วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

Alfred Adler: ปมด้อย-ปมเด่น

Adlerได้สังเกตเห็นในขณะที่เป็นแพทย์อยู่ว่าคนพิการมักจะพยายามฝึกฝนตัวเองเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น เด็กหญิงที่พูดไม่ชัดอาจจะฝึกพูดอย่างหนักจนกระทั่งวันหนึ่งได้เป็นโฆษกระดับชาติ นอกจากนี้เด็กชายที่มีขาอ่อนแออาจจะพยายามฝึกฝนจนเป็นนักวิ่งที่โดดเด่น ตามความคิดเห็นของแอดเลอร์สิ่งซึ่งทำให้คนสู้ไม่ใช่ความด้อย แต่เป็นความคิดที่มีต่อความด้อย คนเราสามารถตีความเกี่ยวกับปัญหาได้หลายทาง บางคนไม่สนใจด้วยซ้ำถ้ามีการไม่สนใจก็จะไม่มีการต่อสู้เพื่อเอาชนะมัน
ตอนหลัง Adler ได้ขยายความคิดจากปมด้อยทางร่างกายไปสู่การต่อสู้เพราะรู้สึกตนเองไม่เป็นลูกผู้ชายพอ เขาเรียกการชดเชยนี้ว่า masculine protest หรือการการต่อต้านแบบลูกผู้ชาย แอ็ดแลอร์คิดว่าความเป็นผู้ชาย คือ ความเด่น เพราะผู้ชายมีคุณลักษณะเช่น การยืนหยัด ความเป็นอิสระและการวางอำนาจ ส่วนสตรีนั้นมักจะได้รับการมองว่าด้อยกว่าเพราะมีคุณลักษณะ เช่น ไม่ดิ้นรน ยอมเขา และต้องอาศัยผู้อื่นอยู่เรื่อย เป็นที่คาดกันว่าความคิดดังกล่าวเกิดจากการเห็นบทบาทของชายและหญิงในสังคมเวียนนาในยุคของเขา แต่ Adler ไม่ได้เห่อกับความเป็นผู้ชายจนสุดโต่ง แต่ทว่าเขากลับเป็นคนเสมอภาค เขาต่อต้านการดูถูกไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย เขากล่าวว่า อคติดังกล่าวไม่ควรมี เขาได้ใช้แนวคิดเรื่อง masculine contest ในการอธิบายว่าเมื่อสตรีถูกกดขี่ทำให้มีปมด้อย พวกเขาจะต่อสู้กับปมด้อยดังกล่าวโดยการมีพฤติกรรมเหมือนผู้ชาย เขายกตัวอย่างสตรีที่พูดหยาบ ทำท่าใหญ่โต และแข็งกร้าว การเป็นเลสเบี้ยนเป็นภาวะสุดโต่งของการสู้กับปมด้อยของผู้หญิง ในทำนองเดียวกันที่มีความเป็นหญิงจนเกินเหตุก็เป็นตัวอย่างของการชดเชยปมด้อย สตรีกรณีพิเศษเหล่านี้อาจกระทำการล่อผู้ชาย ขู่เข็ญผู้ชายและทำให้ผู้ชายอับอาย

Adler ใช้แนวความคิดนี้กับผู้ชายเช่นกัน ตามความคิดเห็นของเขาชายที่ไม่มั่นใจก็อาจมีพฤติกรรมสุดโต่งเพื่อพิสูจน์ความ "เป็นชายแท้" บุคลิกแบบดอนฮวนจะพยายามพิสูจน์ความเป็นชายโดยการไปมีเพศสัมพันธ์กับหญิงมากมาย นิสัยดังกล่าวของทั้งสองเพศเป็นอาการของโรคประสาท (neurosis)

สุดท้ายAdlerได้ขยายความหมายของปมด้อยทางร่างกายออกไปอีก เขากล่าวว่ามนุษย์ทุกคนเจอปัญหาเรื่องปมด้อยทางใจและปมด้อยทางสังคมทั้งนั้น โดยเริ่มจากชีวิตในครอบครัวเพราะพ่อแม่ของเรารวมทั้งคนอื่นตัวใหญ่กว่าเราทั้งนั้น อีกทั้งยังเก่งกว่าเราด้วยในการแก้ปัญหา ความรู้สึกเป็นปมด้อยนี้ทำให้ต้องต่อสู้เพื่อปมเด่น ความรู้สึกเป็นปมด้อยนี้อาจส่งผลทั้งเชิงบวกและเชิงลบ การยอมรับว่าเราทุกคนมีช่วงแห่งชีวิตที่มีปมด้อยเช่นกันจะทำให้เราร่วมมือกันแก้ปัญหา แต่ถ้าเรารู้สึกมีปมด้อยมากเกินไปไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือคิดเอาเอง มันจะทำให้เราไม่ไว้ใจผู้อื่นหรือไม่ไว้ใจตนเองก็ได้ผลดีก็คือว่า เราจะทำการสิ่งซึ่งไร้ประโยชน์ในชีวิตโดยพึ่งการชดเชยเกินไป (overcompensation) เพื่อแก้ปัญหาปมด้อยโดยพัฒนาความรู้สึกเด่นเกินไป กลายเป้นคนโอหัง ขี้อวดทำให้คนอื่นไม่ชอบหน้า



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น