วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

Fromm: แนวคิดสำคัญ (ตอนที่ 2)

Fromm มีความเชื่อมั่นว่า ระบบสังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและบุคลิกภาพของมนุษย์อย่างสูงเป็นนักจิตวิทยาด้านจิตวิเคราะห์ที่มีพื้นฐานความรู้ทางด้านสังคมวิทยา และจาก ประสบการณ์ชีวิตที่ Fromm เป็นชาวยุโรปที่อพยพมาอยู่ อเมริกา ทำให้ Fromm ได้เห็นความแตกต่างระหว่างสังคมยุโรปกับสังคมอเมริกา

Fromm จึงมีความเชื่อมั่นอย่างมากว่า ระบบสังคมมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและลักษณะบุคลิกภาพของมนุษย์เป็นอย่างสูง
ความรู้และประสบการณ์ของเขา ทำให้เขาได้อธิบายลักษณะสังคมแบบต่างๆ ที่มีผลต่อการรูปแบบพฤติกรรมของบุคคลในสังคมนั้นๆ


1. สังคมแห่งการวางอำนาจ (Authoritarian) เนื่องจากมนุษย์กลัวที่จะต้องเผชิญกับการอยู่ในโลกอย่างโดดเดี่ยว ว้าเหว่ จึงต้องยอมเสียความเป็นอิสระทำอะไรตามใจคิดของตนเองแลกกับการได้ ถูกนับเข้าเป็นสมาชิกคนหนึ่งในหมู่คณะ ต้อง "ตามผู้นำ" อย่างไม่ต้องคิด จำ เป็นต้องอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้มีอำนาจ ส่วนผู้มีอำนาจนั้นก็ถือโอกาสวางกฎเกณฑ์เอาไว้ให้คนทั้งหลายปฏิบัติตาม ใครฝ่าฝืนเป็นผิด ถ้าเป็นกระทำผิดทางบ้านเมืองก็ได้รับโทษหนัก ถ้าเป็นท างศาสนาก็เป็นบาปมหันต์ มีกฎตายตัวว่า "ต้องเชื่อและทำตามผู้นำ" ไม่ว่าผู้นำ จะ ผิดหรือถูกก็ตาม "การต้องเชื่อและทำตามผู้นำ" ย่อมขัดกับหลักการแห่งความรักตนเอง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในสำนึกของมนุษย์ทุกผู้คน และขัดกับหลักการแห่งความรับผิดชอบ ซึ่งมนุษย์มีต่อความก้าวหน้าของมนุษยชาติ


Fromm มีความเห็นว่า ความรักตนเองกับความรักผู้อื่นไม่แตกต่างกันเลย ผู้ที่รักตนเองเท่านั้น จึงจะรู้จักรักผู้อื่นได้ และบุคคลผู้รักตนเอง อาจสละแม้แต่ชีวิตเมื่อถึงคราวจำเป็น แต่มิใช่เอาชีวิตมาทิ้งอย่างบ้าบิ่น หรือเห็นเป็นของไร้ค่า หรือเพียงเพื่อต้องการผลตอบแทน ในสังคมแห่งการวางอำนาจเป็นการยากที่คนจะรักนับถือตนเองได้ เพราะแม้แต่ตนเองก็ปราศจากความเป็นไทเสียแล้ว
2. สังคมแห่งผลผลิต (Productivity) ในหนังสือ "Man of Himself" Fromm ชี้ให้เห็นว่า จุดมุ่งหมายของ มนุษย์คือ "การมีชีวิตอยู่อย่างเป็นประโยชน์ อยู่โดยการผลิตผลิตผลให้แก่เพื่อนร่วมโลก ทัศนคติในสังคมแห่งผลิตผลนั้นเกิดจาก "ความรักตนเอง" การที่เรามี ความรักตนเองทำให้รักผู้อื่นเป็น ความรักทำให้มนุษย์มีความเอื้ออาทร มีความรับผิดชอบ ต่อผู้อื่นตามสิทธิที่เขาควรได้ นั้นคือสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์นั่นเอง


