วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2554

Reframing

การที่ชีวิตของใครแต่ละคนจะดำเนินไปในทิศทางทางใดนั้น มันขึ้นอยู่กับว่าใครแต่ละคนมีบุคลิกภาพอย่างไร คนบางคนนั้นเป็นพวกกระตือรือร้น บางคนเป็นประเภทผัดวันประกันพรุ่ง บางคนขยันขันแข็งสู้ชีวิต ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ แต่อีกหลายคนกลับเป็นประเภทที่หนักไม่เอาเบาไม่สู้ ไม่มีความมั่นใจ ไม่มีความความกล้าหาญในการตัดสินใจหรือเผชิญต่อสิ่งต่างๆ ที่รออยู่เบื้อหน้า การที่มีบุคลิกที่แตกต่างกันนี่เองทำให้แต่ละคนดำเนินชีวิตและได้รับผลในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ประเด็นก็คือว่าหากเรามีบุคลิกภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตก็ดีไป แต่ถ้าเกิดเป็นประเภทที่มีบุคลิกภาพที่ขัดขวางต่อความเจริญในการดำเนินชีวิตแล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป เราจะต้องยอมรับในสิ่งที่เราเป็น หรือจะมีวิธีใดบางที่จะทำให้บุคลิกภาพของเราปรับเปลี่ยนไปในทางที่สร้างสรรค์และส่งเสริมต่อความเจริญก้าวหน้าในชีวิตของเราขึ้นมาบ้าง

ก่อนอื่นก็ต้องหาคำตอบว่าบุคลิกภาพต่างๆ ที่อยู่ในตัวของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกทางบวกหรือทางลบนั้นมันมาจากไหน
คาร์ล โรเจอร์ นักจิตวิทยาบุคลิกภาพชาวอเมริกันได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของมนุษย์ว่า บุคลิกภาพในปัจจุบันของแต่ละคนนั้นล้วนแล้วแต่มาจากการเก็บสะสมประสบการณ์ในอดีตตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบันทั้งสิ้น ประสบการณ์ต่างๆ ที่เราได้ประสบพบเจอมาตั้งแต่วัยเด็กจนถึงปัจจุบันเป็นสิ่งที่ค่อยๆ หล่อหลอมให้เกิดบุคลิกภาพเฉพาะตัวของมนุษย์แต่ละคนขึ้นมา
แนวคิดของโรเจอร์นั้นหยุดลงตรงที่ว่าประสบการณ์ในอดีตเป็นสิ่งที่รู้และเข้าใจได้เฉพาะบุคคล เราไม่สามารถที่จะเข้าใจประสบการณ์ของอื่นได้ครบถ้วนสมบูรณ์ และประสบการณ์ในอดีตนั้นเป็นสิ่งที่ผ่านพ้นมาแล้ว โดยเราไม่สามารถที่จะย้อนกลับไปแก้ไขอดีตได้ไม่ว่าประสบการณ์ในอดีตนั้นจะส่งผลกระทบต่อตัวเราในปัจจุบันอย่างไรก็ตาม สิ่งที่แต่ละคนจะทำได้ก็มีเพียงการอยู่กับความจริงในปัจจุบันโดยยอมรับกับประสบการณ์ในอดีตเท่านั้น

แต่สำหรับนัก NLP แล้วเราคิดไปไกลกว่านั้น โดย NLP เสนอแนวคิดที่ว่า หากปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคลิกภาพของเราในปัจจุบันเกิดจากการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ ในอดีตแล้วล่ะก็ การย้อนเวลากลับไปแก้ไขเหตุการณ์ที่เคยประสบในอดีตเพื่อทำให้เหตุการณ์ในอดีตที่เคยไม่สมบูรณ์เรียบร้อย เกิดความสมบูรณ์เรียบร้อยในอย่างที่มันควรจะเป็น (หรือเราอยากจะให้มันเป็น) ก็คือการแก้ปัญหาหาบุคลิกภาพที่ยอดเยี่ยมและได้ผลอย่างรวดเร็วแบบหนึ่ง เพราะนี่จะเป็นการเข้าไปแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และเมื่อเหตุการณ์ในอดีตถูกแก้ไขลงแล้ว บุคลิกภาพในอดีตก็จะถูกแก้ไขให้เป็นไปในทางที่ดีตามไปด้วยโดยอัตโนมัติเช่นกัน

แล้วเราจะสามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขเหตุการณ์ในอดีตได้อย่างไร NLP เสนอว่าจริงอยู่ที่เราไม่สามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขเหตุการณ์ในอดีตได้ แต่เราก็สามารถแก้ไขข้อมูลที่อยู่ในสมองเราได้ซึ่งเป็นเรื่องที่ง่ายกว่ากันเยอะ และนี่ก็คือแนวคิดของเทคนิค Reframing ใน NLP ครับ

Reframing คืออะไร ว่ากัน จริงๆ แล้ว Reframing ก็คือเทคนิคการสะกดจิต (Hypnosis) อย่างหนึ่ง โดยจะทำการย้อนระลึกถึงภาพเหตุการณ์ในอดีตที่เป็นเหตุการณ์ต้นเหตุของปัญหา จากนั้นก็สร้างภาพเหตุการณ์ใหม่ที่สมบูรณ์กว่า ถูกต้องกว่า หรือเป็นอย่างที่เราต้องการจะให้มันเป็นขึ้นมาทดแทนเหตุการณ์เดิม จากนั้นจึงบันทึกสภาพอารมณ์ใหม่ที่เกิดขึ้นในระหว่างการสร้างเหตุการณ์ใหม่นี้เอาไว้ในจิตใต้สำนึก หลักจากปลุกขึ้นมาจากกระบวนการสะกดจิตแล้ว ข้อมูลใหม่ เหตุการณ์ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาจะเข้าไปทำงานแทนที่เหตุการณ์เดิมในจิตใต้สำนึก ส่งผลให้เกิดการสร้างพฤติกรรมใหม่และบุคลิกภาพใหม่ที่เป็นไปในทางบวกขึ้นมาแทนแทนที่พฤติกรรมเดิมหรือบุคลิกภาพเดิมที่ไม่พึงประสงค์ครับ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น