1. เป็นคำตอบจากสิ่งเร้าที่ขาดโครงสร้าง มีสองนัย อาจเป็นอะไรก็ได้ อาจดูได้ว่า ยิ้มหรือโกรธ หลับตาหรือร้องไห้ ห่อผ้าหรือก้อนหิน ผู้ถูกทดสอบจะต้องกำหนดคำตอบออกมาซึ่งจะต้องเผยความในใจอะ ไรสักอย่างของเขาออกมา อาจจะเป็นความต้องการ ความปรารถนา ความหวัง ความขัดแย้ง ฯลฯ ทำให้ประเมินความในใจของผู้ถูกทดสอบได้จากการคำตอบของเขาน ั่นเอง
2. เป็นสิ่งเร้าที่ขาดโครงสร้างหรือมีลักษณะเป็นสองนัย ทำให้มีเกณฑ์ของคำตอบได้มาก ที่สำคัญคือ การตอบจะต้องบอกว่าเห็นได้อย่างไร เช่น การเห็นภาพหยดหมึกเป็นค้างคาวนั้น จะต้องอธิบายว่าเห็นอย่างไร คำอธิบายว่าอย่างไรนั้นจึงจะแสดงว่าเป็นโปรเจคตีฟอนึ่ง คำสั่งในการทำแบบทดสอบก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น การดูภาพและให้คำตอบว่าเป็นคน ถ้าผู้ทดสอบถามว่าเป็นผู้หญิงและชาย ก็จะเป็นการกำหนดโครงสร้างและไม่เป็นสองนัย แต่ถ้าบอกให้อธิบายเกี่ยวกับคนในภาพ ก็จะยังคงมีความเป็นสองนัย
3. เป็นวิธีการทางอ้อม ๆ ที่ผู้ถูกทดสอบหรือผู้ทำแบบทดสอบ ไม่รู้ตัว หรือแม้ผู้ทำแบบทดสอบจะรู้จุดประสงค์ของการทดสอบบ้าง เช่นอาจรู้ว่า เขากำลังถูกประเมินความสามารถในการปรับตัวแต่จะไม่รู้รายล ะเอียดในคำตอบของตน จะไม่มีการถามอะไรผู้ทำแบบทดสอบหรือตอบตรง ๆ เพราะแบบทดสอบโปรเจคตีฟ เป็นการประเมินทางอ้อม (indirect)
4. ผู้ตอบหรือผู้ทำแบบทดสอบตอบได้โดยอิสระ ให้โอกาสทุกอย่างในการตอบโต้เต็มที่
5. การแปลคำตอบมีได้หลายความหมายและเป็นไปอย่างกว้างขวางตามท ี่ตอบคือมีทั้งความต้องการ การปรับตัว อาการทางจิต กลไกทางจิต และอื่น ๆ ของผู้ตอบต่างจากวิธีออบเจคตีฟ ซึ่งเน้นอย่างเดียว (เช่น ดูระดับของการปรับตัว หรือไม่ก็ดูจำนวนมิติต่าง ๆ ของพฤติกรรม หรือตารางพฤติกรรมที่แน่นอนเท่านั้น โดยธรรมชาติแล้ววิธีโปรเจคตีฟมีการแปลความหมายที่ยืดหยุ่น มาก หรือหลากหลาย ผู้ทดสอบที่มีประสบการณ์จะเลือกพิจารณาในส่วนซึ่งเป็นปัญห าสำคัญ สร้างเป็นเปทัสถาน ความเที่ยง ความแม่นตรงและอื่น ๆ ขึ้นมา
ข้อดี
1. เป็นการประเมินทางอ้อม สามารถหยั่งรู้ (penetrate) ถึงลักษณะลึก ๆ ของบุคลิกภาพได้
2. เป็นเครื่องมือที่เสริมความรู้สึกเป็นมิตรและคุ้นเคยกันร ะหว่างผู้ทดสอบและผู้ถูกทดสอบ ซึ่งจะช่วยขจัดความประหม่าอาย และความรู้สึกป้องกันตนเอง
3. สามารถใช้ทดสอบได้กับทุกชาติ ทุกภาษา ไม่มีขอบเขตในเรื่องของวัฒนธรรมสามารถใช้ได้กับผู้ที่ไม่รู้หนังสือยกเว้นเฉพาะบางแบบทดสอบเท่านั้น
4. ทดสอบครั้งเดียว ได้ข้อมูลในหลาย ๆ ลักษณะ
5. ไม่มีเครื่องมือทดสอบอื่นที่จะนำมาใช้แทนได้
ข้อเสีย
1. ผู้แปลความหมายของคำตอบจะต้องมีความชำนาญและมีความรู้มาก
2. ค่าความเที่ยงที่ได้จากการแปลความหมายของคำตอบระหว่างผู้ แปลสองคนค่อนข้างต่ำ และการที่ผู้ทดสอบรู้ข้อมูลบางอย่างจากผู้ถูกทดสอบมีผลให้ขาดความตรงไปบ้าง
3. การให้คะแนนและการแปลความยังขาดความเป็นปรนัย (objective)
4. ความเป็นปกติวิสัย (norms) ไม่สมบูรณ์ ไม่มีเกณฑ์ที่แน่นอนในการแปลความ
5. ผู้ถูกทดสอบอาจปกปิด ไม่ตอบตามความรู้สึกนึกคิดจริง ๆ ก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น