, ความเชื่อและประเพณีซึ่งเป็นโครงสร้างของสังคมนั้นๆ Fromm มีความเชื่อมั่นว่า ระบบสังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างสูง

แนวคิดของ Fromm เป็นแนวคิดที่ผสมผสานกันระหว่างแนวคิดของ Sigmund Freud กับ Karl Marx ในหนังสือของ Fromm Fromm ได้เปรียบเทียบความคิดของ Sigmund Freud กับ Karl Marx และแสดงความนิยมความคิดเห็นของ Karl Marx มากกว่าความคิดของ Freud จนได้รับการกล่าวถึงว่า เป็นนักทฤษฎีบุคลิกภาพแบบมาร์กซ์ (Marxian Personality Theorist) แต่ Fromm ได้เรียกทฤษฎีของเขาว่า "Dialectic Humanist" แนวคิดสำคัญของ Erich Fromm มีดังนี้




1. ความอ้างว้างเดียวดาย
Fromm เชื่อว่ามนุษย์ยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความอ้างว้างเดียวดายด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น

1.1 การที่มนุษย์มีเหตุผลและจินตนาการต่างๆ ทำให้มนุษย์มีวิวัฒนาการทางอารยธรรมเพิ่มมากขึ้นๆ ในขณะเดียวกันก็แยกตนเองให้ห่างเหินจากธรรมชาติ, จากสัตว์โลกพวกอื่น,และจากบุคคลอื่นไกลกันยิ่งขึ้นๆ

1.2 มนุษย์แสวงหาอิสรเสรีในทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาการ เมื่อได้มาแล้วก็จำต้องแลกเปลี่ยนด้วยความอ้างว้าง เช่น เด็กวัยรุ่นที่ต้องการเป็นอิสระพ้นจากการดูแลของบิดามารดา แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการแยกตัวออกมาอยู่อย่างว้าเหว่

1.3 พัฒนาการทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ในวัตถุใช้สอย ในความเป็นอยู่ประจำวัน เช่น เครื่องมือเครื่องใช้หาความบันเทิงเริงรมย์, เครื่องทุ่นแรงในการทำงาน ทำให้มนุษย์มีความ สัมพันธ์กับคนอื่นน้อยลง เช่น ถึงแม้จะอยู่ในที่ทำงานเดียวกัน แต่ก็ใช้ E-mail แทนการเดินไปคุยกัน

Fromm เสนอว่า การแก้ความอ้างว้างมี 2 ทางคือ

1. การสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อนมนุษย์บนรากบานความรักสร้างสรรค์(Productive Love) ซึ่งได้แก่การมีความเอื้ออาทรต่อกัน, รับผิดชอบต่อกันและกัน, นับถือซึ่งกันและกัน และเข้าใจซึ่งกันและกัน อย่างจริงใจ

2. ยอมอ่อนน้อมต่อผู้มีอิทธิพลในสังคมและทำตัวคล้อยตามสังคมFromm มีความเห็นว่ามนุษย์เราใช้เสรีภาพทางสังคมให้ดีขึ้นได้ตามแนวทางข้อแรก ส่วนหนทางแบบที่สองนั้นเป็นเพียงการเข้าสู่ความเป็นทาสแบบใหม่เท่านั้นเอง
ในหนังสือ Escape from Freedom ที่ Fromm ได้เขียนในปี 1941 ได้ชี้ให้เห็นว่าลัทธินาซีเผด็จการรุ่งโรจน์เพราะลัทธิเผด็จการเบ็ดเสร็จนั้นถูกใจคนส่วนมาก เพราะแนวลัทธิได้ให้ความรู้สึกมั่นคงแก่ผู้รู้สึกกำลังอ้างว้างในแนวทางใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน

ความต้องการพื้นฐาน (Basic Needs)
Fromm มีเห็นว่า ความต้องด้านพื้นฐานของมนุษย์นั้นมี 5 อย่างคือ

2.1 ความต้องการมีสัมพันธภาพ (Need for Relatedness)
เนื่องจากมนุษย์พบกับความอ้างว้างเดียวดาย จึงต้องแก้ไขโดยการสร้างสัมพันธภาพกับคนอื่นๆ วิธีที่ดีงามต้องตั้งอยู่บนรากฐานความรักสร้างสรรค์

2.2 ความต้องการเป็นผู้สร้างสรรค์ (Need for Transcendence)
มนุษย์มีศักยภาพแห่งการรักตนเอง และมีศักยภาพในการอาทรและห่วงใยผู้อื่น พลังรักทำให้มนุษย์สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม เช่น การประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ, เสนอแนวคิดใหม่, การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ แต่ถ้ามนุษย์คนใดไม่มีความรัก มีแต่ความเกลียดชัง ก็จะมุ่งทำลายสังคม คนอื่น รวมถึงตนเองด้วย
Fromm เชื่อว่า คนแต่ละคนมีศักยภาพในการที่จะสร้างสรรค์ความสุขให้ตนเอง ใกล้เคียงกับการสร้างความทุกข์ยากให้ผู้อื่นและตนเอง

2.3 ความต้องการมีสังกัด (Need for Rootedness)
คือความต้องการที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโลก ของสังคม ของครอบครัว ความต้องการประเภทนี้ จะมีได้ก็ต่อเมื่อบุคคลต้องมีไมตรีแก่เพื่อนมนุษย์โดยทั่วไป

2.4 ความต้องการมีอัตลักษณ์แห่งตน (Need for Identity)
คือความต้องการที่จะเป็นตัวของตัวเอง มีเอกลักษณ์เฉพาะตน ที่จะรู้ว่าตนคือใคร

2.5 ความต้องการมีหลักยืดเหนี่ยว (Need for Frame of Orientation)
คือความต้องการมีที่อ้างอิงความถูกต้องในการกระทำของตน เช่น ฉันทำอย่างนี้เพราะใครในสังคมเขาก็ทำกัน ข้ออ้างทั้งหลาย อาจเป็นข้ออ้างที่มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผลก็ได้

3. ความขัดแย้ง
มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในสังคมไหนหรือระดับศักดินาใด ต้องมีความขัดแย้งในตนเอง เช่น ความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ, การที่ต้องตัดสินใจเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งในหลายๆ สิ่ง, การที่ต้องได้อย่างหนึ่งแต่ก็ต้องเสียอีกอย่างหนึ่ง เช่น ต้องการอิสรเสรี แต่ก็จะสูญเสียสังคม การที่อยากทำอะไรๆ ตามความต้องการของตนเอง แต่อาจผิดต่อความเป็นคนดีของสังคม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น