วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

Alfred Adler: ลำดับการเกิด (Birth Order) (ตอนที่ 1)

Adler เชื่อว่าพ่อแม่ปฏิบัติต่อลูกแต่ละคนไม่เหมือนกัน และการปฏิบัติดังกล่าวมีส่วนข้องเกี่ยวกับลำดับการเกิดของลูกในครอบครัวนั้น ๆ ทั้งนี้ลูกคนแรกมักเป็นศูนย์กลางแห่งความสนใจของครอบครัวในช่วงที่น้องๆยังไม่เกิด เมื่อน้องเกิดเขาคนนั้นจะกลายเป็น "กษัตริย์ที่ถูกปลด" เพราะเขาต้องแบ่งความรักของพ่อแม่ไปให้น้อง ผลก็คือลูกคนแรกอาจรู้สึกต่อต้านและรู้สึกเป็นศัตรูกับน้อง ความรู้สึกดังกล่าวจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะถ้าพ่อแม่ไมได้เตรียมใจเขาก่อนน้องเกิด แต่ถ้าเตรียมความพร้อมลูกคนโตจะกลายเป็นคนที่ปกป้องน้องดดยบ่อยครั้งทำตัวเป็นตัวแทนของพ่อแม่แลสารทุกข์สุกดิบของน้อง ในความคิดของ Adler ลูกคนแรกเข้าใจดีที่สุดเรื่องอำนาจ เพราะเธอหรือเขาเคยสูญเสียมันไปในครอบครัวตัวเอง ดังนั้น ลูกคนแรกมักจะกลายเป็นคนที่สนับสนุนและนิยมคนมีอำนาจเมื่อเป็นผู้ใหญ่และจะกลายเป็นคนที่ต้องการจะมีสถานะหรือตำแหนางจุดยืนทางสังคม ในทางการเมืองเขาจะเป็นคนอนุรักษ์นิยม



ส่วนลูกคนที่สองมีแนวโน้มที่จะมองพี่ว่า เป็นคู่แข่งที่เขาจะต้องเอาชนะ ถ้าลูกคนโตปกป้องน้องและส่งเสริมให้น้องก้าวหน้าพัฒนาการที่ดีก็จะเกิดขึ้น แต่ถ้าพี่ต่อต้านน้องและกลั่นแกล้งน้อง คนน้องก็มีทางที่จะเป็นโรคประสาท Adler ยังกล่าวต่อไปว่าคนน้องจะมีแนวโน้มที่จะต้องเป้าสูงเกินไปจนต้องผิดหวังเพราะความล้มเหลว

ส่วนลูกคนเล็กที่สุดจะเป็นลูกแหง่ของครอบครัว และได้รับความสนใจจากครอบครัวมากที่สุด Adler เชื่อว่า พ่อแม่มักจะทำให้ลูกคนเล็กเสียเด็กโดยการตามใจจนเกินไป ผลก็คือจะทำให้เขากลายเป็นคนที่พึ่งคนอื่นอย่างมาก ต้องให้คนอื่นปกป้องตลอดเวลา และเขาจะเป็นคนทะเยอทะยานที่บ่อยครั้งไม่ประสบความสำเร็จ

การเกิดของเด็กดังกล่าวได้รับการตอบรับด้วยความยินดีในตอนเกิด ถ้าเด็กไม่เป็นที่ต้องการ เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็นเด็กที่ถูกทิ้ง แต่ส่วนใหญ่แล้วลูกคนเดียวจะได้รับการเอาอกเอาใจโดยเฉพาะจากแม่ เมื่อโตขึ้นเด็กอาจมีปัญหาเรื่องมนุษย์สัมพันธ์ถ้าเขาไม่ถูกเอาใจและยกยอเหมือนกับที่เคยได้รับมาก่อน



จากการรายงานที่มีอยู่พบว่าความคิดของ Adler ในเรื่องของการเกิด (birth order effect) ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีเมื่อพิจารณาจากผลการทดสอบ อย่างไรก็ตามแต่ก็มีการทบทวนผลงานวิจัยสามรายการและพบว่ามีข้อมูลที่สอดคล้องกันกับทฤษฎีของ Adler น้อย ดังนั้น ควรจะศึกษาข้อมูลต่อไปนี้ด้วยความระมัดระวัง เพราะมีความขัดแย้งกันของการตรวจสอบ

Adler เชื่อว่าเนื่องจากลูกคนแรกได้สูญเสียอำนาจเมื่อน้องคนรองเกิด เขาจะชดเชยสิ่งที่สูญเสียไปในชีวิตโดยการพยายามสร้างความสำเร็จในชีวิตที่โดดเด่น นั่นหมายความว่าลูกคนแรกต้องการเอาชนะคนอื่นๆต้องการควบคุมคนอื่น ดังนั้น เราจึงคาดเดาได้เลยว่าลูกคนแรกจะต้องประสบความสำเร็จทางวิชาการและประสบความสำเร็จในกิจกรรมอื่นๆ เป็นใหญ่เป็นโตในสังคม

