REBT เชื่อว่าความคิดที่เข้มงวดในรูปของ “จะต้อง” “ควรจะ” เป็นสิ่งที่รบกวนจิตใจคนเรา เพราะเรียกร้องให้บุคคลกระทำในสิ่งที่ “ต้อง” หรือ “ไม่ต้อง” “ควร” หรือ “ไม่ควร” กับตนเอง ผู้อื่นและต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ชีวิตฉันควรจะสะดวกปราศจากปัญหา เป็นการวาดกรอบให้กับตนเองและผู้อื่น
จากบรรดาความคิดที่มีความเชื่อว่า “จะต้อง” หรือ “ควร”ในสิ่งต่าง ๆ สรุปเป็น 3 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ
1. สุดแย่ หมายถึง การกำหนดเหตุการณ์ทางลบว่าเลวร้ายมาก จนไม่ใช่สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริง
2. การมีความทนทานน้อยต่อความคับข้องใจ หมายถึง เกิดการรับรู้ว่าตนเองไม่มี ความสามารถทนทานต่อสิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้น เช่น ช่างมีความกดดันมากเหลือเกินต่อการทำงาน มันไม่ควรจะเป็นถึงขนาดนี้และฉันทนไม่ได้
3. การประณามตนเองหรือ ผู้อื่น หมายถึง การให้ฉายาตนเองในทางลบเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ฉันเป็นคนไม่มีค่า
ความเชื่อที่เข้มงวดเหล่านี้เรียกว่า“ไร้เหตุผล”หรือ เป็นความเชื่อที่ทำร้ายตัวเอง (Self – Defeating) เพราะเป็นความคิดที่ไม่มีพื้นฐานของความเป็นจริงและไม่เป็นตรรกะ เอลลิสเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีแนวโน้มทางชีววิทยาที่ติดตัวมาแต่กำเนิดในการคิดอย่างไร้เหตุผล เอลลิส เสนอให้พัฒนาความคิดใหม่ที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างเช่น ฉันต้องการและมีความปรารถนาชีวิตที่สะดวกสบาย ไร้อุปสรรค แต่ไม่มีเหตุผลที่ฉันจะต้องได้ในสิ่งที่ฉันต้องการ
ความเชื่อที่ไร้เหตุผลได้แก่
1. บุคคลควรจะถูกรักหรือยอมรับจากทุกคนในชุมชนนั้น ๆ
2. บุคคลจะมีคุณค่าเมื่อเขาเป็นคนมีความสามารถและประสบผลสำเร็จอย่างสูงสุด
3. คนไม่ดี เลว ชั่วร้าย สมควรที่จะถูกตำหนิ ประณาม และลงโทษ
4. ช่างเป็นสภาวะที่เลวร้ายที่สุดขั้นจบสิ้นหากสิ่งต่าง ๆไม่เป็นตามที่คาดหวังหรือต้องการให้เป็น
5. การไม่มีความสุขมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกและบุคคลไม่สามารถจะควบคุมมันได้
6. บางสิ่งเป็นเรื่องน่ากลัวอันตราย บุคคลควรคำนึงอยู่เสมอถึงความเป็นไปได้ที่อาจเกิดขึ้น
7. การหลีกเลี่ยงความยุ่งยากบางอย่างและรับผิดชอบต่อตนเองเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่าการเผชิญสิ่งเหล่านั้น
8. บุคคลควรพึ่งพิงคนอื่นและจะต้องมีใครคนหนึ่งที่เข้มแข็งกว่าให้พึ่งพาได้
9. ประสบการณ์ และเรื่องราวในอดีตคือสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมปัจจุบัน อิทธิพลของอดีตไม่สามารถลบล้างได้
10. บุคคลควรจะรู้สึกทุกข์ร้อนกับปัญหาและความทุกข์ของคนอื่น
ปัญหาทุกปัญหาจะต้องมีคำตอบที่ถูกต้องและสมบูรณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น