วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

Alfred Adler: หลักการ

จิตวิทยาปัจเจกบุคคคล ในความคิดเห็นของ Adler คือ วิทยาศาสตร์แขนงที่พยายามเข้าใจประสบการณ์และพฤติกรรรมของแต่ละบุคคลในฐานะที่เป็นระบบที่จัดระเบียบดีแล้ว เขาเชื่อว่าการกระทำทุกอย่างถูกใจโดยเจตคติขั้นพื้นฐานที่มีต่อชีวิต เขาพยายามปรับปรุงความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยการพยายามแก้เจตคติที่ผิดๆ โดยใช้ความรู้ซึ่งได้จากทฤษฎีของเขา ดังนั้น นอกจากเก็บข้อมูลขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์แล้วAdlerยังสนใจในเรื่องประยุกต์เป็นอันมาก
การต่อสู้เพื่อความสมบรูณ์แบบ

Adler พยายามเข้าใจอำนาจสร้างสรรค์ที่ลึกลับ ซึ่งแสดงออกโดยมีความอยากพัฒนา อยากเอาชนะ และอยากประสบความสำเร็จ และแม้แต่การพยายามชดเชยความล้มเหลวโดยการพยายามประสบความสำเร็จ ข้อคิดเหล่านี้แม้ะดูง่ายแต่ก็เป็นข้อเสนอที่น่าสนใจ ตามความคิดของ Adler ความเข้าใจบุคคลิกภาพของมนุษย์จะมีขึ้นได้ก็ต่อเมื่อได้รู้เป้าหมายชีวิตของเรา ตรงข้ามกับ Freud ซึ่งเป็นคนเชื่อเรื่องการกำหนด (denisterminist) Adler มีจุดยืนทาง teleological ซึ่งหมายความว่า พฤติกรรมในปัจจุบันถูกกำกับโดยเป้าหมายในชีวิต มนุษย์นั้นมีเป้าหมายในชีวิต ต้องการมีความสมบูรณ์แบบ หรือต้องการประสบความสำเร็จ และมนุษย์ถูกจูงใจให้ต่อสู้เพื่อได้แสดงความสามารถพิเศษการเคลื่อนไหวสู่ความสมบรูณ์แบบตามข้อเสนอแนะของ Adler หรือการที่ถูกผลักดันโดยความรู้สึกเป็นด้อย เป็นการต่อสู้จากทางลบให้เป็นทางบวกที่ต่อเนื่อง ดังนั้น Adlerคิดว่ามนุษย์เรามีแรงผลักให้ดีขึ้นที่ยิ่งใหญ่ ( great upward drive)

โดยความคิดซึ่งเกี่ยวข้องก็คือ fictional finalism เขาได้ความคิดจากปราชญ์ชื่อ Hans Vainer ผู้ซึ่งได้กล่าวในหนังสือ The Philosophy of As-if" ว่ามนุษย์สร้างความคิดเพื่อแนะแนวพฤติกรรมของตนเอง ซึ่ง Adler เชื่อเรื่องนี้ เขาจึงเชื่อว่ามนุษย์จะมุ่งสู่เป้าหมายที่คิดขึ้นมาเองโดยปล่อยให้ความคิดจูงพฤติกรรม เป้าหมายดังกล่าวเราสัมผัสไม่ได้เพราะมันเป็นสิ่งที่มนุษย์จิตนาการขึ้นมา

ในข้อเขียนช่วงต้นๆ เป้าหมายสุดท้ายของการต่อสู้ก็คือ การได้ครองอำนาจ ก้าวร้าวและมีอำนาจเหนือผู้อื่น เขามองมนุษย์ว่าเห็นแก่ตัวและหลงตัว แต่ตอนหลังAdlerได้ปรับเปลี่ยนความคิดและให้นิยามเป้าหมายสุดท้ายว่า ความเหนือกว่า (superiority) มนุษย์สามารถตั้งเป้าหมายอันนี้แล้วดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ แนวทางที่ไม่ดีหมายถึงเขาจะเป็นคนชอบข่มและเอาเปรียบคน ตามความเห็นของ Adler มีเพียงคนเป็นโรคประสาท (neurotics) เท่านั้นที่ทำอย่างนี้ ส่วนแนวทางที่สร้างสรรค์นั้นทำให้คนร่วมมือร่วมใจและมีความหวังดีต่อกัน คนที่มีสุขภาพดีจะทำตามผลประโยชน์ของสังคม (social Interest) การต่อสู้เพื่อความเหนือกว่าของคนมีสุขภาพจิตดีหมายถึงการเป็นคนดีที่ช่วยเหลือสังคมและผู้อื่น Adlerเชื่อว่าการเป็นคนสุขภาพจิตดีเป็นอย่างไรนั้นถูก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น