ความรักหนุนให้คนเราอยากบำเพ็ญประโยชน์ แต่ Fromm ชี้ให้เห็นว่าผู้บำเพ็ญประโยชน์นั้น มิใช่วุ่นวายเป็นเจ้ากี้เจ้าการ หรืออุทิศตนอย่างไม่มีเวลาเป็นตัวของตัวเอง อันเป็นการเบียดเบียนตนเอง อันที่จริงแล้ว บุคคลประเภทเจ้ากี้เจ้าการ ก็จัดอยู่ในประเภทโรคจิตโ รคประสาท ไม่แพ้พวกเกียจคร้าน ใจแคบไม่ยอมช่วยเหลือผู้ใดเลย ผู้ที่อยู่ในสังคมแห่งผลผลิตนั้น ย่อมเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพอันเป็นอุดมการณ์ที่มนุษย์ประสงค์จะมี แต่จะมีได้มากน้อยเพียงใดนั้นสุดแต่ความตั้งใจมุ่งมั่นของมนุษย์ ดังกล่าวแล้วว่า ธรรมชาติมนุษย์ไม่นิยมการอยู่อย่างเปล่าประโยชน์ บุคคลผู้ที่มิได้บำเพ็ญประโยชน์เลยนั้น แม้จะโชคดีเกิดมาในกองเงินกองทอง แต่ก็ไร้ความสุข แม้ภายนอกจะอยู่อย่างคนเจ้าสำราญ แต่ส่วนลึกของจิตใจหาได้เปี่ยมด้วยความพอใจไม่ ดูเหมือนยิ่งตักตวงเอา "ความสุข" มากเท่าใด ก็ยิ่งพบแต่ความว่างเปล่า


บุคคลผู้รู้ตัวว่ามิได้ทำประโยชน์อะไรแก่ผู้อื่นเลย แม้จะมั่งมีศรีสุข ก็เต็มไปด้วยความหวาดกังวล จะเห็นได้จาก "การกลัวความแก่และความตายอย่างถึงขนาด" เพราะเห็นว่าตนเองยังมิได้ทำอะไรให้เป็นแก่นสารในชีวิต ส่วนผู้ที่อิ่มอกอิ่มใจ เพราะได้บำเพ็ญประโยชน์ตามฐานานุรูปของตนนั้น ย่อมสามารถเผชิญความแก่, ความตายได้อย่างองอาจ ถือว่าความแก่เป็นของธรรมดา เพราะเห็นอย่างอื่นสำคัญกว่าความงามฉาบฉวยทางร่างกาย และถือว่า ตนทำดีมามากแล้วย่อมนอนตายตาหลับ


4.3 สังคมแห่งการเอาเปรียบ (Receptive) คือสังคมที่มีบุคคลกลุ่มหนึ่งหรือบางกลุ่มได้แต่ตักตวงเอาผลประโยชน์จากผู้อื่น เช่นลักทธิเจ้าขุนมูลนายหรือลักษณะนายกับทาส ผู้ใดอยู่ในฐานะ " ผู้น้อย" ก็ต้องยอมรับสภาพความเป็นไพร่พลหรือข้าทาสของตนเอง ก็ยอมก้ม หน้าแบกภาระ ซึ่ง "ผู้เป็นนาย" บัญชาสั่งลงมา เพื่อหวังผลตอบแทนเล็กน้อยการ ปกครองป้องกันจากเจ้าขุนมูลนาย "ผู้น้อย" ในสังคมประเภทนี้ตรงกับพวก Oral Passive ของ Freud และ พวก "ยอม" ของ Karen Horney ผู้ที่อยู่ในสังคมถูกเอาเปรียบจะกลายเป็นผู้อาศัยผู้อื่นอยู่ตลอดกาล ต้อง อาศัยพ่อแม่เพื่อนฝูง หัวหน้าหรือผู้มีอิทธิพล เป็นผู้มีอำนาจหรือพระเจ้าอยู่เหนือผู้อื่นทุกลมหายใจ ถ้าขาดสิ่งเหล่านี้ก็ขาดที่พึ่ง จะรู้สึกอ้างว้างสุดพรรณนา ผู้ที่อยู่ในสังคมประเภทนี้ จะต้องอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้มีอำนาจ เพราะ ไม่กล้า เสี่ยงออกไปเป็นไทแก่ตนเอง จำเป็นต้องหาที่เกาะพึ่งพิง ถือคติว่า "สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง" ด้วยเหตุที่เป็นสังคมที่ไม่ชอบออกแรงที่จะได้อะไรมา จึงสอบให้คนเรียนลัดหรือรวยทางลัดหรือหาความสะดวกต่างๆ แม้จะแปรงฟันก็ต้องใช้แปรงไฟฟ้า เป็นต้น


