วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

Sigmund Freud: ความวิตกกังวล

ฟรอยด์เชื่อว่า ความวิตกกังวลเป็นเรื่องที่มนุษย์หลีกหนีไม่พ้น เพราะความปรารถนาของมนุษย์นั้นไม่สามารถได้รับการตอบสนองเสมอไป โดยเขาได้แบ่งความหวาดกังวลออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

1. ความวิตกกังวลจากสิ่งแวดล้อม (Reality Anxiety) ได้แก่ ความหวาดกลัวสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่อยู่รอบตัวเราอยู่แล้ว เป็นความกังวลที่เกิดกับมนุษย์เราเป็นส่วนใหญ่ เช่น กลัวสูญเสียคนรัก กลัวตกงาน กลัวไม่มีบ้านอยู่


2. ความวิตกจริต (Neurotic Anxiety) ได้แก่ เป็นความวิตกกังวลที่มีสาเหตุให้บุคคลแสดงอาการบางอย่างออกมา เนื่องจากกลัวการถูกลงโทษที่ไม่สามารถควบคุมพลังของสัญชาตญาณไว้ได้ มี 3 รูปแบบคือ
  • ความวิตกกังวลแบบเลื่อนลอย (free floating form) คือ ไม่รู้ว่าตนเองวิตกกังวลเรื่องใดกันแน่ มีความรู้สึกเลื่อนลอย สับสน หวาดกลัวอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่รู้ว่ากลัวอะไร
  • ความวิตกกังวลในสิ่งที่ไม่น่าวิตก (phobic form) คือ ความกลัวในสิ่งที่คนปกติทั่วไปรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ปกติ เช่น กลัวที่แคบ กลัวความมืด กลัวแมงมงุม วิตกกังวลกับการออกนอกบ้าน
  • ความวิตกกังวลขั้นรุนแรง (panic form) คือ ความวิตกกังวลขั้นร้ายแรงจนถึงขั้นฆ่าตัวตาย หรือประกอบอาชญากรรมได้


3. ความวิตกกังวลเชิงศีลธรรม (Moral Anxiety) ได้แก่ เป็นความวิตกกังวลเมื่อเกิดขึ้นแล้ว และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ จะกลายเป็นความวิตกกังวลที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง บุคคลจะลดตัวลงมาสู่ภาวะ เหมือนทารกที่ช่วยตนเองไม่ได้
ทั้งนี้แล้วเมื่ออีโก้ไม่สามารถจะต่อสู้กับความวิตกกังวล โดยใช้วิธีการอันมีเหตุผล ก็จำต้องถอยกลับไปใช้วิธีการอันไม่ตรงกับความเป็นจริงที่เรียกว่า กลไกป้องกันตน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น