1. ส่งเสริมให้ผู้รับการปรึกษาเรียนรู้แนวคิดต่างๆของ TA เช่นบทชีวิต ภาวะของอีโก้ ความรู้สึกทดแทน ความรู้สึกที่แท้จริง
2. นอกจากสร้างสัมพันธภาพที่มีความเท่าเทียมกันตามหลัก I’m OK – You’re OK
3. ผู้ให้การปรึกษายังมีหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาของผู้รับการปรึกษาโดยการวิเคราะห์โครงสร้างของบุคลิกภาพ
4. ผู้ให้การปรึกษาทำหน้าที่กำหนดทิศทางของการบำบัด เพื่อช่วยให้ผู้รับการปรึกษาหลุดพ้นจากบทชีวิตเดิม เปลี่ยนจากภาวะเด็กไปเป็นภาวะผู้ใหญ่
5. ผู้ให้การปรึกษามีบทบาทสร้างบรรยากาศต่อผู้รับการปรึกษาให้เกิดสภาวะความรู้สึกได้รับอนุญาต(Permission) ได้รับการปกป้อง( Protection) และเกิดความเข้มแข็งมีพลัง(Potency) ผู้ให้การปรึกษาต้องทำให้ผู้รับการปรึกษาเกิดความเชื่อว่า ตนเองมีความเข้มแข็งและมีพลังมากกว่าภาวะพ่อแม่ที่อยู่ภายใน ขณะเดียวกันผู้ให้การปรึกษาต้องทำให้ผู้รับการปรึกษารู้สึกว่าตนได้รับการปก ป้องจากภาวะพ่อแม่ที่รู้สึกโกรธ เมื่อภาวะผู้ใหญ่เริ่มเข้มแข็ง
6. ผู้ให้การปรึกษาสนับสนุนให้ผู้รับการปรึกษารู้จักปกป้องตนเองและค่อยๆลด บทบาทการปกป้องตนเองและค่อยๆลดบทบาทการปกป้องของผู้ให้การปรึกษา
7. ผู้ให้การปรึกษาทำหน้าที่ปกป้องความลับ และป้องกันไม่ให้เกิดผลลัพธ์ของบทชีวิต 3 ประการคือ การฆ่าตัวตายหรือการทำลายตัวเอง การทำร้ายหรือทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต และการเสียสติ
8. ผู้ให้การปรึกษาควรสื่อสารกับผู้รับการปรึกษาในภาวะผู้ใหญ่ – ผู้ใหญ่ ขณะเดียวกันควรสนับสนุนให้ใช้ประโยชน์จากภาวะเด็กของอีโก้ในส่วนของ “Little Professor” ที่เป็นแหล่งของความคิดแบบใช้ ฌาน – รับรู้ (Intuition)
9. ผู้ให้การปรึกษาช่วยผู้รับการปรึกษาค้นหาความรู้สึกที่แท้จริงเพื่อนำไปสู่การจัดการกับบทชีวิตที่ตัดสินใจกำหนดในวัยเด็ก
10. ผู้ให้การปรึกษาร่วมกับผู้รับการปรึกษาสร้างข้อตกลงร่วมกันต่อการมีพฤติกรรมใหม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น