วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

REBT: ความทุกข์

REBT ชี้ว่ามนุษย์จะทำลายตนเองหรือทำให้ตนเองได้รับความทุกข์ได้ในสองลักษณะ
1.   ความทุกข์เพราะอัตตา(Ego disturbance) หมายถึง ความวิตกกังวลเกี่ยวภาพลักษณ์ของตนเอง. ความทุกข์ชนิดนี้เป็นผลมาจากการยึดถือความต้องการที่เกี่ยวกับตนเอง เช่น ฉันจะต้อง...ได้ดี ฉันต้องไม่ล้มเหลว ตามมาด้วยการประเมินตนเองในแง่ลบ อย่างเช่น: ถ้าฉันล้มเหลว ฉันจะไม่ได้รับการยอมรับ เป็นต้น.นั่นแสดงว่าฉันไม้ดีพอ และอื่น. ความเชื่อเหล่านี้ก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับตนเอง ความตึงเครียดทางอารมณ์เป็นผลมาจากการรับรู้ว่าตนเองหรือคุณค่าในตนเองถูกคุกคาม และนำไปสู่ปัญหาอื่น อย่างเช่น การหลีกหนีสถานการณ์ที่จะทำให้เกิดความล้มเหลว 


2.  ทุกข์เพราะไม่สุขสบาย(Discomfort disturbance) เป็นผลมาจากความต้องการที่มีต่อบุคคลอื่น (เช่น คนอื่นต้องทำดีกับฉัน) และเกี่ยวกับโลก (เช่น สิงที่เกิดขึ้นในชีวิตของฉันจะต้องดำเนินในแบบที่ฉันต้องการให้เป็น’). ความทุกข์เพราะไม่สมใจแยกออกได้เป็น 2 ประเภทตามลักษณะได้ ดังนี้:
·        Low frustration-tolerance (LFT) เป็นผลมาจากความปรารถนาว่า ความคับข้องใจต้องไม่เกิดขึ้น, ตามด้วยความเสียหายหากเป็นเช่นนั้น. มันอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า: โลกต้องทำให้รู้เบิกบานและมีความสุข;’ หรือ: สิ่งต่างๆควรจะเป็นอย่างที่ฉันอยากให้มันเป็น, และฉันทนไม่ได้ถ้ามันไม่เป็นอย่างนั้น.
·        Low discomfort-tolerance (LDT) เกิดจากความปรารถนาว่า ตนเองต้องไม่ประสบกับความไม่สุขสบายทางอารมณ์หรือทางกาย, ด้วยว่าสิ่งเลวร้ายทั้งหลายจะเกิดขึ้นหากไม่มีความสุขสบาย. มันอยู่บนพื้นฐานของความคิดที่ว่า: ฉันควรจะรู้สึกเป็นสุขตลอดเวลา;’ ‘ฉันต้องรู้สึกสุขสบายตลอดเวลา;’ ‘ความสุขสบายและความเจ็บปวดเป็นสิ่งเลวร้ายและไม่สามารถอดทนได้, และฉันจะต้องหลีกเลี่ยงไปให้พ้น;’ ‘ฉันต้องไม่รู้สึกแย่;’ และอื่นๆ.
ทั้ง LFT and LDT – คล้ายคลึงกันและเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด (โดยปกติ การแสดงออกอย่างเดียวกันใช้หมายถึงทั้งสองอย่าง). ความทุกข์เพราะไม่สมใจนำมาซึ่งปัญหา เช่น :
·        ความกังวลเกี่ยวกับความไม่สุขสบาย (Discomfort anxiety)’ (ความตึงเครียดทางอารมณ์ที่มีผลมาจากการรับรู้ว่า ความสุขสบายของตนหรือชีวิตถูกคุกคาม).
·        ความกังวล(Worrying) (‘เพราะ มันเป็นเรื่องที่เลวร้าย, และฉันทนไม่ได้, ฉันจะต้องกับมันถ้าเกิดขึ้นมาจริงๆ).
·        การหลีกเลี่ยง(Avoidance) เหตุการณ์และโอกาสซึ่งถูกมองว่า ยากมากที่จะรับภาระหรือ ยากเกินไปที่จะเอาชนะ.
·        ความทุกข์ซ้อนทุกข์(Secondary disturbance) (วุ่นวายในเกี่ยวปัญหาที่ตนเองมีอยู่, เช่น กังวลเกี่ยวกับความกังวลของตนเอง, ซึมเศร้าเกี่ยวกับความรู้สึกซึมเศร้าของตนเอง, และอื่นๆ).
·        ความสนุกสนานในระยะเวลาสั้นๆการแสวงหาความพึงพอใจในระยะเวลาสั้นๆเพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดอันนำมาซึ่งความเครียดในระยะยาว ยกตัวอย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล, เสพสารเสพติด หรือบริโภคอาหารเกินความจำเป็น; ดูโทรทัศน์มากกว่าออกกำลังกาย; มีเพศสัมพันธ์ที่เสียง; ใช้จ่ายสิ้นเปลืองเพื่อให้รู้สึกดีขึ้น.
·        การผัดผ่อน(Procrastination) – หลีกหนีงานที่ยากและสถานการณ์ที่ไม่น่าพึงใจ.
มองอะไรในแง่ลบ
·    ชอบบ่น(Negativity and complaining) – รู้สึกเครียดกับอุปสรรคและความล้มเหลวที่เล็กน้อย, .ให้ความสำคัญกับความไม่ยุติธรรมจนเกินพอดี และมีแนวโน้มที่ชอบเปรียบเทียบระหว่างโอกาสของตนเองและผู้อื่น.