การคาดเดาดังกล่าวได้รับการสนับสนุนบ้าง ทั้งนี้ Belmont and Marolla ได้พบความสัมพันธ์เชิงบวกเกี่ยวกับอันดับการเกิดและผลงานทางวิชาการโดยการศึกษาคนจำนวน 4 แสนคน โดยกลุ่มตัวอย่างนั้นเป็นผู้ชายทั้งหมดของเนเธอร์แลนด์ที่มีอายุ 19 ปีขึ้นไป ในช่วงระหว่างปี 1963 – 1966 พวกเขาพบว่าลูกคนแรกเรียนเก่งกว่าและเป็นนักวิชาการที่ประสบผลสำเร็จกว่าน้องในครอบครัวที่มีลูก 2-9 คน และแล้วในปี 1974 Breland ได้แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์เชิงบวกเกี่ยวกับอันดับการเกิดและความสามารถทางวิชาการมีผลเป็นจริงในหมู่ผู้สมัครสอบทุน National Merit Scholarships เกือบ 8 แสนคน

บุคคลที่สนับสนุนความคิดของ Adler ที่แข็งขันเกี่ยวกับลูกคนแรกมีพัฒนาการทางวิชาการมากกว่าลูกคนที่เกิดทีหลังคือ Zajonc and Markus พวกนักวิชาการเหล่านี้ตั้งสมมุติฐานว่าการพัฒนาการทางจิตของเด็กขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางวิชาการซึ่งเด็กพวกนี้เติบโต ในขณะที่จำนวนลูกในแต่ละครอบครัวเพิ่มขึ้นพัฒนาการทางวิชาการก็จะด้อยลง ทั้งนี้เพราะลูกคนเล็กมาดึงความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กไป เมื่อเฉลี่ยความเอาใจใส่ของผู้ใหญ่แล้วเด็กที่เป็นน้องก็จะพัฒนาการทางวิชาการที่ด้อยกว่าพี่ซึ่งมีผู้ใหญ่เอาใจใส่เต็มที่ การมีลูกหลายคนทำให้บรรยากาศทางวิชาการด้อยลง ทั้งนี้เพราะผู้ใหญ่ต้องเฉลี่ยความสนใจในการสอน

ในขณะเดียวกันลูกคนแรกก็ต้องทำหน้าที่เป็นครูอีกต่างหาก ทั้งนี้พ่อแม่มักคาดหวังให้สอนน้องในเรื่องต่างๆ ผลก็คือ พวกลูกคนโตต้องเรียนรู้มากขึ้นทำให้ได้มีการเร่งพัฒนาการทางวิชาการและความคิดส่วนลูกคนรองไปไม่ต้องทำหน้าที่ดังกล่าวมากเท่าพี่ ปกติเด็กเล็กกว่ามักถามพี่อยู่เรื่อย ส่วนตัวเองก็ไม่ต้องทำหน้าที่ผู้สอน แรงกดดันทางการเรียนรู้จึงต่างกัน ลูกคนเล็กที่สุดจะมีปัญหามากที่สุดคือไม่มีใครให้สอนเลย

Zajonc และ Markus ได้โต้ว่าข้อมูลมากมายของ Belmont, Marolla และ Breland ได้สนับสนุนทฤษฎีของพวกเขามากพอสมควร ส่วนผู้วิพากวิจารณ์อื่นเช่น Steelman ได้กล่าวว่าการเก็บข้อมูลอันอื่น ๆ ไม่ สนับสนุนทฤษฎีของ Zajonc และ Markus เขาวิจารณ์ว่าผลงานวิจัยที่ Zajonc และ Markus อ้างนั้นมิได้ควบคุมตัวแปรทางสังคมเศรษฐกิจของพ่อแม่ (socioeconomic status – SES) ทั้งนี้ตัวแปรเช่น การศึกษา อาชีพ และระดับรายได้มิได้รับการควบคุม ได้มีหลักฐานสนับสนุนพอสมควรกว่าฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจมีผลต่อพัฒนาการทางปัญญาของเด็ก ยิ่งพ่อแม่รวยเท่าใดลูกก็ยิ่งมีพัฒนาการทางปัญญามากเท่านั้น ในขณะเดียวกันพ่อแม่ที่มีฐานะดีมักมีลูกน้อยกว่าพ่อมาที่ยากจน ดังนั้น ลูกคนแรกที่ทดสอบจึงอาจมาจากครอบครัวที่มีลูกน้อย ฐานะดีกว่า ส่วนลูกคนรองที่ถูกทดสอบอาจมาจากครอบครัวที่มีฐานะด้อยกว่าและมีลูกมากกว่า สรุปว่า Steelman กล่าวว่าแทนที่จะเป็นลำดับการการเกิดแต่อาจเป็นฐานะทางสังคมเศรษฐกิจดีก็ได้ที่กำหนดพัฒนาการทางวิชาการหรือปัญญาเด็ก

