Ivancevich, Matteson และ Gamble ได้พบว่าการดิ้นร้นเพื่อความสำเร็จของลูกคนแรกนั้นมีข้อแลกเปลี่ยน คือพวกเขาคิดว่าลูกคนโต และลูกคนเดียว ที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยไม่ว่าจะเป็นคนดำหรือคนขาว เป็นหญิงหรือเป็นชาย ส่วนใหญ่มีบุคคลิกแบบ Type A ซึ่งเป็นบุคลิกที่ใช้ความเพียรอย่างมากในการสร้างสรรค์มากกว่าหรือการกระทำที่เสียเวลาน้อยที่สุด พวกเขาทำงานแข่งขันกับเวลา ผลก็คือบ่อยครั้งสุขภาพจะล้มเหลวและเป็นโรคหัวใจวาย ผลงานที่ศึกษาหลังจากนั้นของ Phillips Long และ Bedeian ได้ผลงานเช่นเดียวกัน โดยศึกษาตัวอย่างของนักสอบบัญชีอาชีพ และพบว่านักสอบบัญชีอาชีพลูกคนแรกได้คะแนนบุคคลิก Type A มากกว่า และมีความร้อนรนมากว่าลูกคนรองในสถานการณ์ที่เป็นอันตราย
Adler ได้เสนอว่าลูกคนแรกร้อนรนใจเพราะเสียอำนาจ และพยายามกู้มันกลับมาโดยการทำเรื่องเอาใจใส่พ่อแม่ทำตามคาดหวังของพ่อแม่ เมื่อมีความกดดันพวกเขาจะหาความช่วยเหลือ ดังนั้นสมมุติฐานก็คือว่า ลูกคนแรกจะมีความร้อนรนมากว่าลูกคนรองเมื่อเผชิญอันตรายหรือถูกกดดัน ผลก็คือ พวกเขาจะเข้าหากลุ่มมากขึ้นเมื่อถูกกดดันหรือมีปัญหา
ผลงานวิจัยชิ้นแรกที่สนับสนุนทฤษฎีดังกล่าวคือ ผลงานของ Schachter ในการศึกษาของเขา เขาให้ผู้ถูกศึกษาสตรีได้รับการแนะนำให้รู้จักกับหมอซึ่งหมอจะบอกพวกเขาว่าจะเข้าร่วมการทดลองโดยมีการช็อตไฟฟ้าเพื่อดูผลการช็อตมีผลต่อชีพจรและความดันโลหิตอย่างไร ในสภาพที่หนึ่งผู้ทดลองบอกผู้ถูกศึกษาครั้งหนึ่งว่าการช็อตจะเบามากทำให้จักจี้เท่านั้น ผู้ถูกศึกษาทั้งหมดได้รับการบอกว่าต้องคอย 10 นาทีก่อนที่การช็อตจะเกิดขึ้น พวกเขาจะอยู่คนเดียว หรืออยู่กับหญิงอื่นก็ได้ จริงๆแล้วไม่มีคนไหนถูกช็อตเลย บุคคลประเภทที่สามคือพวกอย่างไรก็ได้คอยคนเดียวหรือคอยร่วมกับคนอื่นก็ได้ดังที่คาดเอาไว้ผลที่ออกมาก็คือว่า พวกลูกคนแรกร้อนรนใจมากกว่าพวกเกิดทีหลัง มีคนเกิดคนแรกจำนวนมากเลือกที่จะคอยร่วมกับคนอื่น
งานวิจัยชิ้นอื่นก็ได้พิสูจน์ว่าลูกคนแรกทำงานได้มีประสิทธิภาพน้อยกว่า ถ้ามีความกดดันมาก และพวกเขามักไม่ค่อยเล่นกีฬาประเภทเสี่ยงภัย
Adlerยังได้กล่าวอีกว่า ลูกคนเล็กจะได้รับการตามใจมากที่สุดในบ้าน การตามใจลูกจำทำให้กลายเป็นคนที่ต้องพึ่งพาคนอื่นเป็นอย่างมาก และมักหาทางออกง่ายๆในการแก้ปัญหาพฤติกรรมพึ่งพาเป็นอย่างมากจะปรากฎในครอบครัวที่มีลูกชายเป็นลูกคนสุดท้อง และพี่ๆเป็นพี่สาวแทนที่จะเป็นพี่ชาย ในลักษณะนี้ลูกคนเล็กจะมีความรู้สึกขัดแย้งระหว่างต้องการอิสระภาพและต้องการพึ่งผู้อื่นเพื่อความสะดวกสบายในการรับสนองความต้องการ เป็นที่คาดเดากันว่าลูกคนเล็กจะเป็นคนติดเหล้ามากกว่าคนเกิดลำดับอื่น ในการตรวจสอบงานวิจัย 27 ชิ้น เกี่ยวกับลำดับการเกิดและการเป็นแอลกอฮอลิค Barry และ Blane พบว่าในจำนวนงานวิจัย 27 ชิ้นมีอยู่ 20 ชิ้นชี้บ่งว่าลูกคนสุดท้องมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้ติดสุราเรื้อรังได้
จากทั้งหมดที่ได้กล่าวมา จะสามารถสรุปรวมใจความของบุคลิกภาพของลูกแต่ละคนในครอบครัวได้ดังนี้
1. ลูกคนโต มักจะมีบุคลิกภาพ เป็นคนเอาจริงเอาจังต่อชีวิต มีความรับผิดชอบ มักเป็นผู้นำ ผู้ไว้อำนาจแต่ถ้าแก้ความก้าวร้าวไม่ได้ ลูกคนโตมักมีบุคลิกภาพก้าวร้าว เคร่งเครียด และอิจฉาริษยา
2. ลูกคนรอง มักมีบุคลิกภาพ เป็นคนไม่เคร่งเครียด ไม่เอาจริงเอาจังเท่าไรนัก มีนิสัยรักสนุก ไม่ค่อยสนใจที่จะเป็นผู้นำหรือรับผิดชอบสักเท่าไร แต่เมื่อลูกคนรองมีน้องความรู้สึกการแข่งขันจะเกิดขึ้นทันที ถ้าในครอบครัวมีสัมพันธภาพไม่ดี อาจทำให้ลูกคนรองที่กลายมาเป็นคนกลางอาจมีความรู้สึกว่าพ่อแม่ ลำเอียง และเกิดปัญหาในที่สุด
3. ลูกคนสุดท้อง มักมีบุคลิกภาพเป็นคนที่เอาแต่ใจตนเอง ช่างประจบ ชอบให้คนอื่นช่วยเหลือ ได้รับความรักจากพ่อแม่พี่ๆ ค่อนข้างมาก ถ้าเลี้ยงดีก็จะดีมากแต่ถ้าเลี้ยงตามใจมากเด็กอาจเสียในที่สุด
4. ลูกโทน มักจะมีบุคลิกภาพที่มักจะเอาแต่ใจตนเอง มักถูกตามใจจนเคยตัว แต่ถ้าครอบครัวสอนให้รู้เหตุรู้ผลลูกโทนจะมีความเชื่อมั่นในตนเอง องอาจ นับถือตนเอง แต่ความรับผิดชอบอาจน้อยเพราะต้องการอะไรก็มักจะได้โดยง่ายจึงไม่รู้ค่าของสิ่งที่มี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น