2 ความคิดเห็น:

  1. รู้สึกว่าตัวเองจะเป็นอยู่หลายข้อมาก ถ้าต้องการปรึกษาพร้อมทั้งบำบัดต้องมีงบประมาณเท่าไหร่ค่ะ

    ตอบลบ
  2. สวัสดีค่ะ

    ทางศูนย์ของเราจะใช้วิธีการ Counseling หรือการพูดคุยเข้ามาร่วมกับการทำ NLP-Hypnotherapy
    เนื่องจากเราเชื่อว่า การจะแก้ไขอะไรสักอย่างเราต้องแก้ไปที่ต้นเหตุ
    การ Counseling จะช่วยให้เราสามารถทราบได้ว่ารากปัญหาของแต่ละท่านเกิดเนื่องจากอะไร

    ในส่วนของการบำบัดจะได้ผลอย่างเต็มที่ต่อเมื่อเข้ารับการบำบัดอย่างน้อย 3-4 ครั้ง
    การบำบัดแต่ละครั้งใช้เวลา 45 นาที - 1 ชั่วโมง และ ไม่ควรห่างกันเกิน 3 วัน
    ระหว่างการบำบัดผู้รับการบำบัดไม่ต้องทำอะไรเลย นอกจากนอนฟัง ผ่อนคลาย
    เป็นการเข้ามา detox อารมณ์และความเครียดออกไปในตัวด้วยค่ะ

    ค่าใช้จ่าย

    Counseling Fee: 300.- / ชั่วโมง
    NLP-Hypnotherapy Fee (Course): 3500.- / course (4 ครั้ง)

    การจองคิว

    ผู้สนใจสามารถโทรมาจองคิวบำบัดได้ และ รับจองคิวเฉพาะทางโทรศัพท์เท่านั้น
    สามารถโทรได้ตั้งแต่ 10.00 - 22.00 ค่ะ

    ขอบคุณที่ให้ความสนใจค่ะ

    สิรินทร์ทิพย์ มณีรัตน์ C.Ht
    08-1616-8336
    www.thaihypnosis.com

    ตอบลบ