การพัวพันระหว่างประสบการณ์ในครอบครัวและการตีความของบุคคลนั้นทำให้เกิดเป้าหมายที่ชี้ทางและวิถีชีวิตพิเศษ ดังที่ได้ระบุไว้แล้วว่าตัวแปรทางสิ่งแวดล้อมสามตัวที่อาจทำให้เป็นโรคประสาทคือ
(1) ความพิการของร่างกาย
(2) การถูกทอดทิ้งหรือถูกปฏิเสธ
(3) การตามใจลูกAdlerมีความเชื่อว่าการตามใจลูกมากไปสร้างผลร้ายมากที่สุด
คนที่เป็นโรคประสาท หมายถึงคนที่มีปมด้อยอย่างหนักและชดเชยความรู้สึกด้วยการตั้งเป้าหมายชีวิตที่ไม่สมจริง โดยตั้งเป้าหมายไว้สูงเกินผิดปกติโดยคิดว่าป้าหมายดังกล่าวจะทำให้พวกเขาโดดเด่น คนที่มีอาการโรคประสาทมีปัญหาอย่างมากในการตัดสินคุณค่าของตน พวกเขาจะมองคุณค่าของตัวเองว่าถ้าไม่ต่ำก็สูงเกินไป พวกเขาจะมีความเครียดและหวาดกลัวตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องตัดสินใจเรื่องใด ๆ ก็ตาม สรุปแล้วก็คือว่า พวกเขากลัวถูกถอดหน้ากากและกลัวคนจะรู้ว่าพวกเขาไม่เอาไหน บุคคลประเภทนี้จะไม่กล้าทำอะไรเพื่อประโยชน์ของสังคม ในทางตรงกันข้ามพวกเขาจะปกป้องตนเองตลอดเวลาและตั้งป้อมป้องกันตัวเองอยู่ตลอดเช่นกัน
ผู้เขียนขอกล่าวถึงกรณีสมมุติเกี่ยวกับนักศึกษาชายคนหนึ่งเพื่อดูปัญหาของการพัฒนาการดังกล่าว ในเรื่องนี้ก็คือว่าเขาเป็นลูกคนแรกซึ่งได้รับการเอาใจใส่จากพ่อแม่เป็นอันมาก พ่อแม่ของเขาบอกเขาเสมอว่าเขาฉลาดกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน เขาแก้ปัญหาเก่งกว่าเด็กคนอื่นและเขาต้องเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ พ่อแม่ยอเขาอยู่เสมอทุกครั้งที่เขาทำงานใด ๆ สำเร็จ เมื่อเกิดความล้มเหลวพ่อแม่ก็ทำเป็นไม่รู้หรือไม่ก็บอกว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือไม่ก็โทษเหตุผลอื่น เช่น ถ้าสอบได้ไม่ดีก็โทษว่าครูไม่เอาไหน ดังนั้น แม้บางครั้งเขาจะรู้สึกมีปัญหาและมีปมด้อย แต่ทุกครั้งเขาจะพยายามนึกถึงพ่อแม่และหลอกตัวแองว่าพวกท่านพูดถูก เขาทำอย่างนี้เพื่อปกป้องตัวเองไม่ให้ต้องเจ็บปวดกับความจริงกับความจริงที่ตนเองมีข้อกำหนด วิถีชีวิตซึ่งผิดพลาดตั้งแต่ต้นของชีวิตดังกล่าวได้ผลักดันให้ตนเองมีภาพว่าตัวเองสมบรูณ์แบบไม่มีที่ติเหมือนเทพ เป้าหมายที่เขาจินตนาการขึ้นมาทำให้เขาไม่สามารถยอมรับข้อผิดพลาด เขาหลอกตัวเองว่าตัวเองเหนือว่าผู้อื่น และเขาต้องประสบความสำเร็จในทุกๆเรื่อง
แล้วกรณีนักศึกษา คนนี้ ต้องรักษาหรือบำบัดยังไงคะ
ตอบลบ