วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

คำอุปมา อุปไมย (Metaphor)

คำอุปมา อุปมัย หรือ Metaphor จัดว่าเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์มากใน NLP โดยคำคำอุปมา อุปมัย หรือ Metaphor นี้จะช่วยให้ความคิดที่ไร้รูปร่างดูเป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้กลายเป็นรูปธรรมที่จับต้องได้ง่ายขึ้น เรื่องนี้จะว่าเป็นความโชคดีของคนไทยก็ได้ครับที่วัฒนธรรมการใช้ภาษาของเรามีการใช้คำอุปมา อุปมัยกันเป็นเรื่องปรกติสามัญอยู่แล้ว ทำให้การทำความเข้าใจในและการใช้ Metaphor ใน NLP ของคนไทยง่ายกว่าคนที่อื่นเยอะ


ก่อนอื่นขอให้เรามาทำความเข้าใจกันก่อนครับว่าสมองของมนุษย์นี้ทำงานด้วยระบบรูปภาพเป็นหลัก ถ้าเราพูดคำว่า "นก" สมองของเราจะสร้างภาพของ "นก" ขึ้นมาในทันทีครับ จะเป็นนกอะไรอย่างไรก็แล้วแต่ข้อมูลพื้นฐานในจิตใต้สำนึกของแต่ละคน แต่ที่แน่ๆก็คือภาพนกจะผุดขึ้นมาในหัวของเราทันทีไม่ใช่ตักอักษร "น" และ "ก"

ด้วยเหตุนี้เองคำพูดอะไรก็ตามที่เสื่อเป็นไปเป็นรูปภาพได้ง่าย สมองของเราจึงสามารถจดจำหรือตอบสมองได้อย่างสะดวกรวดเร็วกว่าคำพูดที่เสื่อไปในลักษณะนามธรรม เช่นถ้าเราพูดถึง "ความขยันขันแข็ง" สมองของเราจะต้องตีความว่า "ความขยันขันแข็ง" นั้นเป็นอย่างไร อาจจะได้ภาพที่ชัดเจนหรือคลุมเคลือก็เป็นได้ทั้งนั้น (นิยามหรือภาพในสมองของคำว่าขยันของแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน) ในขณะที่ถ้าเราพูดว่า "มด" ทุกคนจะสาภาพมดขึ้นมาในหัวได้ทันที

ดังนั้นถ้าเราต้องการพูดถึงอะไรที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้อย่างเช่น "ความขยันขันแข็ง" เราก็ใช้คำอุปมา อุปมัย หรือ Metaphor มาช่วยทำให้เป็นรูปธรรมจับต้องได้ง่าย เช่น "ขยันขันแข็งยังกับมดงาน" หรือ "ขยันขันแข็งอย่างผึ้งงาน" อะไรทำนองนี้ สมองของเรา (หรือคนอื่นๆ) ก็จะสามารถเข้าถึงถ้อยคำเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น