4.4 สังคมแห่งการขูดรีด (Exploitative) คือสังคมที่มีการกดขี่ข่มเหง ทำนาบนหลังคน แบบนายทุนในสมัยศ ตวรรษที่ 18-19 กล่าวคือ นายทุนเห็นแก่ได้ ไม่ยอมจัดบริการหรือให้สวัสดิกา แก่คนงานที่ทำประโยชน์แก่ตนเลย บุคคลในสังคมแบบนี้ ย่อมเต็มไปด้วยการชิงดี หักล้างกัน จะเป็นด้วยไหวพริบหรือเอากันซึ่งๆ หน้า ผู้มีอำนาจก็ถืออำนาจเป็นใหญ่ ตรงกับประเภท Oral-aggressive ของ Freud และประเภท "สู้" ของ Karen Horney ผู้ ที่อยู่ในสังคมแห่งการขูดรีด ย่อมเอาเปรียบผู้อื่นด้วยการตักตวงผลประโยชน์ แต่ต้องได้อะไรมาด้วยการต่อสู้ช่วงชิงไหวพริบ การได้อะไรมาฟรีๆ คนพวกนี้ไม่นับถือ เพราะเห็นว่าของฟรีคือของที่คนอื่นไม่ต้องการแล้ว ไม่มีค่า สู้ได้มาด้วยเล่ห์เหลี่ยมที่ตนถือว่าดีจะมีศักดิ์ศรีมากกว่าถ้ามีการแจกของฟรี บุคคลประเภท "เอาเปรียบ" จะรีบชิงวิ่งไปรับแจก แต่บุคคลประเภท "ขูดรีด" จะไม่แยแส แต่ถ้าได้แย่งเอามาหรือขโมยเอามาก็จะภูมิใจมาก ถ้าบุคคลประเภทนี้มีคู่รักก็มิใช่จะเห็นคุณค่าของคนรักนั้น แต่เป็นเพราะคนรักเป็นที่หวังปองของคนอื่นอีกหลายคนต่างหาก


4.5 สังคมประเภทสะสม (Hoarding) บุคคลในสังคมประเภทนี้มักหัวโบราณ ได้แก่เศรษฐี ซึ่งถือว่าการมีที่ดิน มีเงินในธนาคารเป็นหลักทรัพย์นั้นเป็นที่พอใจแล้ว ยึดถือว่าการเก็บหอมรอมริบ การตระหนี่เหนียวแน่นเป็นเรื่องสำคัญ ตรงกับประเภท Anal Type ของ Freud และใกล้เคียงกับประเภท "หนี" ของ Karen Horney ปรากฏว่าคนในสังคมเช่นนี้ ไม่ชอบความคิดใหม่ๆ และมักอิจฉาริษยา ไม่ชอบให้ใครมายุ่งในวงของตน ผู้ที่อยู่ในสังคมประเภทสะสม เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความอุ่นอกอุ่นใจที่ได้เก็บหอมรอมริบ ถ้าต้องใช้จ่ายอะไรบางอย่าง ก็จะรู้สึกว่ากำลังจะสูญเสียอย่างร้ายแรง ถือความเป็น "เจ้าของ" เป็นเรื่องสำคัญ แม้แต่คู่ครองก็ถือว่าเป็นสมบัติชิ้นหนึ่งของตน ภูมิใจที่ได้ครอบครอง อีกฝ่ายจะรู้สึกอย่างไรไม่สำคัญ


4.6 สังคมประเภทตลาด(Marketing) เป็นสังคมที่เพิ่งจะเกิดขึ้นใหม่ตามความแพร่หลายของลัทธินายทุนสมัยใหม่ เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ตัวต่อตัวมีน้อยลงทุกที ชีวิตมีอยู่เพื่อการแลกเปลี่ยนมากกว่าการผลิตผลิตผล ปรากฎว่า "ตรา" และการโฆษณามีความสำคัญยิ่งกว่าผลิตผล บุคคล กลายเป็น "ที่" สำหรับการแลกเปลี่ยน แม้จะอยู่ท่ามกลางฝูงชนก็เหมือนกับอยู่อย่างโดดเดี่ยวอ้างว้าง ดังที่ Fromm ได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ "The Lonely Crowd" ผู้ที่อยู่ในสังคมประเภทตลาด ปรากฏว่าในสังคมประเภทนี้ ไม่มีเรื่องของ "สัมพันธภาพระหว่างบุคคล" ใด ๆ สังคมมีแนวโน้มไปทางวัตถุนิยม และ หากมีแนวโน้มทางวัตถุนิยมมากเท่าใด ก็จะยิ่งมีคนที่มีบุคลิกภาพแบบนี้มากขึ้นเท่านั้น การติดต่อระหว่างบุคคลไม่มีเรื่องสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องแม้แต่น้อย




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น