วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

Projective Test: ชนิดไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน

1.                 Rorschach Test (inkblot)


The Rorschach Inkblots Test เป็นแบบทดสอบแบบหนึ่งของ Projective Tests ซึ่งใช้วัดบุคลิกภาพของบุคคล แบบทดสอบนี้ตั้งอยู่บนเงื่อนไขเบื้องต้นของ Projective Techniques ที่ว่า ยิ่งสิ่งเร้าไม่ชัดเจนมากเท่าใด ยิ่งไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกต่อต้านป้องกันตัวเองมากเท่านั้น

แบบทดสอบประเภทนี้จัดได้ว่าเป็นแบบทดสอบที่มีประสิทธิภาพยิ่ง ในการเผยบุคลิกภาพที่ถูกปิดบังซ่อนเร้นอยู่ภายใต้จิตใต้สำนึกออกมา สมมติฐานของแบบทดสอบนี้คือ วิธีการมองเห็น และการตีความหมายของเนื้อหาของภาพหยดหมึก ซึ่งจะแสดงลักษณะ กระบวนความคิด ความต้องการ ความกังวลใจ และความขัดแย้งภายในใจออกมา



The Rorschach (Inkblot) Test เป็นแบบทดสอบที่ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกับการนิยมใช้ WAIS Test ในการประเมิน IQ แบบทดสอบนี้ได้รับการออกแบบโดยจิตแพทย์ชาวสวิส ชื่อ Hermann Rorschach (1910) เขาทำการหยดหมึกลงบนกระดาษแล้วพับครึ่ง เมื่อกางออกมาแล้วจะได้ภาพลอะแปลกๆม่มีโครงสร้างแน่นอนที่เกิดจากหยดหมึก ภาพที่ทำไว้จำนวนมากเลือกที่ไดมาตรฐานจำนวน 10 ภาพมีทั้งที่เป็น ขาว  ดำและภาพสี โดยที่แผ่นภาพแต่ละภาพมีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งมีผลก่อให้เกิด Neurotic Shock และ Anxiety Shock แก่ผู้ทำแบบทดสอบ

2. Thematic Apperception Test (TAT)

แบบทดสอบนี้ถูกสร้างขึ้นมาในปีค..1943 โดย Henry A. Murrey และ Christina Morgan เพิ่อใช้ศึกษาบุคลิกภาพของคนปกติแบบทดสอบประกอบด้วยภาพ จำนวน 20 ภาพ ซึ่งแต่ละภาพมีรูปภาพที่คลุมเครือสีขาวดำ และกระดาษเปล่าที่ไม่มีภาพ 1 แผ่น ผู้ทำแบบทดสอบจะถูกขอให้เล่าเรื่องหรือผูกเรื่องให้ตรงกับรูปภาพแต่ละฉบับ โดยให้เล่าว่าอะไรทำให้เกิดเหตุการณ์ในภาพ และตัวละครในภาพกำลังรู้สึกหรือคิดอย่างไร และขอให้บอกถึงผลของมันด้วย ส่วนภาพเปล่าที่ไม่มีภาพอะไรนั้น ผู้ทำแบบทดสอบจะถูกสั่งให้ใช้จินตนาการนึกถึงภาพบางภาพแล้วเล่าเรื่องเกี่ยวกับภาพนั้น

ในการทดสอบแต่ละครั้ง ผู้ทดสอบไม่จำเป็นต้องใช้หมดทุกภาพ การเลือกภาพใดขึ้นอยู่กับปัญหา และสิ่งที่ผู้ทดสอบต้องการทราบตัวอย่างเช่นภาพคนเพียงคนเดียว คนอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ภาพครอบครัวภาพคนต่างวัย ภาพคนเพศเดียวกันอยู่รวมกัน ภาพคนต่างเพศ เป็นต้น บางภาพอาจไม่มีบุคคลอยู่ในนั้น แม้ว่าแต่ละภาพจะมีลักษณะกำกวม แต่ก็แสดงเจตจำนงบางอย่าง ทำให้แบบทดสอบนี้เป็นสิ่งเร้าที่มีโครงสร้างมากกว่า Rorschach test ผู้รับการทดสอบจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับภาพที่เขาเห็นจากจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

3.       Make-A-Picture-Story (MAPS) Test

MAPS ดัดแปลงมาจากแบบทดสอบ T.A.T. โดยแยกรูปภาพออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นรูปภาพและส่วนที่เป็นฉาก ดังนั้น จึงต้องมีการกำหนดให้ผู้ถูกตรวจสอบได้เลือกฉากและจัดวางรูปภาพที่จะใช้ทดสอบตัวเองเสียก่อนที่จะให้ผู้ถูกทดสอบเล่าเรื่องราว ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นตัวผู้ถูกทดสอบให้เล่าเรื่องราวออกมาได้ตามสภาพของสิ่งเร้าที่ถูกทดสอบได้จัดขึ้นมาเอง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น