ความคิด (Construct) นั้นแบ่งออกเป็น 6 ประเภทได้แก่
1. แกนความคิด (core construct) คือ ความคิดที่สะท้อนความเป็นตัวตนของบุคคลนั้น ๆ เป็นความเชื่อที่สะท้อนเอกลัษณ์ส่วนบุคคล เป็นโครงสร้างที่ทำหน้ารักษาการดำรงให้คงอยู่ไว้ แกนความคิดนี่จึงเปลี่ยนแปลงได้ยากมาก
2. ความคิดรอง หรือ ความคิดรอบนอก (peripheral constructs) คือ ความคิดที่สามารถถูกเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย และการเปลี่ยนแปลงของพวกมันก็ไม่มีผลกระทบต่อความคิดหลักหรือแกนความคิดเช่นกัน
3. การแทรกซึมของความคิด (permeability) ความคิดหนึ่ง ๆ จะมีคุณสมบัตินี้ได้ ถ้ามันยอมให้ความคิดใหม่ ๆ เข้าไปในระบบความคิด ซึ่งหมายถึงว่าความคิดเดิม ๆ นั้นจะต้องถูกกันออกไปในขณะนั้น การแทรกซึมทางความคิดนั้นสามารถเป็นตัวที่ทำให้บุคคลเปลี่ยนระบบความคิดได้ ซึ่งสามารถหมายถึงการเจริญเติบโตพัฒนาการส่วนบุคคล รวมไปถึงการบรรลุแล้วซึ่ตัวตนของตนเอง (realization of the self)
4. การยืนกรานทางความคิด (preemptive constellatory) หมายถึงการกีดกัน ยืนกรานไม่ให้ความคิดของตนที่มีกลายเป็นส่วนหนึ่งของความคิดอื่น ๆ ไม่ยอมให้เกิดการแทรกแซงทางความคิดได้ รวมไปถึงเป็นการรักษาจุดยืนของตัวเอง เช่น ระบบทุนนิยมจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากเป็นระบบที่เอาเปรียบประชาชนซึ่งดำเนินการโดยธุรกิจใหญ่ ๆ
5. การเหมารวม (constellatory construct) หมายถึงความคิดทียอมให้พวกตนเข้าไปในเขตอื่นพร้อม ๆ กัน แต่จำกัดสมาชิกของเขตตัวเอง กล่าวคือ ทันทีที่เราเจอคนคนหนึ่งซึ่งเราสามารถจัดประเภทให้ได้ เราจะมอบคุณลักษณะให้เขาชุดหนึ่ง เช่น ผู้ชายมักจะคิดว่าผู้หญิงผมบลอนด์นั้นสวย มีความเป็นผู้หญิงมากกว่าผมสีอื่น
6. ความคิดเปิด (propositional construct) หมายถึงความคิดที่เปิดโอกาสสร้างสรรค์ในทุกแง่ บุคคลที่มีความคิดลักษณะนี้จะเป็นคนที่มีความคิดยืดหยุ่น สามารถเปิดกว้างรับความคิดใหม่ ๆ เสมอ รวมถึงสามารถปรับเปลี่ยนความคิดเดิมที่มีไปตามสถานการณ์ได้ บุคคลที่มีลักษณะเช่นนี้เหมาะที่จะจัดการกับปัญหาที่สุด เพราะเขาจะรู้ว่าควรจะใช้วิธีแก้ปัญหา เมื่อใดควรรักษาจุดยืนของตน และ เมื่อใดถึงจะควรใช้วิธียืดหยุ่นในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น