วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

TA: เกม (Games)

วิธีการที่บุคคลพยายามเอาประโยชน์จากบุคคลอื่นเพื่อให้ได้ความเอาใจใส่ที่ตนพอใจ โดยพยายามดึงให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้ามาร่วมเล่นเกมด้วย ซึ่งอาจเป็นการแสดงออกทางคำพูดหรือการกระทำก็ได้ และในที่สุดเกมจะจบลงด้วยการดุด่าว่ากล่าว ดูถูก เหยียดหยามหรือประณาม อย่างคาดไม่ถึง คนเราจะรู้จักเล่นเกมมาตั้งแต่เด็ก เพื่อหาทางที่จะพยายามกระทำกับพ่อแม่ของตนเพื่อให้ได้รับความเอาใจใส่ เมื่อคนเราเกี่ยวข้องในการเล่นเกมจะต้องแสดงบทบาทซึ่งอาจรู้หรือไม่รู้ตัวก็ตามในบทบาทของ

6.1      ผู้กล่าวหา (Persecutor) เป็นบทบาทที่บุคคลต้องสวมหน้ายักษ์ แสดงหน้านิ่วคิ้วขมวด ข่มขู่ ตะคอก ด่าว่าด้วยน้ำเสียงอันดัง หรือแสดงท่าทีปั้นปึ่ง ชอบจับผิดผู้อื่นเสียหาย อับอาย ต่ำต้อย หรือเกรงกลัว คำพูดที่ผู้กล่าวหาใช้ เช่น คุณทำโง่ๆ แบบนี้ได้อย่างไร” “คนอย่างคุณไม่มีความสามารถที่จะจัดการเรื่องนี้ได้หรอก
 6.2     ผู้ช่วยเหลือ (Rescuer) เป็นบทบาทที่บุคคลมีท่าทีชอบเสนอตน ให้ความเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น ทำอะไรให้ผู้อื่น จะคอยยื่นมือเข้าไปให้ความช่วยเหลือกับทุกคน หรือแม้กระทั่งกับคนที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือ หรือคนที่ไม่ยอมช่วยเหลือตนเอง บุคคลประเภทผู้ช่วยเหลือนี้ชอบที่จะสอดแทรกเข้าไปตัดสินใจให้ผู้อื่น และชอบประเมินความสามารถของผู้อื่นให้ต่ำกว่าที่เป็นจริง และมักจะมีความรู้สึกซ่อนเน้นอยู่ในส่วนลึกกว่า ผู้อื่นไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยตัวของเขาเองได้ หรือผู้อื่นจะเจริญเติบโตพัฒนาไปได้มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับคำแนะนำและความช่วยเหลือที่ผู้ช่วยเหลือจะมอบให้ ดังนั้น ผู้ช่วยเหลือจึงชอบที่จะดึงผู้อื่นให้ขึ้นมาอยู่กับตนเอง คำพูดที่ผู้ช่วยเหลือชอบใช้ เช่น มาฉันทำให้คุณเองหรือ ถ้าฉันเป็นคุณนะ ฉันจะ….” เป็นต้น
6.3      เหยื่อหรือผู้เคราะห์ร้าย (Victim) ได้แก่บทบาทที่เป็นความสงสารตนเอง จะแสดงออกมาให้เห็นว่า ทำอะไรไม่ได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ทั้งๆที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ความทุกข์ยากของตนเองเกิดขึ้นเพราะตนเองโชคร้าย หรือแสดงว่าไร้ความสามารถ ทั้งๆที่จริงแล้ว ตนมีความสามารถ บุคคลที่เล่นบทนี้ก็เพื่อต้องการให้ผู้อื่นมาช่วยเหลือปลอบโยน หรือแสดงความเห็นใจ
บทบาททั้งสามเป็นพลวัต  ( Dynamic)  เกิดต่อเนื่องกันตลอดเวลา บุคคลควรรู้ตัวและไม่ควรยึดติดกับบทบาทใด  เนื่องจากการเป็นผู้กล่าวหาทุกกรณี อาจเป็นการตีกรอบตนเองต่อสังคม  ทำให้ไม่มีใครอยากติดต่อสัมพันธ์ ส่วนการเป็นเหยื่ออยู่ตลอดเวลาอาจถูกคนอื่นมองว่าเป็นคนโง่ และการเป็นผู้ช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลาก็อาจสร้างความลำบากให้ตนเองมากเกินไป
Game จะต้องมี จุดมุ่งหมาย แอบแฝงซ่อนอยู่ และต้องมีค่าตอบแทน แบ่งตามความรุนแรงของผลลัพธ์ที่ตามมาได้ 3 ระดับ คือ
1. First Degree Game เป็นระดับที่สังคมใกล้ชิดพอยอมรับได้ เนื่องจากไม่มีอันตรายทางร่างกายและผู้เล่นอาจจะถูกต่อว่าหรือก่นด่า
2. Second Degree Game เป็นเกมที่มีความรุนแรงขึ้นมา ซึ่งทำให้จบลงด้วยการทำร้ายร่างกาย
3. Third Degree Game เป็นเกมที่ก่อให้เกิดความพินาศแตกหัก คุณค่าที่ต้องจ่ายทดแทนในการเล่น คือ อาจทำให้ถูกเนรเทศจากกลุ่ม มีการหย่าร้างที่ยุ่งเหยิง อาจจะต้องขึ้นศาล หรือแม้กระทั่งจบลง ที่เชิงตะกอน
วิธีที่จะยุติการเล่นเกมชีวิตมีอยู่หลายวิธี เช่น
-    ให้คำตอบที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้คาดหมายมาก่อน
-    ยุติการพูดถึงหรือนึกถึงความอ่อนแอ หรือความเก่งกล้าสามารถของตนอย่างเกินกว่าเหตุ หรือมากกว่าที่ควรจะเป็น
-    ยุติการพูดถึงหรือนึกถึงความอ่อนแอ หรือความเก่งกล้าสามารถของผู้อื่นอย่างกว่าเหตุ หรือมากกว่าที่ควรจะเป็น
-    รู้จักให้และรับการใส่ใจทางบวก (ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น) มากกว่าที่จะให้และรับการใส่ใจทางลบ (ความรู้สึกต่ำต้อยน้อยหน้าหรือน้อยเนื้อต่ำใจ)
-    จัดเวลาให้มากขึ้นด้วยการทำกิจกรรมสร้างความใกล้ชิดสนิทสนม และสร้างความสนุกสนานร่าเริง
-    ยุติการเล่นบทผู้ช่วยกู้ภัย (rescuer) นั่นคือไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยคนที่ไม่ต้องการให้ช่วย
-    ยุติการเล่นบทเป็นผู้กล่าวหา (persecutor) นั่นคือ ไม่วิพากษ์วิจารณ์บุคคลที่เขาไม่ต้องการให้วิพากษ์วิจารณ์
-    ยุติการเล่นบทเป็นเหยื่อ (victim) นั่นคือ ไม่ทำตนเป็นคนไร้ความสามารถหรือทำตนอยู่ภายใต้ผู้อื่น ในเมื่อตนสามารถที่จะยืนอยู่บนขาทั้งสองข้างของตนเองได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น