วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีบุคลิกภาพ: Carl G. Jung

Carl Jung เป็นหนึ่งในนักจิตวิทยาที่สืบทอดแนวคิดมาจากทฤษฎีของ Sigmund Freud ทฤษฎีของ Jung นั้นมีการพัฒนาจากทฤษฎีจิตใต้สำนึกของ Freud จนกระทั่งเป็นทฤษฎีจิตใต้สำนึกในแบบของเขาเอง โดยเขามีความเชื่อว่ามนุษย์ที่เกิดมามีข้อมูลที่รับมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งจะเป็นการชี้นำ พฤติกรรม และกำหนดจิตสำนึก ตลอดจนการตอบสนองต่อประสบการณ์ และโลกส่วนตัวของเขา บุคลิกภาพแต่ละบุคคลจึงเป็นผลของการกระทำของแรงภายใน ( Inner Forces ) ที่กระทำต่อแรงภายนอก (Outer Forces)


อย่างไรก็ตามทฤษฎีของ Jung แตกต่างจาก Frued ที่อธิบายว่า พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากแรงกระตุ้นทางเพศ แต่ Jung เชื่อว่าบุคคลจะเป็นคนเช่นใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูตั้งแต่วัยเด็กด้วยเช่นกันองค์ประกอบของจิต (Structural Components of Psyche) เป็นผลรวมทั้งหมดของบุคลิกภาพที่ประกอบด้วยระบบต่างๆ ซึ่งทำงานร่วมกัน

โครงสร้างของบุคลิกภาพของ Jung มีดังนี้

1. ตัวตน (Ego) อีโก้ของ Jung ฯนคล้ายกับอีโก้ของ Freud ตรงที่เป็นส่วนที่รับรู้ข้อมูลและเป็นส่วนที่มีสติสัมปชัญญะ เป็นส่วนของความเข้าใจ ความจำ และระลึกรู้ในการแสดงพฤติกรรมตลอดจนความรู้สึกที่เป็นเอกลักษณ์

2. จิตใต้สำนึก ประกอบด้วย Personal Unconscious คือ ประสบการณ์ทั้งหมดที่ถูกเก็บกด ถูกลืม หรืออ่อนแอเกินที่จะกระตุ้นความรู้สึก และ เป็นประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เอกลักษณ์ของแต่ละบุคคล การจินตนาการ และ Collective Unconscious คือ กระบวนการทางจิตใต้สำนึกที่สั่งสมลักษณะบุลิกภาพของมนุษย์หลายต่ออายุคน

3. ปม (Complex)
Jung เชื่อในเรื่องของ Psyche หรือ จิตมนุษย์ เขามีความเชื่อว่าการทำงานของจิตมนุษย์นั้นมีดังนี้

1. หลักการตรงกันข้าม คือ ความคิดที่ขัดแย้งระหว่างการต่อต้านในกระบวนการหรือแนวโน้มที่จำเป็นต่อการเกิดพลังจิต
2. หลักการสมดุล คือ การกระจายพลังจิตให้เท่าเทียมกันในอุดมคติเหนือโครงสร้างทั้งหมด
3. หลักการทำงานของความสมดุล คือ เป็นการประจายพลังงานภายในบุคลิกภาพใหม่อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการสูญเสียบุคลิกภาพในบางสถานการณ์เมื่อมองลึกลงไปในส่วนของจิตใต้สำนึกในทฤษฎีของ Jung เขากล่าวว่าสิ่งหนึ่งที่สำคัญภายในพื้นที่ของจิตใต้สำนึก คือ Archetypes หรือภาพต่าง ๆ ที่มีอยู่ในวัฒนธรรมของบุคคลตลอดมาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ ซึ่งประกอบด้วย
  • The Persona สามารถเรียกได้ว่าเป็นหน้ากากที่บุคคลต้องใส่เมื่ออยู่ในสังคม เป็นบทบาทที่บุคคลถูกกำหนดโดยสังคมและความเข้าใจของบุคคลเกี่ยวกับบทบาทต่าง ๆ คน ๆ หนึ่งสามารถที่จะมีบทบาทได้หลายบทบาท
  • Shadow สัญชาติของสัตว์เป็นมรดกที่ถ่ายทอดมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ เทียบเท่าได้กับ Id ของ Freud
  • The Anima และ Animus เป็นลักษณะของเพศตรงข้ามที่มีอยู่ในตน
  • The self เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของบุคลิกภาพ สภาพที่ทุกคนขวนขวายจะไปให้ถึงเป็นเป้าหมายของชีวิต
ลักษณะทางบุคลิกภาพแบ่งออกเป็นแปดชนิดได้แก่
1. The Extraverted Thinking Type บุคคลประเภทนี้จะเป็นนักคิด ทำอะไรตามหลักเหตุและผล คิดว่าตนเองถูกเสมอ สนใจแต่เป้าหมายของตนเอง
2. The Introverted Thinking Type บุคคลประเภทนี้จะเป็นคนเจ้าความคิด มีลักษณะเย็นชา เหินห่าง ไม่ใส่ใจผู้อื่น และเข้าสังคมไม่เก่ง
3. The Extraverted Feeling Type บุคคลประเภทนี้จะเป็นคนเปิดเผย อยู่กับความจริงและค่านิยมทั่วไป ความรู้สึกของเขาจะเปลี่ยนไปตามความคาดหวังของสังคม
4. The Introverted Feeling Type บุคคลประเภทนี้จะเป็นคนเก็บตัว คิดมาก เข้าใจยาก มักเศร้าอยู่คลอด
5. The Extraverted Sensing Type บุคคลประเภทนี้จะเป็นคนมุ่งกับความเป็นจริง ไม่คิดมาก รักสนุก ชอบหาความสุข มีรสนิยมดี และไม่รอบคอบ
6. The Introverted Sensing Type บุคคลประเภทนี้จะเป็นมักจะเป็นคนที่ไร้เหตุผล และทำอะไรตามอารมณ์ตัวเอง
7. The Extraverted Intuitive Type บุคคลประเภทนี้จะเป็นคนที่มีความคิดริเริ่ม มักจะคอยแต่สั่งผู้อื่น แต่ตนไม่ทำอะไรเลย ไม่มีความอดทน ชอบลองของแปลกใหม่อยู่เสมอแต่จะไม่ทนทำงานนั้น ๆ ให้เสร็จลุล่วงไปได้
8. The Introverted Intuitive Type บุคคลประเภทนี้จะเป็นคนที่มีมุมมองต่างจากคนอื่นเป็นอย่างมาก ขวางโลก
เป็นคนที่สื่อสารทางความคิดและความรู้สึกได้ไม่ดี




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น