วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความเข้าใจเรื่องศาสตร์การสะกดจิต (Hypnosis)

การสะกดจิตในที่นี้มาจากคำว่า Hypnosis ในภาษาอังกฤษ หมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยการควบคุมความนึกคิดของตัวเองหรือผู้อื่น บางทีก็เรียกศาสตร์นี้ว่าการสั่งจิต สะกดจิตบำบัด

คำว่า Hypnosis มาจากภาษากรีกว่า Hypnos หมายถึงการนอนหลับ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่าในยุคแรกๆของศาสตร์นี้ เมื่อทำการสะกดจิต ผู้ที่ได้รับการสะกดจิตจะรู้สึกเคลิบเคลิ้มคล้ายๆกับว่าจะหลับไป จึงเข้าในกันในชั้นแรกๆ นี้ว่าการสะกดจิตจะเป็นการ ทำคนให้หลับไปแล้วอาศัยจังหวะในระหว่างหลับนี้ทำการรักษาโรคหรือควบคุมความนึกคิดของผู้อื่น แต่ต่อมาเมื่อศาสตร์นี้ได้มีการค้นคว้าและทดลองต่อๆกันมาเป็นเวลานาน ก็พบว่าความจริงผู้ที่ได้รับการสะกดจิตนั้นไม่ได้หลับลงไปเสียทีเดียว เป็นแต่เพียงว่าจิตสำนึกหยุดทำงานไปจึงทำให้ดูเสมือนว่ากำลังหลับ ยิ่งกว่านั้นในหลายๆกรณีเราพบว่าผู้รับการสะกดจิตนอกจากจะไม่ได้หลับลงไปแล้ว กลับยังมีสติสัมปชัญยะครบถ้วนด้วยซ้ำไป เพียงแต่ขณะนั้นอยู่ในสภาวะที่จิตใจคล้อยตามคำสั่งของผู้สะกดจิตเท่านั้น เช่นเขาสะกดจิตแล้วสั่งว่าให้หลับ ความจริงแล้วก็ไม่ได้หลับ เพียงแต่จิตใจถูกผู้สะกดจิตชักจูงให้คล้อยตาม จึงทำแสร้งหลับไปตามคำสั่งทั้งๆที่ความจริงจะตื่นขึ้นมาเมื่อใดก็ย่อมทำได้ เพียงแต่ไม่ยอมทำเพราะขณะนั้นจิตได้คล้อยตามนักสั่งจิตไปแล้ว แต่ในหลายๆกรณีก็พบว่ามีการหลับลงไปจริงๆในขณะสะกดจิตเหมือนกัน เช่นในการสะกดจิตเพื่อรักษาโรคที่มักจะใช้เวลาค่อนข้างยาวนาน เราก็บ่อยๆพบว่าผู้รับการสะกดจิตได้หลับลงไปก่อนการสะกดจิตจะเสร็จสิ้น แต่ก็ไม่ผลอะไรต่อการสะกดจิตนัก เพราะถึงแม้ว่าจะหลับไปแล้วก็ตาม แต่จิตใต้สำนึกก็ยังคงเก็บข้อมูลการสะกดจิตอยู่ตลอด สะกดจิ
ในประเทศไทยเมื่อพูดถึงการสะกดจิต กูดูเหมือนว่าจะเป็นคำที่ดูไม่สู้จะชวนให้คนส่วนใหญ่นึกไปทางบวกมากนัก โดยมากจะเข้าใจไปทำนองไสยศาสตร์ หรือพลังเหนือธรรมชาติ ดังนั้นต่อมายภายหลังจึงมีนักสะกดจิตระดับครูบาอาจารย์หลายท่านรณรงค์ให้เรียกการสะกดจิตหรือ Hypnosis นี้เสียใหม่ว่า "การสั่งจิต" ซึ่งฟังดูก็จะมีความหมายถูกต้องตามกระบวนการที่เกิดขึ้นกับการสะกดจิตได้ครบถ้วนจริงๆ เพราะความจริงแล้วการสะกดจิตก็คือศาสตร์ที่ว่าด้วยการสั่งการหรือควบคุมความนึกคิดหรืออีกในหนึ่งก็คือข้อมูลในสมองของเรา โดยเฉพาะข้อมูลในระดับชั้นของจิตใต้สำนึก สะกดจิตบำ
บัด


ก่อนอื่นท่านต้องทราบก่อนว่า จิต (Mind) ซึ่งในที่นี้หมายถึงผลการทำงานของสมองนั้นถูกนักจิตวิทยาแบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ เรียกว่าจิตสำนึก (Conscious Mind) และจิตใต้สำนึก (Subconscious Mind) จิตทั้งสองส่วนนี้มีการทำงานที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็ทำงานผสมผสานมีอิธิพลซึ่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง สะกดจิตบำบัด

จิตสำนึกก็คือจิตใจ ความนึกคิด ความมีเหตุผล หรือส่วนความรู้สึกถึงตัวตนที่เรามีอยู่ในขณะที่เรายังมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ความจำหรือข้อมูลในจิตสำนึกนี้เป็นไปอย่างชั่วคราวสามารถลบเลือนหายหรือบิดเบือนได้ จิตส่วนนี้ถือว่าเป็นเพียงส่วนน้อยของจิตทั้งหมด สะกดจิตบำบัด