ในการโต้ตอบกันอย่างเผ็ดร้อน Zajonc ได้กล่าวหา Steelman ไม่ได้อ้างการศึกษาหลายรายการที่ได้แสดงให้เห็นว่าลูกคนแรกมีพัฒนาการทางวิชาการที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเกิดในครอบครัวที่มีฐานะแบบไหน ในทำนองเดียว Steelman ได้ยืนยันว่าผลทางวิชาการที่สนับสนุนทฤษฎีของ Zajonc นั้นอ่อน เพราะสมมุติฐานขั้นพื้นฐานของ Zajonc ก็คือว่าการปฏิสัมพันธ์กับคนที่กระตุ้นปัญญาจะทำให้ฉลาด แต่ไม่มีงานวิจัยที่สนใจการปฎิสัมพันธ์จริงระหว่างพี่กับน้องและพ่อแม่ นอกจากนี้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่อื่นด้วยเช่นกัน ครูและเพื่อนของพ่อแม่ และกับเพื่อนร่วมรุ่น นอกจากนี้เด็กยังอ่านหนังสือและดูทีวี งานวิจัยที่ศึกษาการปฏิสัมพันธ์ทุกรูปแบบอาจทำให้ได้ทฤษฎีที่เกี่ยวกับลำดับการเกิดและพัฒนาการทางวิชาการที่ดีขึ้น และจะทำให้นักวิจัยหลุดพ้นจากภาวะขัดแย้งดังกล่าวด้วย

ลูกคนเดียวนั้นมีฐานะพิเศษ แม้พวกเขาจะไม่มีโอกาสติวน้องแต่พวกเขาก็ได้รับความเอาใจใส่จากพ่อแม่เต็มที่ อันที่จริง Falbo และ Cooper พบว่าแม่ของเด็กเล็กที่เป็นลูกคนเดียวใช้เวลามากกว่าแม่ที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคนจริง นอกจากนี้ Lewis และ Feiring พบว่าในระหว่างเวลาทานข้าวครอบครัวที่มีลูกคนเดียวคุยกับลูกมากว่า มีการแลกเปลี่ยนการสนทนากันมากกว่าครอบครัวที่มีลูกสองคน หรือสามคน ประการสุดท้ายมีผลงานวิจัยอื่นรายงานรายงานอย่างชัดแจ้งว่าลูกคนเดียวฉลาดกว่าลูกที่เกิดทีหลังในครอบครัวใหญ่กว่า และมีความเก่งพอ ๆ กับลูกคนแรก

ผลงานวิจัยของ Falbo และ Polit ยังได้ชี้ให้เห็นว่าลูกคนเดียวเข้าสังคมและมีการปรับตัวทางจิตวิทยาดีเท่าลูกที่มาจากครอบครัวที่มีลูกหลายคน Falbo ยังพบว่าลูกคนเดียวมีแนวโน้มที่จะช่วยเหลือร่วมมือในการเล่นเกมมากกว่าลูกคนโตและลูกคนสุดท้องซึ่งนิยมการแข่งขันมากกว่า ข้อมูลที่พบนี้ได้ค้านกับความคิดของ Adler ที่ว่าลูกคนเดียวมักจะมีปัญหาการปรับตัวเข้ากับสังคมเพราะไม่มีโอกาสเรียนรู้ทักษะในการเข้าสังคมโดยการมีปฏิสัมพันธ์กับพี่น้อง

ผลงานวิจัยอื่นๆ พบว่าลูกคนแรกมีจำนวนมากที่เรียนมหาวิทยาลัย เป็นนักเรียนปริญญาโทและเอกและเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยมากมาย นอกจากนี้ยังเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงทางวิทยาศาตร์และการเมือง ส่วน Wagner และ Schubert ก็ได้พบว่าลูกชายคนแรกได้เป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมาก แต่ไม่มากในหมู่ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีที่สอบตก Zweigenhalf พบว่ามีลูกคนแรกมากในสภาคองเกรส และ Melillo ได้ค้นพบว่าในหมู่สตรีที่ได้ปริญญาเอก หรือปริญญาแพทยศาสตร์เป็นลูกคนแรกจำนวนมาก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น