1. Story Completion
การต่อเรื่องให้จบ (Unfinished Scenario Story Completion) เป็นการเล่าเรื่องราวที่ยังไม่จบ แล้วให้ผู้ให้สัมภาษณ์ต่อเรื่องจนจบ คือ ให้เล่าต่อว่าเรื่องจะดำเนินไปอย่างไร และจบอย่างไร นอกจากนี้ ยังถามถึงเหตุผลด้วยว่า ทำไมตัวละครในเรื่องนี้จึงมีพฤติกรรมเช่นนั้น
2. Word Association Test
วิธีการ Word Association นี้พัฒนามาจากวิธีการให้คำปรึกษาแบบ Free Association โดยที่เครื่องมือที่ใช้มีแต่เพียงขบวนการของคำต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 60 คำ
3. Sentence Completion Test (SCT)
SCT ถูกสร้างขึ้นเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์และหน้าที่ต่าง ๆ ในระดับจิตสำนึก (consciousness) ที่เกี่ยวกับเรื่องบางเรื่องที่ผู้ทดสอบต้องการทราบ แต่ละข้ออาจจะเป็น คำ วลี หรือประโยคที่ให้มาแต่ยังไม่ครบบริบูรณ์ ผู้รับการทดสอบจะต้องเติมให้เต็ม เช่น “ฉันชอบ......”,“บางครั้งฉันปรารถนา.............” เมื่อเห็นว่าผู้รับการทดสอบมีความกดดันเกิดขึ้นผู้ทดสอบอาจบอกให้ผู้รับการทดสอบ เขียนความรู้สึกภายในใจออกมา บางครั้งการทดสอบอาจใช้วิธีบอกให้ทำปากเปล่า ซึ่งจะมีลักษณะใกล้เคียงกับเทคนิคของ word association test ความกำกวมของรูปประโยคจะแตกต่างกันไปในแต่ละประโยค ดังนั้นจึงมีลักษณะเป็นสิ่งเร้าที่เป็นการทดสอบแบบฉายภาพจิต (projective test)
สิ่งที่ควรให้ความสนใจคือ การตอบสนองที่บ่งบอกถึง การแสดงออกของอารมณ์บางอย่างที่รุนแรง มีลักษณะซ้ำ ๆ กัน แปลก หรือที่ไม่ค่อยได้พบบ่อย รวมทั้งการให้รายละเอียดบางอย่างที่จำเพาะเจาะจงในบางเรื่อง การปฏิเสธหรือการไม่ยอมรับ (denial) ในบางเรื่องอาจแสดงออกมาโดยการเว้นว่าง (omission) การเติมที่ไม่บ่งบอกอะไร (blind expression)หรือไม่บ่งบอกเรื่องราวที่เป็นจริง (factual reports) เช่น “แม่ของฉัน...เป็นผู้หญิง…” การแสดงอารมณ์ขันอาจบ่งบอกถึงความพยายามที่จะปฏิเสธความวิตกกังวลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องบางเรื่อง บางบุคคล บางเหตุการณ์นอกจากนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติที่ผ่านมาในอดีต อาจแสดงออกมาอย่างตรงไปตรงมาเช่น “ฉันมีความรู้สึกผิด…ที่ไม่ให้ความช่วยเหลือเขาตามที่ร้องขอ”
4. Cartoon Completion Test
การใช้การ์ตูน การเติมการ์ตูนให้สมบูรณ์ (Cartoon Completion Test) เป็นวิธีที่คล้ายกับวิธีอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วแต่วิธีนี้จะให้เติมรูป เติมประโยคหรือคำพูดของตัวการ์ตูนว่าจะพูดอะไร รวมทั้งให้วิจารณ์บุคลิก ลักษณะ นิสัย ของตัวการ์ตูนตัวนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น