สำหรับจิตใต้สำนึกนั้นเป็นจิตส่วนใหญ่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลอย่างถาวร การทำงานของจิตใต้สำนึกนี้จะเป็นไปโดยไม่มีเหตุผล และเมื่อทำงานแล้วก็จะมีอธิพลเหนือจิตสำนึกอย่างสิ้นเชิง แต่โชคดีที่จิตใต้สำนึกนี้จะไม่ทำงานอยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะมีสิ่งเร้าบางอย่างไปกระตุ้นการทำงานของมัน นอกจากนี้ข้อมูลจากจิตใต้สำนึกยังถูกนำไปใช้ผลักดันการประมวลผลของจิตสำนึกอย่างเงียบๆ อีกด้วย

การสะกดจิตเป็นเทคนิคว่าด้วยการเข้าถึงของมูลในสมอง ในส่วนที่เรียกว่า "จิตใต้สำนึก" (Subconscious Mind) แล้วก็เข้าไปจัดการทำให้ข้อมูลในจิตใต้สำนึกเป็นไปตามที่มันควรจะเป็น เช่นถ้ามีข้อมูล "ความขี้เกียจ" อยู่ในจิตใต้สำนึก ข้อมูลนี้จะไปขับดันให้พฤติกรรมของเจ้าตัวมีแนวโน้นที่แสดงออกหรือมุ่งไปทางด้าน "ขี้เกียจ" ดังนั้นนักสะกดจิตจะอาศัยเทคนิคทางจิตวิทยาบางประการ (ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยากหรือลึกลับอะไร) เข้าไปยังข้อมูล "ความขี้เกียจ" ในจิตใต้สำนึก จากนั้นก็จะทำการลบข้อมูลตัวนี้หรือทำให้ข้อมูลตัวนี้เจือจางอ่อนกำลังลงหรือหมดความสำคัญลง จากนั้นก็ป้อนข้อมูล "ความขยัน" เข้าไปทดแทนหรือทำงานแทนที่ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ได้รับการสะกดจิตเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับแรงขับดันจากจิตใต้สำนึก ซึ่งหมายความว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้จะไม่ขัดกับความรู้สึกหรือความต้องการของเจ้าตัวแต่อย่างใด (ไม่ฝืนความรู้สึกหรือความเคยชิน) ดังนั้นจึงไม่เป็นที่หน้าแปลกใจเลยว่าทำไมเทคนิคการสะกดจิต หรือ Hypnosis นี้จะเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตเรีย ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป หรืออื่นๆ โดยการสะกดจิตถูกนำมาใช้ทั้งในแง่ของการบำบัดโรคภัยที่เกิดจากข้อมูลที่เป็นลบในระบบประสาท กระตุ่นการพื้นตัวของร่างกายที่เจ็บป่วย การลดพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่เป็นที่พึงประสงค์ หรือแม้แต่การพัฒนาทักษะและศักยภาพในด้านต่างๆ สู่ความเป็นเลิศยิ่งๆ ขึ้นไป


สะกดจิตบำบัด



2 ความคิดเห็น:

  1. สนใจในศาสตร์นี้ และคิดว่าอาจจะช่วยดิฉันได้ แต่จะเริ่มต้นอย่างไร

    ตอบลบ
  2. ทางศูนย์ของเราจะใช้วิธีการ Counseling หรือการพูดคุยเข้ามาร่วมกับการทำ Hypnotherapy-NLP
    เนื่องจากเราเชื่อว่า การจะแก้ไขอะไรสักอย่างเราต้องแก้ไปที่ต้นเหตุ
    การ Counseling จะช่วยให้เราสามารถทราบได้ว่ารากปัญหาของแต่ละท่านเกิดเนื่องจากอะไร

    ระยะเวลาในการบำบัด

    ในส่วนของการบำบัดจะได้ผลอย่างเต็มที่ต่อเมื่อเข้ารับการบำบัดอย่างน้อย 4 ครั้ง
    การบำบัดแต่ละครั้งใช้เวลา 45 นาที - 1 ชั่วโมง
    สามารถบำบัดติดกันทุกวันได้ แต่ ไม่ควรห่างกันเกิน 3-4 วัน

    ระหว่างการบำบัดผู้รับการบำบัดไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากนอนฟัง ผ่อนคลาย
    เป็นการเข้ามา detox อารมณ์และความเครียดออกไปในตัวด้วยค่ะ

    ค่าใช้จ่าย

    Counseling Fee: 300.- / ชั่วโมง
    NLP-Hypnotherapy Fee (per Course): 3500.- / course (4 ครั้ง)

    สถานที่
    ศูนย์ให้คำปรึกษาและการสะกดจิตบำบัด
    The Counseling and Hypnotherapy Center (CHC)
    51/10 ซ.สุขุมวิท 64 แยก 5
    บางจาก พระโขนง กทม.
    ติดกับรถไฟฟ้า BTS สถานี ปุณณวิถี
    สามารถดูแผนที่ได้ตามลิงค์นี้: http://thaihypnosis.com/chc/map_64_big.jpg

    การจองคิว

    ทางศูนย์เปิดรับบำบัดทุกวันค่ะ
    12.00-15.00 (คิวสุดท้ายของรอบบ่ายคือ 14.00) และ 17.00-20.00 (คิวสุดท้ายของรอบเย็นคือ 19.00)

    ผู้สนใจสามารถโทรมาจองคิวบำบัดได้ และ รับจองคิวเฉพาะทางโทรศัพท์เท่านั้น และต้องโทรมาด้วยตนเองเท่านั้น
    สามารถโทรได้ตั้งแต่ 10.00 - 22.00
    จองล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์นะคะ
    หากโทรมาแล้วอ.ตัดสาย แสดงว่าอ.กำลังบำบัดอยู่ แล้วจะโทรกลับในภายหลังค่ะ

    ตอบลบ